เปิด 3 รูปแบบถ้าสงครามในตะวันออกกลางเดือด น้ำมันดิบมีพุ่งเกือบ 65 ดอลลาร์

272
0
Share:
เปิด 3 รูปแบบถ้า สงคราม ใน ตะวันออกกลาง เดือด อิสราเอล น้ำมันดิบ มีพุ่งเกือบ 65 ดอลลาร์

นักเศรษฐศาสตร์ บลูมเบิร์ก ได้ใช้แบบจำลองเสมือนจริงเรียกว่า เบย์เซียน โกลบอล วีอาร์ บนข้อมูลย้อนหลังของการเกิดสงครามฉนวนกาซาในดินแดนปาเลสไตน์เมื่อปี 2014 สงครามอิสราเอลกับเลบานอนในปี 2016 และสงครามอ่าวในปี 1990-1991 ทำการประเมิน วิเคราะห์ และคาดการณ์รูปแบบการสู้รบหรือการทำสงครามในภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยออกมา 3 รูปแบบ ที่จะสางผลกระทบและความเสียหายรุนแรงต่อสภาวะเศรษฐกิจโลก มีดังนี้

รูปแบบที่ 1 สงครามในวงจำกัด: ประกอบด้วยการบุกรุกรานเข้าไปในฉนวนกาซา ความขัดแย้งในภาพรวมของภูมิภาคตะวันออกกลางมีในวงจำกัด และกำลังการผลิตน้ำมันดิบจากอิหร่านลดลง จะส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นกว่า 3-4 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกลดลงเบางบางเพียง -0.1% ในขณะที่เงินเฟ้อโลกจะเพิ่มขึ้น +0.1%

รูปแบบที่ 2 สงครามตัวแทน: สงครามการสู้รบเกิดขึ้นกับหลายฝ่ายทั้งฉนวนกาซา พื้นที่ฝั่งเวสท์แบงค์(อยู่ในอิสราเอล) ประเทศเลบานอน และประเทศซีเรีย ที่เบื้องหลังได้รับการสนับสนุนจากประเทศอิหร่าน นอกจากนี้ เกิดความไม่สงบในวงกว้างในภูมิภาคตะวันออกกลาง จากการชุมนุมปะทะของกลุ่มสนับสนุนของแต่ละฝ่ายอย่างรุนแรงในแต่ละประเทศของตะวันออกกลาง จะส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นกว่า 8 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล หรือเพิ่มขึ้นอีก 100% จากรูปแบบทแรก ทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกปี 2024 ลดลงมากขึ้นถึง -0.3% หรือเสียหายราว 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 11.1 ล้านล้านบาท ทำให้จีดีพีในขณะที่โลกชะลอตัวเหลือเพียง 2.4% ในขณะที่เงินเฟ้อโลกจะเพิ่มขึ้น +0.2% ทำให้เงินเฟ้อโลกอยู่ในระดับ 6%

รูปแบบที่ 3 เป็นรูปแบบสุดท้าย: สงครามที่มีความขัดแย้งโดยตรง ประเทศอิสราเอลกับประเทศอิหร่าน เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงและโดยตรงของทั้ง 2 ประเทศ และเกิดความไม่สงบในวงกว้างทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง จะส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันดิบอย่างรุนแรง โดยจะพุ่งทะยานสูงขึ้นถึง 64 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล หรือเพิ่มขึ้นอีก 8 เท่าจากรูปแบบที่สอง หรือเพิ่มขึ้นอีก 16 เท่าจากรูปแบบแรก ทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกปี 2024 ทรุดลงมากถึง -1% หรือเสียหายราว 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 37 ล้านล้านบาท ทำให้จีดีพีในขณะที่โลกชะลอตัวเหลือเพียง 1.7% ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกย่ำแย่เลวร้ายที่สุดในรอบ 41 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 1982 (โดยไม่นับรวมวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 และวิกฤตเศรษฐกิจการเงินโลก) ในขณะที่เงินเฟ้อโลกจะพุ่งทะยานขึ้นถึง +1.2% ทำให้เงินเฟ้อโลกอยู่ในระดับ 6.7%