ไทยแลนด์โดนอีก! ระบบบำนาญไทยปี 2020 รั้งสุดท้ายของโลก

1387
0
Share:

เมอร์เซอร์ ได้จัดทำดัชนีบำนาญทั่วโลกประจำปี 2020 มีชื่อว่า Mercer CFA Institute Global Pension Index จากการจัดอันดับดัชนีชี้วัดระบบเงินบำนาญทั้ง 39 ประเทศชั้นนำทั่วโลก พบว่า ประเทศไทยติดอันดับสุดท้าย คืออันดับที่ 39 ด้วยค่าดัชนีเท่ากับ 40.8 จาก 100 โดยตกอยู่ในกลุ่มเกรด D จากทั้งหมดเกรด A,B,C และ D

.

สถาบันเมอเซอร์ เสนอแนะให้ประเทศไทยต้องเร่งให้การสนับสนุนคนยากจนในประเทศ และเร่งปรับปรุงระบบธรรมาภิบาลในระบบบำนาญรวมถึงการเกษียณทั้งราชการ และเอกชน ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับท้ายสุดในกลุ่มอาเซียนอีกด้วย โดยสิงคโปร์อยู่อันดับ 1 ได้ 71.2 อันดับ 2 มาเลเซีย 60.1 อันดับ 3 อินโดนีเซีย 51.4 อันดับ 4 ฟิลิปปินส์ ได้ 43

สำหรับ 10 อันดับแรกที่มีระบบบำนาญดีที่สุดของโลก ได้แก่ เนเธอแลนด์ส 82.6 เดนมาร์ค 81.4 อิสราเอล 74.7 ออสเตรเลีย 74.2 ฟินแลนด์ 72.9 อันดับ 6 คือ สวีเดน 71.2 สิงคโปร์ 71.2 นอร์เวย์ 71.2 แคนาดา 69.3 และนิวซีแลนด์อยู่ในอันดับ 10 ได้ 68.3 จากทั้งหมด 100

.

นายเดวิด น๊อกซ์ เมอร์เซอร์ ผู้บริหารอาวุโสของสถาบันเมอร์เซอร์ เปิดเผยต่อไปว่า 20 ประเทศแรกจากการจัดอันดับทั้งหมด 39 ประเทศทั่วโลก มีค่าดัชนีดังกล่าวลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่ส่งผบกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจทุกประเทศทั่วโลก ทำให้เงินสนสนับสนุนกองทุนบำนาญ หรือกองทุนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผลตอบแทนหลังการเกษียณตกต่ำลงอย่างมาก การลงทุนของภาคเอกชนลดต่ำลงอย่างมาก และภาวะหนี้สาธารณะของรัฐบาลพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและเรื้อรังอีกยาวนาน

.

ประเทศขนาดใหญ่ของโลกในแง่ขนาดเศรษฐกิจ พบว่า ถูกจัดอยู่ในอันดับกลางๆ เช่น สหรัฐอเมริกาอยู่อันดับ 18 ซึ่งตกอยู่ในเกรด C ทำให้ต้องรีบปรับเพิ่มอัตราเงินบำนาญขั้นต่ำสำหรับชาวอเมริกันที่มีเงินบำนาญขั้นต่ำ และเพิ่มการระดมทุนเงินกองทุนทางสังคมให้มากขึ้น อาเจนติน่าถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 38 ได้ 42.5 เป็นอันดับ 2 จากสุดท้ายของทั้ง 39 ประเทศ ด้านจีนแผ่นดินใหญ่ได้คะแนน 47.3 ตกอยู่ในเกรด D อินเดียได้คะแนน 45.7 ถูกจัดอยู่ในเกรด D ซึ่งเป็นกลุ่มที่ย่ำแย่ที่สุด

.

ประชาชนชาวเนเธอแลนด์ มีความสุข และมีความปลอดภัยจากระบบเงินบำนาญและการเกษียณมสกที่สุดในโลกสะท้อนจากค่าดัชนีบำนาญทั่วโลกประจำปี 2020 ได้อันดับ 1 ของโลก โดยหนึ่งในตัวชี้วัด พบว่า ชาวเนเธอแลนด์จะได้รับเงินในสัดส่วน 80% ของรายได้ก่อนเกษียณหลังจากหยุดทำงาน เป็นต้น

.

ทั้งนี้ เมอร์เซอร์ จัดทำผลสำรวจดัชนีบำนาญทั่วโลกประจำปี 2020 ผ่านการใช้ตัวชี้วัดทั้งหมด 50 รายการ เช่น ระบบบำนาญและเกษียณนำไปสู่การปรับปรุงผลตอบแทนการเงินหลังการเกษียณหรือไม่ ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับระบบบำนาญมีหรือไม่

.