ไทยพบติดโควิด-19 พันธุ์โอไมครอนรวม 3 ลุ้นผลตรวจชายไทยรายที่ 4 กลับจากทวีปแอฟริกา

467
0
Share:
ไทยพบติดโควิด-19 พันธุ์ โอไมครอน รวม 3 ลุ้นผลตรวจชายไทยรายที่ 4 กลับจากทวีปแอฟริกา

วันนี้ 9 ธันวาคม 2564 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แถลงว่า คนที่ 4 ที่มีโอกาสสูงที่จะติดโรคระบาดโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนเป็นผู้ชายไทย อายุ 41 ปี เป็นเจ้าหน้าที่สำนักงานสหประชาชาติ(UN) ซึ่งเดินทางกลับมาจากประเทศดีอาร์คองโก ทวีปแอฟริกา เมื่อมาถึงประเทศไทยเข้าตรวจหาเชื้อในรูปแบบ Test & Go สำหรับผู้ชายคนดังกล่าวได้รับการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าครบ 2 โดสแล้ว

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับตัวอย่างรายนี้มาตรวจเมื่อช่วงบ่ายวันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม 2564 ส่วนข้อมูลของกรมควบคุมโรค อยู่ระหว่างลงรายละเอียดในการสอบสวนและจะมีการชี้แจงต่อไป

ส่วนผลการตรวจสอบในเบื้องต้นที่เป็นการตรวจเฉพาะตำแหน่ง พบว่ามีแนวโน้มที่จะติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน ขณะนี้ กำลังตรวจการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตรวจเพื่อยืนยัน ซึ่งคาดว่าในช่วง 1-2 วัน น่าจะรู้ผลอย่างชัดเจน ขณะเดียวกัน ได้มีการประสานงานกับโรงพยาบาลที่ส่งเชื้อตรวจแล้วในเรื่องการกักตัว ดูแลและสอบสวนหากลุ่มเสี่ยงเพื่อนำตัวอย่างมาตรวจต่อไป

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า นับจนถึงวันนี้ 9 ธันวาคม 2564 ประเทศไทยพบผู้ติดโรคระบาดโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนสะสม 3 ราย โดยผลตรวจของหญิงไทย 2 รายได้รับการยืนยันชัดเจนว่าติดโรคระบาดโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนหลังเดินทางกลับมาจากประเทศไนจีเรีย ส่วนคนแรกของประเทศไทยเป็นผู้ชายสัญชาติอเมริกันที่เดินทางมาจากประเทศสเปน

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้เฝ้าระวังและตรวจถอดรหัสพันธุกรรมคนที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1พ.ย.-8ธ.ค.64 ทั้งการตรวจขั้นตอนแรก ตรวจเฉพาะตำแหน่ง และเมื่อพบสายพันธุ์ที่เฝ้าระวังหรือจับตามอง เช่น โอไมครอน ก็จะนำไปถอดรหัสพันธุ์กรรมทั้งตัว มีการตรวจไปแล้ว 1,649 ตัวอย่าง เจอสายพันธุ์ส่วนมากเป็นเดลตากว่า 99%  ที่เหลืออีกไม่ถึง1% เป็นโอไมครอน

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชี้แจงกรณีที่ประเทศออสเตรเลีย ตรวจเจอสายพันธุ์ย่อยของโอไมครอน เรียกว่า B A.2 ว่า เป็นสายพันธุ์ย่อย มีลักษณะเหมือนสายพันธุ์แม่ ยืนยันว่า ยังสามารถตรวจได้ ไม่น่ากังวล ยกเว้นในอนาคตที่มีการกลายพันธุ์เป็นตัวใหม่ หรือสายพันธุ์ย่อยมีปัญหา อาจจะต้องผสมสูตรกันใหม่ถึงจะตรวจพบ นอกจากนี้ ยืนยันว่า การใช้ชุดตรวจ ATK ที่ใช้อยู่ในขณะนี้สามารถตรวจหาเชื้อโอไมครอนได้ แต่ต้องตรวจและเก็บตัวอย่างให้ถูกต้อง และต้องตรวจซ้ำ ไม่ว่าจะสายพันธุ์ไหนก็ตาม