ธนาคารกลางยันกองทุนแห่งชาติทั่วโลกส่งซิกตุนทองคำเพิ่ม เตือนเงินเฟ้อทุกวันนี้จะพุ่งสูง

410
0
Share:
ธนาคารกลาง ยันกองทุนแห่งชาติทั่วโลกส่งซิกตุน ทองคำ เพิ่ม เตือนเงินเฟ้อทุกวันนี้จะพุ่งสูง

อินเวสโก (Invesco) ซึ่งเป็นสถาบันด้านการเงินการลงทุนชั้นนำแห่งหนึ่งของโลก เปิดเผยผลสำรวจชื่อว่า ผลการศึกษาการบริหารจัดการสินทรัพย์แห่งชาติทั่วโลกอินเวสโก ซึ่งทำการสำรวจกับธนาคารกลางและกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ หรือ Sovereign Fund ทั่วโลก พบว่า ประเทศทั่วโลกมีจำนวนมากขึ้นที่กำลังเพิ่มการซื้อทองคำเข้ามาเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ เพื่อเป็นหลักประกันและสินทรัพย์ในการป้องกันมาตรการคว่ำบาตรที่บังคับใช้กับประเทศรัสเซียโดยมหาอำนาจชาติตะวันตก

ผลสำรวจดังกล่าว พบว่า ธนาคารกลาง 57 แห่งทั่วโลก และมากกว่า 73 หรือ 85% ของ 85 กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ มีความเชื่อว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าจากนี้ไป อัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันจะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าในปัจจุบันมาก

ดังนั้นทองคำ และพันธบัตรรัฐบาลหรือหุ้นกู้ในตลาดเกิดใหม่ หรือ Emerging Markets ถูกพิจารณาว่าเป็นเครื่องมือการลงทุนที่เหมาะสมท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงในอนาคต ในขณะที่เมื่อปีผ่านมา ครึ่งหนึ่งของทองคำและเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของรัสเซีย ซึ่งมีมูลค่า 640,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 22.4 ล้านล้านบาทถูกคว่ำบาตรในตลาดต่างประเทศ

จำนวนธนาคารกลางทั่วโลกมีมากขึ้นที่เพิ่มสัดส่วนทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง พบว่า 68% ของธนาคารกลางยังคงเก็บทองคำอยู่ในทุนสำรองของแต่ละประเทศตนเอง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 50% เมื่อปี 2020 หรือเมื่อ 3 ปีผ่านมา หนึ่งในผู้บริหารระดับสูงของธนาคารกลางแห่งหนึ่งในผลสำรวจ กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาได้ฝากทองคำในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร แต่ได้มีการโอนย้ายทองคำดังกล่าวกลับมาเก็บในประเทศ เพื่อรักษาไว้อย่างปลอดภัย และให้เป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยท่ามกลางสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ผันผวนและรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น

สถานการณ์ความขัดแย้งในภูมิภาคของโลก เมื่อรวมกับโอกาสในตลาดเกิดใหม่ ได้กลายเป็น 2 ปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้ธนาคารกลางบางส่วนปรับเปลี่ยนสัดส่วนทุนสำรองระหว่างประเทศโดยลดน้ำหนักการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐลง โดยมี 7% มองว่า หนี้สาธารณะของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยลบต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ สอดคล้องกับธนาคารกลางในผลสำรวจครั้งนี้ได้มองว่าค่าเงินหยวนมีน้ำหนักสำคัญในทุนสำรองระหว่างประเทศนั้น มีสัดส่วนลดลงจากเดิมที่ 29% ในปีผ่านมา มาเหลือเพียง 18% ในผลสำรวจนี้

สำหรับปัจจัยเสี่ยงภาพรวมของโลก พบว่า เกือบ 80% ของสถาบันการเงินทั้ง 142 แห่งในผลสำรวจนี้ ให้น้ำหนักกับความขัดแย้งในภูมิภาคของโลกเป็นความเสี่ยงใหญ่ที่สุดใน 10 ปีข้างหน้า ขณะที่ 83% มองว่าปัจจัยเงินเฟ้อเป็นความกังวลในอีก 12 เดือนข้างหน้า