หั่นเป้าลงอีก! สภาพัฒน์ มองส่งออกปีหน้าฟื้น หนุนจีดีพีเร่งตัวขึ้นโต  2.7-3.7% ไม่รวมดิจิทัลวอลเล็ต

144
0
Share:

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ ประเมินว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 2.6 ในปี 2565 อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.4 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.0 ของ GDP

ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.7 – 3.7 จากการกลับมาขยายตัวของการส่งออก รวมถึงการขยายตัวในเกณฑ์ดีของการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และ การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ซึ่งการขยายตัวในระดับดังกล่าวนี้ ยังไม่ได้รวมผลจากนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาทของรัฐบาล เนื่องจากต้องรอคำวินิจฉัยจากคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่าการทำนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตของรัฐบาล จะมีแหล่งเงินจากที่ใด ตลอดจนต้องรอดูความชัดเจนในประเด็นอื่นๆ ด้วย เช่น รูปแบบการใช้จ่าย โดยคาดว่าการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.2 และ ร้อยละ 2.8 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 3.8 สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 1.7 – 2.7 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.5 ของ GDP

สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาสที่ 3/2566 ว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ผ่านมาขยายตัวได้ 1.5% ชะลอลงจาก1.8% ในไตรมาสที่ 2/2566ปรับปัจจัยฤดูกาลแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3/2566 ขยายตัวะ 0.8% จากที่ขยายตัว 0.2% ในไตรมาสที่ 2/2566 (QoQ_SA) โดยเศรษฐกิจในไตรมาสที่3 ปีนี้เป็นผลจาก การส่งออกรวมชะลอลง จากการส่งออกสินค้าที่ลดลง ขณะที่บริการรับขยายตัวจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น การใช้จ่ายรัฐบาลยังคงลดลง ปัจจัยหลักมาจากการลดลงของการใช้จ่ายด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลดลง ขณะที่การอุปโภคบริโภคของครัวเรือนขยายตัวต่อเนื่อง และการลงทุนของภาคเอกชนที่เร่งขึ้น ส่งผลให้ 9 เดือนปี 2566 เศรษฐกิจไทยขยายตัว 1.9%

การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชน ขยายตัวร้อยละ 8.1 ต่อเนื่องจากขยายตัวร้อยละ 7.8 ในไตรมาสที่ 2/2566 โดยการใช้จ่ายหมวดสินค้ากึ่งคงทนขยายตัว 1.0 เร่งตัวจากไตรมาสที่ 2/2566 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.7 หมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัวร้อยละ 4.2 หมวดบริการขยายตัวร้อยละ 15.5 และหมวดสินค้าคงทนชะลอตัว การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล ลดลงร้อยละ 4.9 จากการลดลงร้อยละ 4.3 ในไตรมาสที่ 2/2566 เป็นผลจากการโอน เพื่อสวัสดิการสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินสำหรับสินค้าและบริการในระบบตลาดลดลงร้อยละ 38.6 และรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 0.5

อย่างไรก็ตาม ค่าตอบแทนแรงงานขยายตัวร้อยละ 0.2 จาการขยายตัวร้อยละ 0.5 ในไตรมาสที่ 2/2556 การลงทุนรวม ขยายตัวร้อยละ 1.5 จากการขยายตัวร้อยละ 0.4 ในไตรมาสที่ 2/2566 โดยการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.1 เร่งขึ้น จากขยายตัวร้อยละ 1.0 ในไตรมาสที่ 2/2566 เป็นการขยายตัวทั้งด้านการก่อสร้าง และด้านเครื่องจักรเครื่องมือ

ขณะที่การลงทุนภาครัฐลดลง ร้อยละ 2.6 ต่อเนื่องจากที่ลดลงร้อยละ 1.1 ในไตรมาสที่ 2/2566 เป็นการลดลงทั้งด้านการก่อสร้างและด้านเครื่องจักรเครื่องมือ ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ มูลค่า ณ ราคาประจ าปี ลดลง 186.5 พันล้านบาท สินค้าคงคลังสำคัญที่ลดลงอาทิ  ข้าวสาร น้ำตาล เครื่องประดับอัญมณี พลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น เภสัชภัณฑ์ 

ในส่วนของดุลการค้าและบริการ ณ ราคาประจำปี เกินดุล 129.4 พันล้านบาท โดยดุลการค้าเกินดุล 191.8 พันล้านบาท และดุลบริการขาดดุล 62.5 พันล้านบาท

ทั้งนี้ สศช.คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2566 จะขยายตัวได้ประมาณ 2.5% ต่อเนื่องจากที่ขยายตัวได้ 2.6% ในปีที่ผ่าน ส่วนปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวได้ 2.7-3.7%

โดยเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.99 ต่ำสุดในรอบ 15 ไตรมาส และต่ำกว่าร้อยละ 1.06 ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 1.23 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 3.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (1 18.5 พันล้านบาท) เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2566 อยู่ที่ 2.1 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. และหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2566 มีมูลค่าทั้งสิ้น 11,131,634.20 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 62.1 ของ GDP