กรมวิทย์เผยไทยเจอติดเชื้อโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 แล้ว 14 ราย เสียชีวิต 1 ราย

352
0
Share:
โอไมครอน

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าวการเฝ้าระวังโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน BA.2 ว่ากรมวิทย์ได้ส่งข้อมูลไปยังระบบจีเสส (GISAID) มีทั้งหมด 6 ราย ตั้งแต่วันที่ 19 ม.ค.2565 ล่าสุดได้ส่งไปเพิ่มอีก 8 ราย รวมเป็น 14 ราย ซึ่ง 8 รายหลังจะขึ้นปรากฎให้เห็นอีก 1-2 วัน แต่ศูนย์จีโนมรามาฯ ยังไม่ได้ปรากฎ ได้ขอยืนยันว่าเห็น BA.2 ตั้งแต่ 2-3 สัปดาห์แล้ว ตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค.

ซึ่งในปัจจุบัน BA.2 ยังมีข้อมูลน้อยที่จะสรุปว่า แพร่เร็วหรือไม่ หากสัดส่วนเปลี่ยน จากเดิม 2% ขึ้นเป็น 5-10% ในเวลาถัดมาก็ต้องจับตา เพราะอาจแพร่เร็วกว่า ส่วนอาการหนักดูจากข้อมูล 14 ราย พบว่าเดินทางมาจากต่างประเทศ 9 ราย ติดเชื้อในประเทศ 5 ราย โดยติดเชื้อในประเทศมี 1 รายที่เสียชีวิต ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่เป็นคุณป้าติดเตียงเสียชีวิตจากโอไมครอน อยู่ภาคใต้อายุมาก และมีโรคประจำตัว แต่ยังไม่ได้สรุปว่าสายพันธุ์ BA.2 มีอาการรุนแรงกว่า BA.1 หรือไม่ แต่จากข้อมูลกว่า 7 พันเรดคอร์ด เบื้องต้นมีผู้เสียชีวิต 7 รายจากโอไมครอนจาก 7 พันราย คิดเป็น 0.1% ซึ่งถึงว่ามีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างต่ำ

ขณะนี้ก็เหมือนหลายประเทศในโลกนี้จะเป็นโอไมครอนเเพร่ระบาดเป็นส่วนใหญ่ ป่วยง่าย แพร่เชื้อเร็ว อาการรุนแรง เสียชีวิตยังน้อย แต่ขอย้ำว่า ต้องฉีดวัคซีนเข็มบูสเตอร์ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคเรื้อรัง หากดูกราฟจะพบว่าคนที่มีร่างกายแข็งแรง ได้รับวัคซีน มีภูมิคุ้มกันมากพอ โอกาสเสียชีวิตจะน้อยมาก ดังนั้น กลุ่มเป้าหมายสำคัญ คนสูงอายุต้องรีบมารับวัคซีนเข็มกระตุ้นให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

จากข้อมูลในจีเสสมีการรายงานว่าทั่วโลกเจอการระบาดของสายพันธุ์ BA.2 ประมาณ 2.1 หมื่นราย และ BA.1 จำนวน 4.2 แสนราย หรือประมาณ 1ใน 40 เศษๆ แต่จะใช้สัดส่วนนี้ร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่ได้ เพราะโอไมครอนมีหลายสิบล้านทั่วโลก หากเปิดเจอแบบนี้ก็ถือว่า BA.2 ยังไม่มาก แต่ในบางประเทศ เช่นเดนมาร์ก ที่มี BA.2 สัดส่วนสูงขึ้น ก็ต้องจับตาดู แต่ของเราเจอ 14 รายจากหมื่นกว่าราย ซึ่งเราก็ต้องติดตามต่อไป จึงยังไม่ต้องวิตกกังวลอะไร