PTTGC เผยไตรมาส 3 กำไรลดลง 66%

606
0
Share:

PTTGC เผยไตรมาส 3 กำไรลดลง 66% อยู่ที่ 908 ล้านบาท ส่งผลให้ 9 เดือน ขาดทุน 6,200 ล้านบาท ลดลง 155% จากปีก่อน หลังรายได้จากการขายลดลง – ขาดทุนจากการปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือ – ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน
.
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC รายงานผลดำเนินงานไตรมาส 3 /63 มีกำไรสุทธิ 908.38 ล้านบาท ลดลง 66% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 2,663.33 ล้านบาท
.
ซึ่งไตรมาสนี้มีรายได้จากการขายรวม 76,407 ล้านบาท ลดลง 27% จากไตรมาส 3/62 บริษัทฯ มี Adjusted EBITDA อยู่ที่ 6,254 ล้านบาท ลดลง 16% จากไตรมาส 3/62
.
โดยธุรกิจโอเลฟินส์และผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องตั้ง แต่ช่วงต้นไตรมาส เนื่องจากราคาผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกโพลีเอทิลีน (PE) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 17% ถึงแม้ว่าโรง LDPE และโรง LLDPE หน่วยที่ 2 มีการปิดซ่อมบำรุงตามแผน ส่งผลให้ปริมาณการขายโพลิเมอร์ลดลงเล็กน้อย
.
ส่วนของธุรกิจโรงกลั่น บริษัทฯ ยังคงการปรับรูปแบบการผลิตโดยปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันอากาศยานและเปลี่ยนไปผลิตเป็นน้ำมันดีเซลตามภาวะความต้องการน้ำมันอากาศยานที่ลดลงตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ธุรกิจโรงกลั่นมีค่าการกลั่น (GRM) อยู่ที่ 1.22 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
.
สำหรับธุรกิจอะโรเมติกส์มีส่วนต่างผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ (BTX P2F) ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ 176 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน มาอยู่ที่ 78 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน โดยได้รับปัจจัยกดดันจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ที่ลดลง จากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาวัตถุดิบ รวมทั้งปริมาณการขายปรับตัวลดลงเล็กน้อยตามแผนปิดซ่อมบำรุงโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2
.
ทั้งนี้ บริษัทฯ รับรู้ผลกำไรจากสต็อกน้ำมันและรายการขาดทุนจากการปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือให้เท่ากับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ (Stock Gain Net NRV) เป็นกำไรรวม 492 ล้านบาท ผลกำไรจากตราสารอนุพันธ์เพื่อประกันความเสี่ยง 172 ล้านบาท และผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 427 ล้านบาท
.
ส่วนงวด 9 เดือนปี 63 พลิกขาดทุนสุทธิ 6,205 ล้านบาท ลดลง 155% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 11,308.25 ล้านบาท
.
โดยมีรายได้จากการขายรวม 238,714 ล้านบาท ลดลง 26% จากไตรมาส 3/62 บริษัทฯ มี Adjusted EBITDA อยู่ที่ 19,065 ล้านบาท ลดลง 23% จากช่วงเดียวกันปีก่อน
.
สำหรับแนวโน้มปี 64 คาดว่าความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ จะค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้น คาดการณ์แนวโน้มตลาดน้ำมันในปีหน้าว่าราคาน้ำมันดิบดูไบจะอยู่ที่ค่าเฉลี่ย 42-47 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากที่สำนักงานพลังงานสากล (IEA) ประเมินความต้องการใช้น้ำมันของโลกอยู่ที่ระดับ 97.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 5.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตามยังมีความไม่แน่นอนจากการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งอาจมีความยืดเยื้อจนส่งผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจของโลก จะเป็นปัจจัยกดดันราคาน้ำมันได้
.
สำหรับความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์น้ำมันต่าง ๆ โดยเฉพาะน้ำมันอากาศยานอาจยังคงมีความไม่แน่นอนสูง แต่ในปีหน้ามีแนวโน้มความต้องการจะปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ ส่งผลให้ส่วนต่างราคาน้ำมันดีเซลกับน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยจะอยู่ที่ 7-8 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ปรับลดการผลิตน้ำมันอากาศยานที่มีอุปสงค์ลดลงและผลิตน้ำมันดีเซลที่ยังมีความต้องการที่ดีอยู่ทดแทน แต่คาดว่าจะสามารถดำเนินการผลิตปีหน้าได้เต็มกำลังที่ 103%
.
แนวโน้มของสถานการณ์ผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์และผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องในปีหน้าคาดว่าส่วนต่างของผลิตภัณฑ์จะทรงตัวจากปีนี้ จากการคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบที่ดีขึ้นเล็กน้อย รวมทั้งราคาแนฟทาที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากกำลังการผลิตของโรงกลั่นต่าง ๆ ที่การฟื้นตัวอาจจะยังไม่มากนัก
.
ทั้งนี้ในปี 64 บริษัทฯ จะมีกาลังการผลิตโอเลฟินส์เพิ่มขึ้นจากโรงโอเลฟินส์หน่วยใหม่ (ORP) กำลังการผลิตติดตั้ง 750,000 ตัน บริษัทฯ คาดการณ์การใช้กำลังการผลิตในปีหน้าของธุรกิจโอเลฟินส์จะอยู่ 95% จากแผนการการปิดซ่อมบeรุงของโรงโอเลฟินส์หน่วยที่ 3 ตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาสที่ 3 เป็นเวลา 39 วันและคาดการณ์การใช้กำลังการผลิตของธุรกิจโพลิเมอร์จะอยู่ที่ 105%