กกร. ห่วงตั้งรัฐบาลช้าทำเศรษฐกิจไทยสะดุด ครึ่งปีจีดีพีหดเหลือ 1-2% รับกังวลขยับค่าแรง

229
0
Share:
กกร. ห่วง ตั้งรัฐบาล ช้าทำ เศรษฐกิจ ไทย สะดุด ครึ่งปีจีดีพีหดเหลือ 1-2% รับกังวลขยับค่าแรง

นายผยง ศรีวณิช ประธานคณะกรรมการร่วมภาครัฐเอกชน 3 สถาบัน กล่าวว่าที่ประชุม กกร. มองว่าเศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งปีหลังอาจฟื้นตัวได้น้อยกว่าที่คาด หลังเศรษฐกิจโลกในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2566 แผ่วลง เพราะเศรษฐกิจจีนไม่ได้ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง ส่วนเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรปเผชิญแรงกดดันจากภาวะอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อสูง การฟื้นตัวไตรมาส 2 ล่าช้ากว่าที่คาด ทำให้เศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งปีหลังยังอยู่ในภาวะชะลอตัว จนกว่าประเทศใหญ่อย่างเช่นประเทศจีนจะมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจออกมา

สำหรับเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่องจากการท่องเที่ยวและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวต่อเนื่องจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว คาดว่าทั้งปีนักท่องเที่ยวต่างชาติมากถึง 30 ล้านคน ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการจ้างงาน และสร้างรายได้เข้าประเทศ นอกจากนี้ รายได้ในภาคเกษตรและเกษตรอุตสาหกรรมยังขยายตัว ทำให้ผู้บริโภคมีกำลังใช้จ่ายบริโภคเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากการฟื้นตัวที่ล่าช้าของเศรษฐกิจโลก คาดว่าการส่งออกในปี 2566 หดตัวร้อยละ -1.0-00 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา GDP ขยายตัวร้อยละ 3-3.5 อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 2.7-3.2 โดยเงินเฟ้อยังคงเป็นปัจจัยท้าทาย หลัง กนง. ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีกร้อยละ 0.25 เพิ่มเป็นร้อยละ 2 และมีแนวโน้มว่าจะยังปรับชั้นต่อไปด้วยเหตุว่าเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในระดับสูง

ส่วนปัจจัยที่อาจกระทบต่อเงินเฟ้อในระยะข้างหน้า ได้แก่ การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 450 บาทต่อวัน อาจทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 0.82 ถ้าไม่มีการเพิ่มทักษะแรงงานและผลิตภาพแรงงานให้เหมาะสมไปพร้อมกับการปรับเปลี่ยน ราคาน้ำมันดีเซลอาจเพิ่มสูงขึ้น หากมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลิตรละ 5 บาท สิ้นสุดลงในวันที่ 20 ก.ค. 66 เป็นตันทุนค่าขนส่งของผู้ประกอบการ ปัจจัยเหล่านี้จะกดดัน ตันทุนของทั้งผู้ประกอบการและครัวเรือนนอกจากนี้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อาจซ้ำเติมตันทุนของผู้ประกอบการโดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ตังนั้นมองว่าการปรับชั้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. จะต้องรักษสมดุลระหว่างเศรษฐกิจไทยที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และไม่ทั่วถึง เพื่อช่วยพยุงให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ที่ประชุม กกร. ยังคงมองว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นเครื่องยนต์หลัก ที่ช่วยชับเคลื่อน เศรษฐกิจที่สำคัญในขณะนี้ การดูแลนักท่องเที่ยวให้มีความสะดวก ปลอดภัย จะเป็นแรงจูงใจดึงดูดให้ต่างชาติเลือกเตินทางเข้ามาในประเทศมากขึ้น ภาครัฐควรมีมาตรการสนับสนุนเพื่สร้างความมั่นใจให้แก่นักท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ปัญหาคอขวดเรื่องการเพิ่มจำนวนเครื่องบินให้กับสายการบินของไทย ยังเป็นอุปสรรคต่อการท่องเที่ยว ซึ่งหากสามารถแก้ไขปัญหาสายการบินให้เพียงพอ นอกจากนี้ยังต้องแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำตามพื้นที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ โดยเฉพาะตามเกาะต่างๆ แต่ไทยมีโอกาสในการดึงดูดนักธุรกิจจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนและทำงานเป็น Hub มากขึ้นจากอานิสงส์ของความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ส่งผลให้เกิดการย้ายฐานการผลิต เนื่องจากประเทศไทยถือเป็นเป้าหมายของนักลงทุนทั่วโลก ดังนั้น ภาครัฐควรมีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน โดยเฉพาะการปฏิรูปกฎหมาย กฎระเบียบเพื่อยกระดับความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ (Ease of Doing Business) เช่น การปรับปรุงปฏิรูปการขอวีซ่าให้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น เป็นต้น ที่ประชุม กกร.มีความกังวล เรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออก ซึ่งติดลบติดต่อกัน 7 เดือน ทำให้คำสั่งซื้อลดลง แต่ภาคอุตสาหกรรมยังคงต้องมีการรักษาการผลิต เพื่อพยุงการจ้างแรงงานให้ไม่ได้รับผลกระทบ หากการส่งออกยังไม่มีการฟื้นตัว อาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก โดยมี 19 กลุ่มอุตสาหกรรม จาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม เช่น ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรกล เฟอร์นิเจอร์ เป็นการผลิตเพื่อหล่อเลี้ยงกิจการและดูแลภาคแรงางนในโรงงานเท่านั้น หากมีปัจจัยเสี่ยงกระทบเพิ่ม อาจเกิดปัญหาหนักเพิ่ม

นายเกรียงไกร เธียรนุกูล ประธานสภาอุตหสการรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า คงอาศัยเครื่องจักรจาการท่องเที่ยวอย่างเดียวไม่ได้ จึงต้องอาศัยกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ แม้จะมีข้อจำกัดบางประการในช่วงเป็นรัฐบาลรักษาการ ยังพอมีช่องทางกระตุ้นให้เกิดกำลังซื้อ เพราะขณะนี้ค่าครองชีพสูงกว่ารายได้ของแรงงาน ขอให้เข้มงวดกรวดขันการซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ กระทบยอดขายเอสเอ็มอี 19 กลุ่ม ขณะนี้ผู้ประกอบการทำการผลิตสินค้าเพื่อยังชีพดูแลแรงงาน ต้องหาทางเพิ่มแหล่งทุนให้เอสเอ็มอี ในช่วงรอจัดตั้งรัฐบาลใหม่ช่วงเดือนสิงหาคม หากการจัดตั้งรัฐบาลล่าช้าออกไป มาตรการต่าง การดึงดูดการลงทุน จากต่างชาติอาจรอไม่ได้ ทำให้แผนที่คาดการณ์ไว้ หากเลื่อนไป 1-2 เดือนอาจรอได้ หากเลื่อนออกไป ครึ่งปี หรือ 1 ปี นักลงทุนต่างชาติ คงหนีไปลงทุนประเทศอื่นแทน และอาจทำให้จีดีพีคาดการณ์เดิมร้อยละ 3-3.5 เหลือร้อยละ 1-2