เก็บไม่ถูกที่! ทีดีอาร์ไอถามรัฐบาลควรเก็บภาษีที่ดิน ต้นตอความเหลื่อมล้ำสูงในไทย

250
0
Share:
เก็บไม่ถูกที่! ทีดีอาร์ไอ ถาม รัฐบาล ควรเก็บ ภาษี ที่ดิน ต้นตอความเหลื่อมล้ำสูงในไทย

นายนณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโสจากสถาบันการวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า สิ่งที่รัฐบาลมักจะทำคือ การปรับในสิ่งที่ง่ายก่อน แต่สิ่งที่ยากกลับไม่ทำ ทำให้อาจส่งผลเสียในอนาคตได้ การออกมาตรการเก็บภาษีจากการขายหุ้นของนักลงทุนนั้น มองว่าหากรัฐบาลต้องการเงินจริง ก็มีเครื่องมือในการใช้ที่หลากหลาย มีภาษีหลายตัวที่ยังไปไม่ถึงต้นแบบที่อยากทำ ได้แก่ ภาษีที่ดิน ซึ่งเป็นตัวที่มีความเหลื่อมล้ำสูงมาก เพราะหากประเมินจากคนถือครองที่ดินในปัจจุบัน คิดเป็นสัดส่วนเพียง 5% ของคนไทยทั้งประเทศที่ถือครองที่ดินสูงถึง 80% ในภาพรวมของประเทศ

ขณะที่คนอีก 20% ถือครองที่ดินส่วนที่เหลือ ซึ่งหมายความว่าคนไทยอีก 75% ยังไม่มีที่ดินทำกิน และที่ดินสำหรับอยู่อาศัย รวมถึงมองว่าตลาดทุนไม่ใช่ตลาดของคนรวยเสมอไป แต่เป็นโอกาสของคนรุ่นใหม่ที่จะลงทุนอย่างถูกต้องเพื่อเปลี่ยนชีวิตให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด เพราะโอกาสประสบความสำเร็จจากการทำงานยากขึ้นจากเทคโนโลยีต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

การที่คนรุ่นใหม่ใช้ตลาดทุนหรือตลาดหุ้น ในการช่วยให้คนรุ่นใหม่สามารถลงทุนได้อย่างถูกต้อง และใช้เป็นเครื่องมือในการยืดฐานะขึ้น ซึ่งแตกต่างจากการถือครองที่ดิน หรือลงทุนในส่วนนี้ อาทิ ที่ดินบริเวณสุขุมวิท ที่สามารถสร้างมูลค่าได้ มีการเติบโตสูง อย่างตัวเองแม้ทำงานทั้งชีวิตก็ไม่สามารถเข้าไปเป็นเจ้าของได้

หากรัฐบาลไม่อยากปิดโอกาสของประชาชน ก็ไม่ควรเก็บภาษีการขายหุ้น เพราะเป็นการดึงเงินออกจากตลาดหุ้น โดยหากถามว่าเป็นเม็ดเงินที่มากหรือน้อย ส่วนตัวมองว่าเป็นจำนวนที่มาก ภายใต้การประเมินว่าภาษีขายหุ้นจะสร้างรายได้ประมาณ 16,000 ล้านบาทต่อปี มองว่าไม่น้อย แทนที่เงินส่วนนี้จะเข้าไปอยู่ในกระบวนการของนักลงทุนที่ต้องการสร้างฐานะต่อไป รวมถึงในแง่ของการนำเงินภาษีขายหุ้นไปใช้ของรัฐบาล เพราะคุณค่าที่จะเกิดขึ้นก็ขึ้นอยู่กับการเก็บแล้วจะนำไปทำอะไรด้วย ซึ่งพูดง่ายๆ

นักวิชาการอาวุโสจากสถาบันการวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า รัฐบาลต้องการบอกให้คนที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนเสียสละ จากผลกระทบที่รัฐบาลจะนำเงินออกจากระบบกว่า 16,000 ล้านบาท ทำให้ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้เกี่ยวข้องต้องมีแน่นอน แต่จะมากหรือน้อยก็แล้วแต่สถานะ โดยหากมองตัวอย่างมาตรการของขวัญปีใหม่ที่รัฐบาลออกมานั้น เป็นการกระตุ้นศรษฐกิจในระยะสั้น เปลี่ยนจากการลงทุนเพื่อวางแผนชีวิตในระยะยาว รวมถึงมาตรการคืนภาษี ก็มักเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่จะสามารถออกใบกำกับภาษีได้ จึงเป็นมุมมองที่ค่อนข้างขัดจากเป้าหมาย