แก้ค่าไฟแพง! ส.อ.ท. เชียร์ไทยพัฒนาร่วมแหล่งก๊าซจากพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ไทย-กัมพูชา

204
0
Share:
แก้ค่าไฟแพง! ส.อ.ท. เชียร์ไทยพัฒนาร่วม แหล่งก๊าซ จากพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ไทย-กัมพูชา

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวเสวนา “ทิศทางพลังงานไทยปี 2567” ในงานสัมมนา THAILAND ENERGY EXECUTIVE FORUM ว่าปัจจุบันต้นทุนพลังงานโดยเฉพาะค่าไฟฟ้าของไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 4.18 บาท/หน่วย ขณะที่ เวียดนามอยู่ที่ 2.67 บาท/หน่วยและอินโดนีเซีย 2.52 บาท/หน่วย ซึ่งทั้ง 2 ประเทศเป็นคู่แข่งทางการค้าในอุตสาหกรรมเดียวกันทำให้การแข่งขันของไทยลดลงจึงอยากเห็นค่าไฟฟ้าของไทยในระยะต่อไปอยู่ในอัตราที่ใกล้เคียงกับคู่แข่งจึงสนับสนุนให้ไทยมีการพัฒนาแหล่งก๊าซจากพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ไทย-กัมพูชา (OCA) เข้ามาเพื่อทำให้ต้นทุนลดลงได้ทันที

“ผมได้ฟังข่าวดีว่าค่าไฟปีนี้น่าจะดีขึ้นก็หวังเช่นนั้น แต่คิดว่า นี่เป็นการบ้านทุกคนจะต้องปรับโครงสร้างเพื่อการแข่งขันให้ได้รวมถึงค่าไฟฟ้าเพราะกว่า 50% ของภาคการผลิตเรายังเป็นอุตสาหกรรมดั้งเดิมขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี) ต้นทุนต่างๆ ขึ้นเรากระทบหมด ขณะเดียวกันเราต้องก้าวไปพลังงานสะอาดแต่ไทยมีความได้เปรียบในเรื่องนี้ จะต้องทำควบคู่ดึงลงทุนพอร์ตลงทุนใหม่ๆ ที่ใช้พลังงานต่ำ ต้องเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวีนไม่น้อยกว่า 50% รถยนต์ไฟฟ้า ปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าให้ง่ายขึ้น ส.อ.ท. เองปีนี้เราเองจะตั้งหน่วยงาน Energy Transition เพื่อนำไปสู่ Green Industry Transition เพื่อเป็นความยั่งยืนแบบแท้จริงในการดึงดูดการลงทุน” นายเกรียงไกรกล่าว

ปัจจจุบัน โลกการค้าและการลงทุนในอนาคตมีความท้าทายสำหรับภาคเอกชนไทยทั้งการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ภูมิรัฐศาสตร์ เทรดวอร์ และรวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่โลกกำลังเดือดดังนั้นจากนี้โลกจะเต็มไปด้วยมาตรฐานสิ่งแวดล้อม ดังนั้นทุกภาคส่วนจึงต้องมุ่งไปสู่
1. ความยั่งยืน
2. พลังงงานสะอาด
และ 3. การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)

“เป้าหมายของไทย Net Zero ปีค.ศ. 2065 เราอาจจะช้าไปหน่อยแต่ก็ชัวร์กว่า แต่มหาอำนาจโลกโดยเฉพาะสหรัฐและสหภาพยุโรป (อียู) จะอยู่ราว ปี 2050 จีน อินโดนีเซีย ปี 2060 เราปลายสุดก็ถือว่าท้าทายเช่นกันเพราะไทยพึ่งพิงส่งออก 60% แต่ตอนนี้อียูอออกมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนหรือ CBAM นำร่อง 5 อุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูงเมื่อ ต.ค. 65 แล้วแม้ยังไม่เก็บจริงแต่เป็นการส่งข้อมูล 2 ปีก่อนจากนั้นก็จะเพิ่มสินค้าไปเรื่อยๆจนครบทำให้อุตสาหกรรมเราต้องปรับตัวหันมาใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น ขณะที่สหรัฐ แคนาดา แม้แต่จีนก็จะเริ่มมีมาตรฐานดังกล่าวเช่นกัน”