ไบแนนซ์ยันจับมือกัลฟ์ของมหาเศรษฐีรวยอันดับ 2 สารัตน์ พร้อมเปิดเทรดเงินคริปโทต้นปีหน้า

233
0
Share:
ไบแนนซ์ ยันจับมือ กัลฟ์ ของมหาเศรษฐีรวยอันดับ 2 สารัตน์ พร้อมเปิดเทรดเงิน คริปโท ต้นปีหน้า

ไบแนนซ์ (Binance) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการซื้อขายเงินดิจิทัลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกของมหาเศรษฐี นายจ้าว ฉางเผิง ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอไบแนนซ์ เปิดเผยว่า บริษัทร่วมลงทุนระหว่างไบแนนซ์ โฮลดิ้งส์ กับบริษัทกัลฟ์ เอนเนอยี่ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ของมหาเศรษฐีรวยอันดับ 2 ของประเทศไทย นายสารัตน์ รัตนวดี ซึ่งอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เตรียมแผนเปิดดำเนินกิจการและให้บริการเปิดซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินคริปโทเคอร์เรนซี หรือเงินดิจิทัลภายในต้นปี 2024 ในประเทศไทย หลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินคริปโทเคอร์เรนซีจากหน่วยงานกำกับดูแลในประเทศไทย

สำหรับบริษัทแห่งใหม่ที่เกิดขึ้นจากการร่วมลงทุนของทั้ง 2 ฝ่าย มีชื่อว่าบริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด ซึ่งได้รับใบอนุญาติประกอบกิจการตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินคริปโทเคอร์เรนซีจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา

แพลตฟอร์มซื้อขายเงินดิจิทัล หรือเงินคริปโทเคอร์เรนซีของบริษัทดังกล่าว จะเปิดบริการให้เฉพาะนักลงทุนที่ได้รับเชิญเท่านั้น ถัดจากนั้นจะเปิดให้บริการกับนักลงทุนทั่วไปที่สนใจ

สำหรับไบแนนซ์ (Binance) และนายจ้าว ฉางเผิง ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอไบแนนซ์ ปัจจุบันตกอยู่ภายใต้แรงกดดันการตรวจสอบทางกฎหมายหลายข้อกล่าวหาจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สหรัฐอเมริกา หรือ ก.ล.ต.สหรัฐอเมริกา ที่ตั้งข้อกล่าวหาว่า ไบแนนซ์เป็นเครือข่ายโยงใยแห่งการหลอกล่วง หรือ Web of Deception ในขณะเดียวกันวงการตลาดทุนในยุโรปเพิ่มความเข้มงวดในธุรกิจเงินคริปโทเคอร์เรนซี รวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจในอุตสาหกรรมบริการชำระเงินยักษ์ใหญ่ระดับโลกได้ยกเลิกธุรกรรมบริการกับไบแนนซ์

เมื่อเดือนกรกฎาคม 2023 ผ่านมา ไบแนนซ์ตัดสินใจถอนการยื่นส่งเอกสารเพื่อขอใบอนุญาตการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มซื้อขายเงินดิจิทัล หรือเงินคริปโทเคอร์เรนซีของในประเทศเยอรมนี สาเหตุจากบาฟิน (BaFin) หรือหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนของเยอรมนี ซึ่งมีหน้าที่เหมือนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มีความเข้มงวดในกฎระเบียบการทำธุรกิจสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

ขณะที่เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2023 ผ่านมา ไบแนนซ์ประกาศยกเลิกและปิดธุรกิจบริการแพลตฟอร์มซื้อขายเงินดิจิทัล หรือเงินคริปโทเคอร์เรนซีของในประเทศเนเธอแลนด์ สาเหตุจากไบแนนซ์พยายามที่จะปฏิบัติตามกฎระเบียบและการตรวจสอบของหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนของเนเธอแลนด์มีความเข้มข้นมากขึ้น แต่ไม่สามารถเป็นไปตามกฎระเบียบได้ ด้านธนาคารกลางเนเธอแลนด์ หรือ DNB ประกาศว่าไบแนนซ์ว่า ดำเนินธุรกิจแพลตฟอร์มซื้อขายเงินดิจิทัล หรือเงินคริปโทเคอร์เรนซีโดยปราศจากการยื่นขออนุญาตอย่างถูกต้องและเหมะสม นอกจากนี้ ไบแนนซ์ยังได้ตัดสินใจปิดกิจการและถอนธุรกิจออกจากประเทศไซปรัส แคนาดา และออสเตรเลียตามมา

ย้อนกลับไปเมื่อเดือนสิงหาคม 2023 มาสเตอร์การ์ด (Mastercard) อินคอร์ปอเรชั่น ผู้ให้บริการบัตรเครดิต บัตรเดบิต และเครือข่ายการชำระเงินชื่อดังในแบรนด์มาสเตอร์การ์ดระดับโลก ได้ประกาศยกเลิกการร่วมทำธุรกิจในฐานะพันธมิตรธุรกิจกับไบแนนซ์ (Binance) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการซื้อขายเงินคริปโทเคอร์เรนซีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกของมหาเศรษฐี นายจางเผิง จ้าว ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอ ไบแนนซ์ สำหรับการยกเลิกการทำธุรกิจร่วมกันในครั้งนี้ จะเป็นการยกเลิกบริการที่ลูกค้าผู้ถือบัตรมาสเตอร์การ์ดซึ่งใช้เงินคริปโทในการซื้อสินค้าหรือบริการในทุกประเทศที่อยู่ในละตินอเมริกา หรืออเมริกาใต้ และตะวันออกกลางทั้งหมด

ในขณะเดียวกัน วีซ่า (Visa) อินคอร์ปอเรชั่น ผู้ให้บริการบัตรเครดิต บัตรเดบิต และเครือข่ายการชำระเงินชื่อดังในแบรนด์วีซ่าระดับโลก ประกาศยกเลิกการร่วมทำธุรกิจในฐานะพันธมิตรธุรกิจกับไบแนนซ์ (Binance) ทั้งหมดในยุโรป

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2023 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ (SEC) หรือ ก.ล.ต.สหรัฐอเมริกา แถลงข่าวว่า ก.ล.ต.สหรัฐอเมริกา ได้ดำเนินการยื่นร้องขอต่อศาลรัฐบาลกลางแห่งกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา ให้พิจารณาออกคำสั่งฉุกเฉินมีผลทางกฎหมายให้อายัดทรัพย์สินทั้งหมดของไบแนนซ์ แพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะอยู่ในสหรัฐอเมริกาหรือทั่วโลก นอกจากนี้ ยังรวมถึงคำสั่งศาลสั่งให้ไบแนนซ์ดำเนินการส่งคืนธนบัตร เหรียญเงินที่ใช้ชำระได้ถูกต้องตามกฎหมาย และเงินคริปโททุกสกุลที่ไบแนนซ์ถือครองทั้งหมดด้วย

นอกจากนี้ ยังดำเนินการฟ้องร้องให้อายัดทรัพย์สินของแพลทฟอร์มไบแนนซ์ซึ่งดำเนินการภายใต้ 2 บริษัทในเครือไบแนนซ์ที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาด้วย รวมถึงสถาบันการเงินที่ไบแนนซ์มีการนำทรัพย์สินไปฝากไว้ เช่น ธนาคาร Axos, ธนาคารซิลเวอร์เกท แบงก์ ธนาคารไพรม์ ทรัสท์ และสถาบันการเงินอื่นๆ อย่างไรก็ตาม การดำเนินการฟ้องร้องดังกล่าวเกี่ยวกับการอายัดทรัพย์สินในครั้งนี้จะไม่ครอบคลุมถึงแพลทฟอร์มไบแนนซ์ที่เปิดบริการซื้อขายในต่างประเทศ

ก.ล.ต.สหรัฐอเมริกา ยังได้ฟ้องร้องเพิ่มเติมกับ 2 สถาบันการเงินซึ่งถูกควบคุมโดยนายจ้าว ฉางเผิง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารไบแนนซ์ มีชื่อว่า ซิกม่า เชน (Sigma Chain) และเมอริท พีค (Merit Peak)

ขณะที่เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2023 ก.ล.ต.สหรัฐอเมริกา ได้ดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลรัฐบาลกลางแห่งกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. กับนายจ้าว ฉางเผิง ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอไบแนนซ์ (Binance) ซึ่งเป็นแพลทฟอร์มการซื้อขายเงินดิจิตอลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยทำการฟ้องร้องถึง 13 คดีทั้งนายจ้าว ฉางเผิง ซีอีโอ และบริษัทไบแนนซ์ ในการกระทำผิดในลักษณะ “เครือข่ายแห่งการหลอกลวง ฉ้อโกง และฉ้อฉลอย่างมากมาย หรือ Web of Deception” การขัดแย้งแห่งประโยชน์แท้จริงทางธุรกิจ การละเลยในการเปิดเผยข้อมูล และการหลบเลี่ยงกฎระเบียบและกฎหมายกำกับดูแลตลาดสินทรัพย์ดิจิตอล

นายแกรี่ เกนสเลอร์ ประธานสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ หรือ SEC สหรัฐอเมริกา กล่าวแถลงว่า สำหรับการฟ้องร้องดำเนินคดีดังกล่าวนั้น ก.ล.ต.สหรัฐอเมริกา พบข้อมูลแท้จริงเกี่ยวกับนายจ้าว ฉางเผิง และไบแนนซ์ทำการสร้างปริมาณธุรกรรมการซื้อขายมากเกินความเป็นจริงตามที่ก.ล.ต.ทำการสืบสวนและสอบสวนข้อเท็จจริงทั้งหมด นอกจากนี้ กระทำการผิดกฎหมายการลงทุนด้วยการโยกย้ายเงินทุนของลูกค้าผู้ใช้บริการ กระทำการล้มเหลวในการจำกัดลูกค้าที่ทำการซื้อขายจากในสหรัฐอเมริกาลนแพลทฟอร์มไบแนนซ์ และกระทำการหลอกลวง ชี้นำให้เกิดนักลงทุนเกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับระบบควบคุมและเฝ้าระวังตลาดการลงทุนสินทรัพย์ดิจิตอล เป็นต้น

นอกจากนี้ ทั้งบริษัทไบแนนซ์ และซีอีโอไบแนนซ์ นายจ้าว ฉางเผิง กระทำการควบคุมและซ่อนเร้นสินทรัพย์ของนักลงทุน ทำให้ทั้งบริษัทไบแนนซ์ และซีอีโอไบแนนซ์ สามารถทำการโอนย้าย หรือผ่องถ่ายเงินทุนของนักลงทุนตราบเท่าที่ต้องการกระทำผิด

ก.ล.ต.สหรัฐอเมริกา แถลงต่อไปว่า นับเป็นเวลาเกือบ 3 ปีติดต่อกันมาถึงเดือนมิถุนายน 2022 ที่แพลทฟอร์มไบแนนซ์ในสหรัฐอเมริกากระทำการซื้อขายในลักษณะเรียกว่า Wash Trading หรือการสร้างปริมาณการซื้อขายเทียมของสินทรัพย์ดิจิตอล จากการสอบสวน พบว่า ซิกม่า เชน ซึ่งเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการกระทำธุรกรรมเทียมดังกล่าวบนเรือยอชท์ด้วยมูลค่าสูงถึง 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 385 ล้านบาท