เชื่อฝีมือ! เอกชนเชื่อมือเพื่อไทยหากคุมกระทรวงเศรษฐกิจ มีจุดขายประสบการ์กว่า 20 ปี

223
0
Share:
เชื่อฝีมือ! เอกชน เชื่อมือ เพื่อไทย หากคุมกระทรวงเศรษฐกิจ มีจุดขายประสบการ์กว่า 20 ปี

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า กรณีที่พรรคเพื่อไทย ประกาศถอนตัวจาก 8 พรรคการเมือง และนำจัดตั้งรัฐบาลใหม่นั้น เชื่อว่าหากทุกคนยอมถอยคนละครึ่งก้าว ทุกอย่างจะผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็ว แต่อยากให้ตอบสนองคนส่วนใหญ่ ส่วนคนส่วนเล็กอาจจะมีเสียงไม่ชอบบ้าง หรือบางคนรู้อยู่แล้วจะมีกลุ่มไหนออกมา มองว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่ตอนนี้อยากให้เร่งขบวนการ และรีบจัดตั้งรัฐบาลเพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะเรื่องภัยแล้งที่เริ่มลุกลามแล้ว จึงหวังว่า วันที่ 4 สิงหาคมนี้ จะได้เห็นหน้าตานายกรัฐมนตรี หลังจากนั้นก็นำไปสู่การจัดตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) และหลังจากจบขบวนการหานายกฯ ซึ่งคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) หวังว่า ครม.เศรษฐกิจต้องเป็นบุคคลที่สร้างความเชื่อมั่น และมีฝีมือทางด้านเศรษฐกิจ

โดยเชื่อว่าหากเป็นพรรคเพื่อไทยคุมกระทรวงเศรษฐกิจ ก็เชื่อมั่นในฝีมือพรรคเพื่อไทย ทั้งโจทย์เศรษฐกิจระดับโลก โจทย์ในประเทศ หนี้ครัวเรือน โครงสร้างหนี้สินที่เป็นหัวใจสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจต้องได้รับการแก้ไขหากดูจากทีมเศรษฐกิจเพื่อไทย ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าเพื่อไทยมีจุดเเข็งเรื่องของประสบการณ์ทำงานด้านเศรษฐกิจ และนโยบายกระจายรายได้และขับเคลื่อนที่ถือว่าก้าวหน้า ประเด็นนโยบายเศรษฐกิจถือว่าเพื่อไทยมีจุดขายการทำงานมากว่า 20 ปี

อย่างไรก็ตาม หากพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำในการจำตั้งรัฐบาล และได้นำในเรื่องของดิจิทัลมาใช้ ในมุมมองที่ได้ฟังจากช่วงหาเสียง แต่ในเชิงเศรษฐศาสตร์มองว่าเป็นแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจที่แม่นยำขึ้น และใช้วงเงินมหาศาลในการกระชากโมเมนตั้มทางเศรษฐกิจให้วิ่งขึ้น โดยคาดหวังว่าจะเกิดเม็ดเงินหมุนเวียนที่เศรษฐกิจไม่ใช่ออกนอกเศรษฐกิจ เพราะที่ผ่านมาเป็นกระกระตุ้นเศรษฐกิจแบบหว่านปุ๋ย ซึ่งบางแห่งไม่จำเป็น แต่นโยบายของเพื่อไทยมีความชัดเจน แม่นยำ และอยู่ในบริเวณที่ควบคุมได้ และเกิดผลดีต่อเศรษฐกิจ

ส่วนประเด็นเรื่องนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอยู่ในกรอบ 600 บาทต่อคน ภายในระยะเวลา 4 ปี นั้น มองว่าถึงเวลานั้นคงต้องคุยกัน ในมุมของ กกร. และภาคเอกชนมีกลไกลคือไตรภาคีดูแลเรื่องนี้อยู่แล้ว มองว่าเมื่อถึงเวลานั้น ภาครัฐ เอกชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ลูกจ้าง นายจ้าง และภาครัฐต้องมีคุยกัน พอถึงวันนั้นก็ต้องมาดูเรื่องความยืดหยุ่นกันอีกครั้ง