ภูมิคุ้มกันต้องดี! ธปท.ย้ำบทบาท มุ่งทำเศรษฐกิจไทยโตอย่างยั่งยืน ถอนคันเร่งกลับสู่โหมดปกติ

188
0
Share:

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยธปท. ) กล่าวว่าบทบาท ธปท.ที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยโตอย่างยั่งยืน มี resiliency คือ ธปท.จะปรับเปลี่ยนโหมดการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ให้ออกจากโหมดโควิด ไปสู่การทำให้เศรษฐกิจโตอย่างมีเสถียรภาพ จึงทำให้นโยบายการเงินต่างๆของธปท.กลับเข้าสู่ภาวะปกติ อาทิ ปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามความเหมาะสม เงินเฟ้อกลับเข้ากรอบ เป็นต้น รวมถึงการปรับเกณฑ์นโยบายการเงินที่เคยยืดหยุ่นไว้ในช่วงโควิด ให้กลับสู่ภาวะปกติ เพราะถ้านโยบาบการเงินที่ผ่อนปรนเกินไปในเวลาที่เศรษฐกิจโลกที่มีความเสี่ยงรูปแบบใหม่นั้น มันเหมาะสม ก็เหมือนกับถนนที่ฝนตก ฟ้ามืด แต่รถก็ยังเหยียบคันเร่งเต็มที่ จึงเป็นที่มาสู่การที่ธปท.ถอนคันเร่ง กลับสู่ภาวะปกติให้มากที่สุด

ในส่วนของระบบธนาคารพาณิชย์ หนี้ครัวเรือนและเรื่องกันชน ความเสี่ยงจากต่างประเทศ อาทิ หนี้ครัวเรือนที่พยายามทำให้กลับมาสู่สมดุล ทำอย่างไรให้คนมีหนี้ปิดจบหนี้ได้ กลับมามีภูมิทางการเงิน นอกจากนี้ เรื่องของทางเลือก โอกาสใหม่ๆ ธปท.ได้ผลักดันการใช้เงินสกุลพื้นที่อื่นๆ อาทิ การใช้เงินเยน เงินหยวน เป็นอีกทางเลือกให้กับภาคธุรกิจ นอกไปจากการใช้สกุลดอลลาร์สหรัฐที่ปัจจุบันมีความผันผวน รวมไปถึงการสร้างระบบการชำระเงิน เช่นการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง เพื่อเสริมให้เป็นทางเลือกใหม่กับการชำระเงิน เป็นต้น

อย่างไรก็ตามยอมรับว่า ความกังวลของตลาดที่มากขึ้น อันดับแรก เห็นว่าพอร์ตไทยมีเงินไหลออก แม้เสถียรภาพต่างประเทศจะดี แต่ยอมรับว่า มีเงินไหลออก 8.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยไหลออกทั้งตลาดบอนด์และตลาดทุน และค่อนข้างสวนทางประเทศอื่นในภูมิภาคที่เงินไหลเข้า สะท้อนความกังวลตลาดของไทย รวมทั้งค่าเงินก็ผันผวนสูงเมื่อเทียบในอดีตที่ 8-9% นอกจากนี้ยังมีกังวลเรื่องของผู้เล่น ไม่ว่าจะเครดิตเรตติ้ง โดยจุดที่กังวล คือ วิกฤตการคลัง สอดคล้องกับไอเอ็มเอฟที่อยากให้ขาดดุลน้อยลง ใส่ใจในหนี้สาธารณะให้อยู่ในเกณฑ์ที่โอเค

ในการดูแลเศรษฐกิจ อันดับแรกชนต้องดี ที่จะช่วยในหลายเรื่อง และเรื่องพื้นฐานเลยคือ งบดุลภาครัฐและเอกชนต้องแข็งแรง สัดส่วนหนี้ต่อทุนไม่ควรสูง มีเงินสำรอง และเมื่อภาวะช็อกอะไรที่แปลกและใหม่ ไม่รู้ผลค้างเคียงเป็นอย่างไร ดังนั้นทางที่ดีคือมีกันชนเยอะๆ

ภูมิคุ้มกันอีกอย่างคือขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน (policy space) ภาครัฐเองต้องมีกระสุนที่เพียงพอในการดูแลเศรษฐกิจ และธนาคารกลางต้องมีความสามารถปรับดอกเบี้ยตามสถานการณ์ได้ และที่สำคัญเมื่อยิ่งต้องเจอความเสี่ยงที่คาดไม่ถึง ก็จำเป็นต้องสร้างทางเลือกใหม่ๆ เหมือนกับมีถนนหลัก ถนนรองด้วย ถ้าเกิดเหตุที่ทางหลักไปไม่ได้ ก็ยังมีทางเลือกอื่นที่จะไปต่อได้

ส่วนองค์ประกอบที่สาม คือการเติบโตในโอกาสใหม่ ซึ่งโอกาสใหม่ๆนั้น จะทำให้ภาคครัวเรือน หรือภาคธุรกิจ มีความหวังในโตได้ โดยโอกาสนี้ต้องเป็นสิ่งใหม่ๆจริงๆ เพราะถ้าโตแบบเดิมยิ่งนานวันก็ยิ่งลำบาก ซึ่งถ้าการเติบโตที่ผ่านมา มักใส่ใจเรื่องการเติบโตด้านตัวเลข แต่ไม่รู้ว่าการเติบโตไปที่ตรงไหน อยู่กับใคร ซึ่งถ้าผลประโยชน์อยู่ในวงแคบ ก็เหมือนกับโตในฐานแคบ โอกาสที่จะresilien ก็ลำบาก โดยดูตัวเลขกว่า 20 ปีที่ผ่านมา พบว่า รายได้ประชาชาติไม่หักเงินเฟ้อโต จากปี 2544 มาถึงปี 2564 เติบโตมากว่า 3 เท่า ฟังดูโอเค แต่เมื่อไล่ดูว่ารายที่เติบโตไปที่ไหน ก็พบว่า ภาพสะท้อนประโยชน์การเติบโตของเศรษฐกิจไม่ได้มีกระจายตัว