ITD แจงเหตุเบี้ยวหนี้หุ้นกู้ เหตุตั้งรัฐบาลช้า-ดอกเบี้ยพุ่งพ่นพิษ 17 ม.ค.นี้

185
0
Share:
ITD แจงเหตุเบี้ยว หนี้ หุ้นกู้ เหตุตั้งรัฐบาลช้า-ดอกเบี้ยพุ่งพ่นพิษ 17 ม.ค.นี้

บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์” แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยสาเหตุที่ต้องเลื่อนการชำระหนี้หุ้นกู้ทุกรุ่นออกไปอย่างน้อย 2 ปี เพราะทั้งปัจจัยเศรษฐกิจในประเทศและการเมืองรุมเร้าจับตา 17 ม.ค.นี้ จุดเปลี่ยนสำคัญ ITD ขยายสัดส่วน D/E Ratio ให้เกิน 3 เท่า หวังกู้เงินแบงก์เพิ่มเติมสภาพคล่อง

โดย ITD ประกาศขอเลื่อนชำระหนี้หุ้นกู้ทุกรุ่นออกไปอย่างน้อย 2 ปี ซึ่งมีมูลค่ารวมกันกว่า 14,455 หมื่นล้านบาท เพียงแต่ระหว่างทาง ITD จะยังคงจ่ายดอกเบี้ยตามปกติ พร้อมกับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้กับผู้ถือหุ้นอีก 0.25-0.5% ต่อปี
สำหรับหุ้นกู้ ITD ปัจจุบันมีจำนวน 5 รุ่น มูลค่ารวม 14,455 ล้านบาท แบ่งเป็น หุ้นกู้ที่จะครบกำหนดในปีนี้ 3 รุ่น ได้แก่
* รุ่น ITD242A ครบกำหนด 15 ก.พ.2567 มูลค่า 2,000 ล้านบาท
* รุ่น ITD242DA ครบกำหนด 4 ธ.ค.2567 มูลค่า 2,455 ล้านบาท
* รุ่น ITD24DB ครบกำหนด 4 ธ.ค.2567 มูลค่า 1,215 ล้านบาท
ส่วนที่เหลืออีก 2 รุ่น ครบกำหนดในปี 2568 และ 2569 ตามลำดับ ได้แก่
* รุ่น ITD254A ครบกำหนด 29 เม.ย.2568 มูลค่า 6,000 ล้านบาท
* รุ่น ITD266A ครบกำหนด 2 มิ.ย.2568 มูลค่า 2,785 ล้านบาท

ทั้งนี้ ITD จะจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นกู้เพื่อขอมติการผ่อนผันการชำระหนี้ดังกล่าวในวันที่ 17 ม.ค.2567 ซึ่งนอกจากวาระดังกล่าวแล้ว ยังมีวาระที่สำคัญอีกหนึ่งเรื่อง คือ การขอผ่อนผันการดำรงอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น(D/E Ration) ตามที่กำหนดในข้อกำหนดสิทธิโดยให้มีผลตั้งแต่สิ้นปี 2566 จนถึงรอบบัญชีปี 2568 และผ่อนผันให้บริษัทดำเนินการเจรจาหรือเข้าทำสัญญากับเจ้าหนี้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ โดยไม่ถือเป็นเหตุผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งปัจจุบันข้อกำหนดสิทธิของ ITD ระบุไว้ว่า ต้องมีอัตราส่วน D/E Ratio ไม่เกิน 3 เท่า

ทาง ITD ได้ระบุหมายเหตุเอาไว้ว่า บริษัทได้ดำรงอัตราส่วน D/E Ratio ตามที่กำหนดมาโดยตลอด แต่เนื่องจากช่วงหลังไตรมาส 2 ปี 2566 สถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศยังคงอยู่ในช่วงปรับตัว ซึ่งรวมถึงโครงการต่างๆ ของบริษัทยังคงอยู่ในช่วงดำเนินการและอยู่ระหว่างการส่งมอบให้กับลูกค้าหน่วยงานรัฐ

อีกทั้งในปี 2566 ยังมีปัจจัยภายนอกหลายประการที่กระทบกับการประกอบธุรกิจของบริษัท เช่น สถานการณ์สงครามในต่างประเทศ ราคาวัสดุและน้ำมันที่สูงขึ้น การประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) จึงทำให้ต้นทุนการทำงานของบริษัทเพิ่มสูงขึ้น