ป่วยโควิด-19 ไม่ว่าจะอาการมาก-น้อย อาจเสี่ยงต่อภาวะสมองห่อตัว

338
0
Share:

ป่วยโควิด-19 ไม่ว่าจะอาการมาก-น้อย อาจเสี่ยงต่อภาวะสมองห่อตัวเหมือนสมองคนสูงอายุในภาวะปกติ
.
รศ.ดร. เจสสิกา เบอร์นาร์ด นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยเทกซัสเอแอนด์เอ็ม สหรัฐอเมริกา เปิดเผยงานวิจัยว่า ได้ตั้งข้อสมมุติฐานว่า โรคระบาดโควิด-19 ในตัวผู้ติดเชื้อที่มีอาการไม่รุนแรงแรงอาจได้รับผลกระทบในระดับลึกต่อสภาพของสมองในลักษณะเป็นกระบวนการแก่ชราของผู้ป่วยด้วยโรคระบาดโควิด-19 จากการติดตามและเก็บข้อมูลโดยเฉพาะผ่านการตรวจสอบจากฟิล์มเอ็กซเรย์ของผู้ป่วย จะเห็นได้ชัดเจนว่า สมองของผู้ป่วยโรคระบาดโควิด-19 ที่หายเป็นปกตินั้น เนื้อสมองของผู้ที่เคยป่วยและหายเป็นปกติจะเกิดการสูญเสียเนื้อสมองสีเทา หรือ grey matter ทำให้เนื้อสมองหดตัวเล็กลงจากเดิม ซึ่งเกิดขึ้นในลักษณะเดียวกับสมองของผู้สูงอายุที่ไม่เคยป่วยด้วยโรคระบาดโควิด-19
.
บทความงานวิจัยฉบับนี้ ได้ระบุต่อไปว่า ภาวะการหดตัวของสมองในตัวผู้หายดีจากโรคระบาดโควิด-19 เกิดขึ้นในลักษณะที่ไม่แตกต่างกัน ระหว่างผู้ป่วยที่เคยมีอาการป่วยเพียงเล็กน้อยมาก่อน หรือเคยมีอาการรุนแรงถึงขั้นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ตามปกติแล้ว สมองของมนุษย์ทั่วไปจะหดตัวนั้น เกิดจากเมื่อมนุษย์มีอายุมากขึ้น เรื่อยๆ แต่โรคระบาดโควิด-19 อาจเป็นสาเหตุในการทำให้สมองของผู้ป่วยโรคโควิด-19 เปลี่ยนแปลง และหดตัวลงในอัตราที่มากกว่าคนทั่วไปที่ทีอายุเพิ่มมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติของวัยและร่างกาย ผลกระทบที่เห็นชัดเจน คือ ภาวะสมองหดตัวทำให้ผู้ที่เคยป่วยโรคระบาดโควิด-19 คิดวิเคราะห์ได้ช้าลง และแย่ลง เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มาก่อนเลย
.
นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยเทกซัสเอแอนด์เอ็ม สหรัฐอเมริกา กล่าวว่าความเสียหายของสมองที่ทำให้เกิดภาวะหดตัวนั้นจะเกิดขึ้นอย่างถาวรหรือไม่ ดังนั้น การศึกษาเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับโรคระบาดโควิด-19 จะส่งผลกระทบอย่างไรแน่ต่อกระบวนการสมองหดตัว จึงต้องทำการติดตามกันต่อไป สิ่งสำคัญ คือ โอกาสที่จะฟื้นฟูความเสียหายของสมองที่เกิดการหดตัวมากกว่าวัยอันควร ซึ่งอาจเป็นผลมาจากโรคระบาดโควิด-19 ให้กลับคืนมาเป็นปกติได้หรือไม่ คือความท้าทายอย่างมาก