หมอมั่นใจ! หมอประสิทธิ์ยัน ฉีดวัคซีนไขว้ ซิโนแวค-แอสตราฯ สร้างภูมิเร็วใน 5 สัปดาห์ มีผลการวิจัย

384
0
Share:

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศิริราชพยาบาล ม.มหิดล เปิดเผยว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 สลับชนิดนั้น ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของคนเราอาศัยการทำงานของเม็ดเลือดขาวอยู่ 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. T-Cells ที่มีไกลการทำงานคือเมื่อถูกกระตุ้น และเจอเซลล์ที่มีการติดเชื้อไวรัสจะเข้าไปจัดการค่าเซลล์ที่มีการติดเชื้อ โดยวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ใช้กลไก T-Cells อยู่ในขณะนี้ ได้แก่กลุ่มของ mRNA และ Viral Vector ส่วนกลุ่มที่ 2. B-Cells ที่มีกลไกการทำงานคือจะสร้าง Antibody ออกมาในกระแสเลือด และทันทีที่มีไวรัสเข้ามาจะป้องกันไม่ให้เข้าไปในเซลล์ หรือ ไม่ให้ไวรัสเข้าไปติดเชื้อ ซึ่งภูมิคุ้มกันแบบนี้ เป็นหนึ่งในกลไกหลักที่วัคซีนส่วนใหญ่ใช้กัน เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ซึ่ง 2 กลุ่มนี้ทำหน้าที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ทั้ง 2 อย่าง

คณบดีคณะแพทยศิริราชพยาบาล ม.มหิดล กล่าวต่อไปว่า การปรับรูปแบบของการฉีดวัคซีนจากเข็มที่ 1 เป็นการฉีดวัคซีนเชื้อตาย คือ ซิโนแวค ซึ่งกระตุ้น B-Cells ได้ดีแต่อาจจะกระตุ้น T-Cells ได้ไม่ดีนัก จึงเป็นที่มาของการปรับการฉีดดีหรือไม่ โดยเอาวัคซีนอีกประเภทหนึ่งที่กระตุ้น T-Cells ได้ดีในกลุ่มกลุ่มของ Viral Vector คือ วัคซีนแอสตราเซเนกา หากทำแบบนี้ได้เข็มที่ 1 ฉีดด้วยซิโนแวค จากนั้น 3 สัปดาห์ฉีดตามด้วยแอสตราเซเนกา พบว่าโดยทั่วไป 2 สัปดาห์ภูมิคุ้มกันจะขึ้นสูง เบ็ดเสร็จใช้เวลาประมาณ 5 สัปดาห์ ซึ่งขณะนี้ข้อมูลงานวิจัยไม่ว่าจะเป็นจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่า 2 เข็มนี้เมื่อฉีดครบ มีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นสูง และคาดว่าสูงเพียงพอที่จะ ครอบคลุมโควิดสายพันธุ์เดลต้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งยังลดความรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตได้ด้วย

ส่วนการฉีดแอสตราเซเนกาทั้ง 2 เข็ม พบว่าต้องฉีดห่างกัน 10-12 สัปดาห์ และต้องรออีก 2 สัปดาห์กว่าภูมิจะขึ้น รวมใช้เวลาทั้งหมดถึง 14 สัปดาห์ ซึ่งผลวิจัยหลายจากต่างประเทศระบุว่า แอสตราเซเนกาเพียง 1 เข็มไม่เพียงพอต่อการป้องกันโควิดสายพันธุ์เดลต้า

ดังนั้น คำถามที่ว่าจะสามารถฉีดให้เร็วขึ้นได้หรือไม่ คณบดีคณะแพทยศิริราชพยาบาล ม.มหิดลระเปิดเผยต่อไปว่า ระยะห่างระหว่างเข็ม 1 กับ เข็ม 2 นั้น ยิ่งเว้นห่างออกไป มีแนวโน้มประสิทธิภาพมากขึ้น ตามข้อมูลหากน้อยกว่า 6 สัปดาห์ ภูมิคุ้มกันขึ้น 55%, 6-8 สัปดาห์ ภูมิคุ้มกันขึ้น 60% , 9-11 สัปดาห์ ภูมิคุ้มกันขึ้น 64% และมากกว่าหรืออยู่ในช่วง 12 สัปดาห์ ภูมิคุ้มกันขึ้น 81%

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศิริราชพยาบาล ม.มหิดล มองว่าได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงวัคซีนรุ่นที่ 1 สู่รุ่นที่ 2 พบว่า ขณะนี้คู่ที่สามารถจับคู่ได้ดีที่สุดคือ ซิโนแวคเข็มที่ 1 และแอสตราเซเนกาเข็มที่ 2 สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ทั้ง B-Cells และ T-Cells ที่สำคัญประมาณ 5 สัปดาห์ จากนั้นแต่ละคนจะมีภูมิคุ้มกันที่และปลอดภัยมากขึ้นจากสายพันธุ์เดลตาจึงทำให้มีการปรับสูตรฉีดสลับชนิดขึ้นมา