เปิดปมธุรกิจ! เปิดข้อมูลผู้รับเหมา โครงการก่อสร้างทางยกระดับอ่อนนุช-ลาดกระบังถล่ม

496
0
Share:
เปิดปมธุรกิจ! เปิดข้อมูล ผู้รับเหมา โครงการก่อสร้างทางยกระดับอ่อนนุช-ลาดกระบัง ถล่ม

กรณีสะพานถล่มลาดกระบัง มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายราย ซึ่งโครงการก่อสร้างทางยกระดับ อ่อนนุช-ลาดกระบัง ระยะทางรวมทั้งโครงการประมาณ 3,500 เมตรนั้น พบว่า กิจการร่วมค้า ธาราวัญ-นภา ไม่ได้จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แต่ต้องแจ้งจดต่อกรมสรรพากร และมีหน้าที่ต้องนำส่งงบการเงินต่อกรมฯ

ผู้รับจ้างคือกิจการร่วมค้า ธาราวัญ – นภา โครงการนี้ลงนามในสัญญาลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 เริ่มต้นสัญญา 23 กุมภาพันธ์ 2564 สิ้นสุดสัญญา 11 สิงหาคม 2566 แต่ได้แก้ไขสัญญาไปแล้ว 2 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2565 และ ครั้งที่ 2 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2566 ระยะเวลาการก่อสร้างรวม 900 วัน คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือน ธันวาคม 2567 ค่าก่อสร้างราว 1,664 ล้านบาท เป็นเงินงบประมาณจากกรุงเทพมหานคร 100% โดยบริษัทเอกชนได้ฯเบิกจ่ายไปแล้ว 9 ครั้ง เป็นเงินราว 337 ล้านบาท

โดย”กิจการร่วมค้า ธาราวัญ-นภา” ผู้ได้รับการประมูลก่อสร้างนั้น เกิดจากการร่วมกันของบริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด กับ บริษัท ธาราขวัญ คอนสตรัคชั่น จำกัด

* บริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด จดทะเบียนเมื่อปี 2561 ทุนจดทะเบียน 600 ล้านบาท สำนักงานใหญ่อยู่ที่ลำลูกกา จ.ปทุมธานี มีผู้ถือหุ้น 3 ราย คือ นายดิษฐพล ดำรงรัตน์, นายตรีวิทย์ ดำรงรัตน์ และนางสาวภริตา ดำรงรัตน์ โดยนายดิษฐพล ดำรงรัตน์ เป็นกรรมการบริษัท

ข้อมูลงบการเงิน ล่าสุดปี 2565 สินทรัพย์รวม 1,852,788,247.21ล้านบาท รายได้รวม 1,982,202,076.23 ล้านบาท รายจ่ายรวม 1,927,188,650.52 ล้านบาท กำไรสุทธิ 38,056,726.10 ล้านบาท

*บริษัท ธาราขวัญ คอนสตรัคชั่น จำกัด จดทะเบียนเมื่อปี 2539 ทุนจดทะเบียน 450 ล้านบาท สำนักงานใหญ่อยู่ที่ตลิ่งชัน กทม. มีผู้ถือหุ้น 3 ราย นายเอิบ ลิ้มสมมุติ นายวฤทธิ สว่างอารมย์ และ นางสาวทิพพาภรณ์ สว่างอารมย์ โดยนายเอิบ ลิ้มสมมุติ และนายวฤทธิ สว่างอารมย์ เป็นกรรมการบริษัท

ข้อมูลงบการเงิน ล่าสุดปี 2564 สินทรัพย์รวม 624,607,432.35 บาท รายได้รวม 1,146,606,415.17 บาท รายจ่ายรวม 1,102,893,425.87 บาท กำไรสุทธิ 40,665,984.10 บาท

**ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

ทั้งนี้ เบื้องต้นพบว่า บริษัท ธาราวัญ คอนสตรัคชั่น จำกัด 1 ใน 2 กิจการร่วมค้า ยังไม่ได้มีการนำส่งงบการเงินของบริษัทในปี 2565 ให้กับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

อย่างไรก็ตาม สำหรับกิจการร่วมค้า ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดไว้ว่าได้แก่ กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไร ระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือระหว่างบริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือนิติบุคคลอื่น

ซึ่งกิจการที่จะเข้าลักษณะเป็นกิจการร่วมค้าจะต้องมีลักษณะ ดังนี้
1.1 ได้ตกลงเข้าร่วมทุนกันไม่ว่าจะเป็นเงิน ทรัพย์สิน แรงงาน หรือเทคโนโลยี หรือ ร่วมกันในผลกำไรหรือขาดทุนอันจะพึงได้ตามสัญญาที่กระทำร่วมกันกับบุคคลภายนอก หรือ
1.2 ได้ร่วมกันทำสัญญากับบุคคลภายนอก โดยระบุไว้ในสัญญาว่าเป็นกิจการร่วมค้า หรือ
1.3 ได้ร่วมกันทำสัญญากับบุคคลภายนอก โดยสัญญากำหนดให้ต้องรับผิดร่วมกันในงานที่ทำไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน และต้องรับค่าตอบแทนตามสัญญาร่วมกัน โดยสัญญาไม่ได้แบ่งแยกงานและค่าตอบแทนระหว่างกันไว้อย่างชัดเจน

2. กรณีกิจการร่วมค้าฯ ได้มีการจัดทำสัญญาจัดตั้งกิจการร่วมค้า และดำเนินการเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งตามข้อ 1. พร้อมกับดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งกิจการร่วมค้าต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่ ก ของกรมสรรพากรแล้ว กิจการร่วมค้าฯ จะเข้าลักษณะเป็น “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล” ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 66 แห่งประมวลรัษฎากร