โตโยต้าชี้ 3 เหตุผลเหมาะสมการผลิตรถไฟฟ้า(อีวี) มองยังไม่ถึงเวลา หลายข้อกังวลที่ต้องรอพิสูจน์

462
0
Share:
โตโยต้า ชี้ 3 เหตุผลเหมาะสมการผลิตรถไฟฟ้า(อีวี) มองยังไม่ถึงเวลา หลายข้อกังวลที่ต้องรอพิสูจน์

นายโนริกาอิ ยามาชิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ โตโยต้า ประเทศไทย กล่าวว่า กลยุทธ์ Multi Pathway เป็นนโยบายของโตโยต้าทั่วโลก โดยจะนำมาใช้ตามลักษณะเฉพาะของแต่ละประเทศ และแต่ละตลาด ตลอดจึงความเป็นไปได้ในอนาคต แล้วจึงนําเสนอทางเลือกเหมาะสมให้ได้มากที่สุด การพิจารณาจะยึด 3 ปัจจัย มีดังนี้ ปัจจัยแรก ลูกค้ามีแนวโน้มจะซื้อรถเทคโนโลยีอะไร จําเป็นต้องดูจากสภาพทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ และสภาพการใช้งานจริงของลูกค้าด้วย ปัจจัยที่สอง คือภาระต่อสิ่งแวดล้อม จําเป็นต้องดูด้วยว่าแต่ละประเทศตอนนี้มีโครงสร้างทางพลังงานอย่างไร เทคโนโลยีช่วยลดภาระต่อสิ่งแวดล้อมในแต่ละประเทศได้เหมาะสมที่สุด และปัจจัยสุดท้าย คือ โตโยต้าจะช่วยเหลือเศรษฐกิจของแต่ละประเทศได้อย่างไร สำหรับไทยนั้น ถือเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ในภูมิภาคนี้ อุตสาหกรรมรถยนต์ก็คิดเป็นสัดส่วนจีดีพีสูงถึง 12% ของประเทศไทย หากพิจารณาปัจจัย 3 ข้อนี้แล้ว แน่นอนว่ารถ BEV ถือเป็นเทคโนโลยีที่สําคัญมากสำหรับอนาคต เรานิ่งเฉยไม่ได้แน่นอน

การใช้งานรถอีวีจริงย่อมขึ้นอยู่กับสถานีชาร์จไฟฟ้า เจ้าของรถทุกคนจะเข้าถึงได้จริงหรือไม่ ความประหยัดโดยรวมของผู้ใช้รถ หากลูกค้าชาร์จไฟฟ้าในช่วงกลางดึก ค่าไฟฟ้าลดต่ำได้ อาจจะประหยัด แต่ถ้าไม่สามารถทําได้ อาจไม่ประหยัดจริง ด้านราคาขายต่อและความประหยัดระยะยาวอาจแตกต่างกันไป แต่ต้องคํานึงถึงปัจจัยหลากหลายเช่นกัน สำหรับภาระต่อสิ่งแวดล้อม หากพิจารณาการลด CO2 แบบ Tank to Wheel การผลิตพลังงานภายในรถ BEV อาจจะปล่อยคาร์บอนออกมาเป็นศูนย์จริง แต่ถ้าพิจารณาแบบ Well to Wheel ซึ่งหมายถึงแหล่งไฟฟ้าเอามาชาร์จรถไฟฟ้า BEV เช่น ประเทศไทยยังผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินและก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก ดังนั้น ปริมาณ CO2 ปล่อยออกมา เมื่อเทียบกับปริมาณการปล่อย CO2 ของรถทั่วไป หรือรถไฮบริดแล้ว อาจไม่ได้ต่างกันมาก ต้องคํานึงถึงจุดนี้ด้วย

รถไฟฟ้า BEV จะส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศไทยได้อย่างไร รถอีวีส่วนใหญ่ที่จําหน่ายในไทยตอนนี้เป็นรถนําเข้า 100% อาจไม่ช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจในประเทศในปัจจุบันนี้ได้มากนัก หากจะผลิตรถไฟฟ้า BEV ในประเทศไทย จำเป็นต้องมียอดผลิตสูงและคุ้มค่าด้านต้นทุน เช่น รถไฮลักซ์ในปัจจุบันมีอัตราส่วนชิ้นส่วนผลิตในประเทศถึง 90% หากเราต้องการให้รภไฟฟ้า BEV มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทย โตโยต้าเป็นต้องพิจารณาระยะเวลาและความเหมาะสมด้วย

ในไทยปัจจุบัน การแพร่หลายของรถไฟฟ้า BEV ค่อนข้างสูง และรวดเร็วมาก แต่ถ้าเมื่อมองตลาดอาเซียนโดยรวม ยอดขายรถไฟฟ้าในประเทศอื่น ๆ ภายในอาเซียน อาจไม่ได้สูงขนาดนั้น จึงต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ในการผลิตในประเทศไทยแล้วส่งออกในภูมิภาคอาเซียน ตอนนี้จึงอาจจะยังไม่ใช่ช่วงเวลาเหมาะสมเท่าใดนัก อย่างไรก็ตาม โตโยต้าก็น้อมรับนโยบายของประเทศไทยที่กำหนดสัดส่วนการใช้รถไฟฟ้า BEV ให้ได้ 30% ภายในปี 2030 จะขยายเทคโนโลยีการผลิตแบบค่อยเป็นค่อยไปร ในระยะสั้น คือ แผนผลิตรถไฮลักซ์ปิกอัพไฟฟ้า BEV พร้อมจะส่งมอบให้เทศบาลเมืองพัทยา เพื่อใช้เป็นรถสองแถวแบบทดสอบ 12 คันวันที่ 25 เมษายนนี้