“หมอเฉลิมชัย” ชี้ 9 ปัจจัย ทำไมโควิดสายพันธุ์โอไมครอนในไทยจึงแตกต่างจากยุโรป

461
0
Share:
โควิด

นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า…โควิดระบาดระลอกที่ 4 ของไทย ซึ่งเริ่มต้นเมื่อ 1 มกราคม 2565 โดยมีไวรัสโอไมครอนเป็นสายพันธุ์หลัก หลังจากที่ผ่านเทศกาลเฉลิมฉลองปีใหม่แบบระมัดระวัง ก็มีความกังวลว่า อาจจะมีการระบาดเพิ่มขึ้นการประเมินสถานการณ์ผลกระทบจากการฉลองปีใหม่ จะอยู่ที่ 10-14 วันหลังผ่านเทศกาลเฉลิมฉลอง

ซึ่งเราฉลองปีใหม่กันในช่วงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ถึง 3 มกราคม 2565 จึงใช้ตัวเลขในช่วงวันที่ 14-17 มกราคม 2565 ในการประเมิน ขณะนี้พบว่าสถิติผู้ติดเชื้อ (PCR) ผู้ติดเชื้อเข้าข่าย (ATK) และการติดเชื้อรวม (PCR+ATK) ของวันที่ 14-17 มี.65 อยู่ในลักษณะทรงตัวต่อเนื่อง ไม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงจำนวนผู้เสียชีวิตด้วย ซึ่งมีลักษณะความแตกต่างของการระบาดโอไมครอนไปจากประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก

บ่งบอกถึงปัจจัยหลายประการ ที่อาจส่งผลดังกล่าว คาดว่าคงเป็นในลักษณะส่งผลโดยรวม อาจไม่สามารถระบุได้ว่า มาตรการหรือปัจจัยใดมีผลมากกว่ากัน ประกอบด้วย มาตรการลดผลกระทบหลังเฉลิมฉลองปีใหม่ ด้วยการขอให้ทำงานจากที่บ้าน 100 เปอร์เซ็นต์ ( WFH 100%) สำหรับหน่วยงานรัฐ และขอความร่วมมือจากหน่วยงานเอกชน // ขอความร่วมมือสำหรับผู้ที่จำเป็นต้องมาทำงานที่ทำงาน ให้ตรวจ ATK ก่อนเข้าที่ทำมา

ขอความร่วมมือในการใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ทั้งในระหว่างการเดินทางมาทำงาน อยู่ในที่ทำงาน และอื่นๆ // ขอความร่วมมือให้ทานอาหารโดยแยกห่างจากผู้อื่นเสมอ // ละเว้นหรือหลีกเลี่ยงการไปอยู่ในสถานที่แออัดและระบายอากาศไม่ดี // เร่งฉีดวัคซีนเพิ่มมากขึ้น // กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ใช้มาตรการต่างๆทางระบาดวิทยาอย่างเต็มที่

วัฒนธรรมประเพณีต่างๆของไทยที่ไม่ถูกเนื้อต้องตัวกันแบบวัฒนธรรมตะวันตก รวมถึงการถอดรองเท้าเข้าบ้าน การอาบน้ำทุกวัน // อุณหภูมิของฤดูหนาวในประเทศไทย ที่ไม่ได้หนาวเย็นอย่างประเทศตะวันตก

วันนี้ 17 มกราคม 2565 ติดเชื้อเพิ่ม 6929 ราย ติดในระบบ 6670 ราย ติดจากตรวจเชิงรุก 43 ราย ติดในสถานกักตัว 209 ราย ติดในเรือนจำ 7 ราย สะสมรอบที่สี่ 107,979 ราย สะสมทั้งหมด 2,331,414 ราย หายป่วย 5255 ราย สะสมระลอกที่สี่ 58,772 ราย รักษาตัวอยู่ 82,210 ราย โรงพยาบาลหลัก 45,771 ราย โรงพยาบาลสนาม 30,528 ราย แยกกักที่บ้าน 5287 ราย อาการหนัก 533 ราย ใช้เครื่องช่วยหายใจ 108 ราย เสียชีวิต 13 ราย

สะสมระลอกที่สามที่สี่ 243 ราย สะสมทั้งหมด 21,938 ราย ติดเชื้อเข้าข่าย 1740 ราย สะสมระลอกที่สี่ 29,489 ราย ติดเชื้อรวม 8669 ราย สะสมระลอกที่สี่ 137,468 ราย ฉีดวัคซีนสะสมกว่า 110 ล้านโดส Referenceศูนย์ข้อมูล โควิด-19 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข