แบงก์ ออฟ อเมริกา เมินเชียร์ลงทุนแทบทุกสกุลเงินในเอเชีย-อาเซียน จุดบาทไทยในกลุ่มตลาดไม่น่าลงทุน

43
0
Share:
แบงก์ ออฟ อเมริกา เมินเชียร์ลงทุนแทบทุกสกุลเงินในเอเชีย-อาเซียน จุด เงินบาท ไทยในกลุ่มตลาดไม่น่าลงทุน

ธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกา เปิดเผยว่า ขณะนี้ขณะนี้สกุลเงินต่างประเทศที่อยู่ในทวีปเอเชียกำลังอยู่ในยุคความผันผวนสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับสกุลเงินหลักอย่างดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ธนาคารมีมุมมองในการลงทุนสกุลเงินต่างประเทศของแต่ละประเทศในแถบเอเชียและอาเซียนที่แตกต่างกันโดยมีทั้งสนับสนุนให้ลงทุนต่อไปและลดน้ำหนักการลงทุนในสกุลเงินจำนวนมากในแถบเอเชีย

เมื่อมองในภาพรวมแล้ว ธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกา แทบจะไม่มีการให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นในการลงทุน หรือถือครองสกุลเงินในแถบเอเชียและอาเซียน หรือที่เรียกว่าไม่มีมุมมองภาวะกระทิงกับตลาดเงินในแถบเอเชียและอาเซียน ซึ่งได้รับผลกระทบจากแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟด จะชะลอการลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นจากที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ รวมถึงค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอยู่ในรอบแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจเศรษฐกิจอเมริกายังคงมีการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในปีนี้

สำหรับสกุลเงินของประเทศในแถบเอเชียและอาเซียนที่ถูกจัดอยู่ในภาวะหมีหรือภาวะที่ไม่สนับสนุนให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุน ได้แก่ เงินหยวนจีน เงินวอนเกาหลีเกาหลีใต้ เงินดอลลาร์ไต้หวัน เงินบาทไทย และเงินด่องเวียดนาม

ในขณะที่สกุลเงินแถบเอเชียและอาเซียนที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มธรรมดา ซึ่งหมายถึงไม่ได้ตกต่ำย่ำแย่และก็ไม่ได้ดีที่สุด ได้แก่ เงินดอลลาร์ฮ่องกง เงินรูเปี๊ยะห์อินโดนีเซีย เงินรูปีอินเดีย เงินริงกิตมาเลเซีย เงินเปโซฟิลิปปินส์ และเงินดอลลาร์สิงคโปร์

ธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกา เปิดเผยต่อไปว่า เงินบาทไทยเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ดอลลาร์สหรัฐนั้น โดยพื้นฐานแล้วเงินบาทไทยมีความเปราะบางและผันผวนสูงกับปัจจัยลบโดยเฉพาะความขัดแย้งด้านปัญหาภูมิรัฐศาสตร์โลก ซึ่งจะส่งผลกระทบมาถึงราคาน้ำมันดิบที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่ต้องนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ และกระทบไปถึงต้นทุนและค่าใช้จ่ายในอุตสาหกรรมภาคการขนส่งหรือโลจิสติกส์ของไทย ดังนั้น ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐจะเคลื่อนไหวอ่อนค่าลงไปทำสถิติต่ำสุดในรอบกว่า 6 เดือนครึ่งที่ระดับกว่า 37 บาทต้นต้นก็ตาม แต่ในช่วงสิ้นปี 2024 แบงก์ ออฟ อเมริกามองข้ามเงินบาทจะอยู่ที่ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

สอดรับกับค่าเงินด่องของเวียดนามซึ่งอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐมากกว่า 5% นับตั้งแต่ต้นปีนี้มาถึงปัจจุบัน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากช่องว่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐกับธนาคารกลางเวียดนาม ปัจจัยต่อมาคือ เสถียรภาพทางการเมืองในประเทศเวียดนาม กำลังถูกตั้งคำถามถึงความง่อนแง่นทางการเมืองในประเทศเวียดนาม หลังจากการลาออกของประธานาธิบดีเวียดนามเป็นคนที่สองภายในระยะเวลา 2 ปี รวมถึงปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ในประเทศเวียดนามที่กำลังประเชิญกับปัญหาคอรัปชั่นของธุรกิจเอกชนในวงการอสังหาริมทรัพย์ จึงคาดการณ์ว่าค่าเงินด่องเวียดนามในช่วงสิ้นปีนี้จะอ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 25,700 ด่องต่อดอลลาร์สหรัฐ