ค่ายมือถือตบเท้าเข้าร่วมประมูล 5G คึกคัก

721
0
Share:

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เปิดเผยว่า ที่ประชุมยังได้อนุมัติผู้ผ่านคุณสมบัติการเข้าประมูล 5G จำนวน 4 คลื่นความถี่ ประกอบด้วย
.
1.คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz มีผู้เข้าประมูล 3 ราย คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวอร์ค จำกัด (AWN) ในเครือ เอไอเอส // บริษัท ทรู มูฟเอช ยูนิเวอร์แซล คอมมูนิเคชั่น จำกัด ในเครือ ทรู // บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
.
2. คลื่น 2600 MHz มีผู้เข้าประมูล 3 ราย บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวอร์ค จำกัด (AWN) ในเครือ เอไอเอส // บริษัท ทรู มูฟเอช ยูนิเวอร์แซล คอมมูนิเคชั่น จำกัด ในเครือ ทรู // บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
.
3. คลื่น 26 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) มีผู้เข้าประมูล 4 ราย บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวอร์ค จำกัด (AWN) ในเครือ เอไอเอส // บริษัท ทรู มูฟเอช ยูนิเวอร์แซล คอมมูนิเคชั่น จำกัด ในเครือ ทรู // บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ในเครือ ดีแทค // บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
.
ส่วนคลื่น 1,800 MHZ ไม่มีผู้เข้าประมูล
.
นอกจากนี้ที่ประชุมบอร์ด กสทช.มีมติเสียงข้างมากเห็นชอบตามคณะอนุกรรมการพิจารณาการทดแทน ชดใช้ หรือจ่ายค่าตอบแทนในการเรียกคืนคลื่นความถี่ย่าน 2600 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ให้แก่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) หรือ MCOT ที่เป็นผู้ถือครองคลื่นความถี่จำนวน 150 MHz
.
โดยมติดังกล่าวเป็นการยึดตามผลการศึกษาค่าสูญเสียโอกาสของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สรุปออกมาได้ 3 แนวทางประกอบด้วย 1.แนวทางที่แย่ที่สุด คือ เยียวยา 1,573.4 ล้านบาท // 2. ระดับปานกลาง 3,809.8 ล้านบาท และ 3. ดีที่สุด 6,658.1ล้านบาท ตามระยะเวลาสัมปทาน 15 ปี
.
ปัจจุบัน อสมท เป็นผู้ถือครองคลื่นความถี่ย่าน 2600 MHz ดังกล่าวอยู่ที่ 150 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งกสทช.จะเปิดประมูลคลื่นในย่านดังกล่าววันที่ 16 ก.พ. 2563 จำนวน 190 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งอีก 40 เมกะเฮิรตซ์ที่นำมารวมนั้นเป็นของกรมประชาสัมพันธ์ซึ่ง สำนักงานกสทช. เรียกคืนมาแล้วก่อนหน้า
.
นอกจากนี้ที่ประชุมเสียงข้างมากยังให้สำนักงาน กสทช.ส่งเรื่องไปที่อนุกรรมการพิจารณาด้านกฏหมายการถือครองคลื่นความถี่และสัดส่วนที่ได้ผลกระทบ การถือครองคลื่น 15 ปีหรือไม่ โดยเชื่อว่า อสมท น่าจะพอใจกับตัวเลขที่ กสทช.นำเสนอ คือ 6,000 ล้านบาท