PM2.5 เข้าถึงภายในบ้านคนไทยสูงมาก ไทยติดอันดับ 11 ประเทศมีคุณภาพอากาศในบ้านแย่ที่สุดในโลก

266
0
Share:
PM2.5 เข้าถึงภายในบ้านคนไทยสูงมาก ไทยติดอันดับ 11 ประเทศมี คุณภาพอากาศ ในบ้านแย่ที่สุดในโลก

ไดสัน(Dyson) แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าระบบสุญญากาศชื่อดังระดับโลก เปิดเผยรายงานโครงการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพอากาศระดับโลก (Global Connected Air Quality Data project) เป็นครั้งแรก โดยศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพอากาศภายในอาคารผ่านโดยเครื่องฟอกอากาศยี่ห้อไดสันกว่า 2.5 ล้านเครื่องระหว่างปี 2565 ถึง 2566 เพื่อชี้ให้เห็นถึงคุณภาพอากาศจริงภายในบ้านของผู้คนทั่วโลก

ผลการเก็บข้อมูล พบว่า ค่าเฉลี่ยรายปีของ PM2.5 ในประเทศไทยเกินเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO ถึงเกือบ 3 เท่า ในปี 2022 เมื่อนำระดับฝุ่น PM2.5 โดยเฉลี่ยของแต่ละประเทศมาจัดอันดับ พบว่า อินเดีย จีน และตุรกี ครองตำแหน่ง 3 อันดับแรกตามลำดับ และไทยยังอยู่ในอันดับ 1 ของ 4 ประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ รวมถึงประเทศไทยติดใน 15 อันดับแรกของประเทศที่มีคุณภาพอากาศภายในครัวเรือนแย่ที่สุดในโลก

เนื่องด้วยระดับ PM2.5 โดยเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 14.70 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในขณะที่ ประเทศไทยตรวจพบระดับฝุ่น PM2.5 สูงเกินจากเกณฑ์มาตรฐานกว่า 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือเกือบ 200% โดยประมาณ นอกจากนี้ ทุกเดือนตลอดปี 2023 ผ่านมา มีระดับฝุ่น PM2.5 ภายในครัวเรือนสูงเกินจากที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ระบุไว้ด้วย โดยในปี 2022 พบระดับต่ำสุดอยู่ที่ 6.68 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรในเดือนสิงหาคม และสูงสุดถึง 21.99 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรในเดือนเมษายน เช่นเดียวกับระดับฝุ่น PM2.5 ภายนอกอาคารโดยเฉลี่ยต่อปีของประเทศไทยนั้น ตรวจพบอยู่ที่ 22.36 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเกินจากค่ามาตรฐานที่ WHO ได้กำหนดไว้ที่ 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือ 350% โดยประมาณ

ทั้งนี้ การศึกษานี้เก็บข้อมูลทั้งขนาดของเม็ดฝุ่น (Granularity) ชนิดของก๊าซและอนุภาคมลพิษต่างๆ ตลอดจนวิเคราะห์แนวโน้มตามวัน เดือน ฤดู และตลอดทั้งปี ข้อมูลทั้งหมดเก็บรวบรวมมาจากเครื่องฟอกอากาศไดสันที่เชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันมายไดสัน ปริมาณข้อมูลที่รวบรวมได้มากกว่า 500,000 ล้านชุดข้อมูล สามารถสะท้อนภาพรวมของสถานการณ์คุณภาพอากาศภายในครัวเรือนของเมืองใหญ่และประเทศต่างๆ ทั่วโลก ช่วยสร้างความเข้าใจและความตระหนักรู้ถึงปัญหามลพิษทางอากาศภายในอาคาร