มีนายกรัฐมนตรีคนใหม่ก็แก้ยาก ไทยโตท้ายสุดในอาเซียน เหตุคนสูงวัยมีมาก หนี้ครัวเรือนสูง

350
0
Share:
มี นายกรัฐมนตรี คนใหม่ก็แก้ยาก ไทยโตท้ายสุดในอาเซียน เหตุคนสูงวัยมีมาก หนี้ครัวเรือน สูง

นายจู ยีลี นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารเมย์แบงก์ อินเวสเมนท์ แบงก์กิ้ง กรุ๊ป เปิดเผยว่า ขณะที่การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวไทยจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่ปรากฎว่า ประเทศไทยที่มีผู้สูงอายุจำนวนมาก และหนี้ครัวเรือนที่สูงมากต่อจีดีพี กดดันให้เศรษฐกิจประเทศไทยขยายตัวล่าช้าในภูมิภาคนี้ สิ่งต่างๆเหล่านี้จึงเป็นความท้าทายที่ไม่สามารถจะแก้ไขได้ง่าย ต่อให้จะมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่ก็ตาม

นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารเมย์แบงก์ อินเวสเมนท์ แบงก์กิ้ง กรุ๊ป เปิดเผยต่อไปว่า นายกรัฐมนตรีของไทย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้กลับมาทำงานในฐานะนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง กลับพบว่าความนิยมของนายกรัฐมนตรีลดลง สะท้อนถึงความรู้สึกของสาธารณะที่ผิดหวังเพิ่มขึ้น ท่ามกลางความพยายามที่ฟื้นเศรษฐกิจไทย ซึ่งได้รับผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19 และมีการขยายทางเศรษฐกิจที่ตามหลังประเทศในกลุ่มอาเซียน

บลูมเบิร์กเปิดเผยผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับมุมมองการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ 6 ประเทศใหญ่ในอาเซียน พบว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือจีดีพีปี 2565 นั้น ไทยอยู่ลำดับที่ 6 ซึ่งเป็นอันดับสุดท้ายด้วยตัวเลข 3.3% ขณะที่ เวียดนามขยายตัวสูงสุดเป็นอันดับ 1 ที่ 7.2% ตามด้วย มาเลเซีย 6.9% ฟิลิปปินส์ 6.8% อินโดนีเซีย 5.2% และสิงคโปร์ 3.6%

สำหรับความท้าทายทางเศรษฐกิจสำหรับรัฐบาลไทยชุดต่อไป ที่จะต้องเผชิญ มีดังนี้
ต้นทุนพุ่งสูงสะท้อนด้วยตัวเลขเงินเฟ้อ พบว่า การฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยเกิดความไม่สมดุลย์ โดยภาคส่งออกขยายตัวสูงและรวดเร็วท่ามกลางประชาชนที่มีรายได้ต่ำ และแรงงานในภาคการท่องเที่ยวต้องเจอกับภาวะเงินเฟ้อสูงเกิน 7%

ภาวะหนี้สะสมเพิ่มสูงขึ้น พบว่า ตัวเลขหนี้ครัวเรือนพุ่งสูงแตะระดับ 1.1 ล้านล้านบาท หรือ 29,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเกือบ 90% ของตัวเลขจีดีพีประเทศไทย และคิดเป็น 80% เทียบกับช่วงก่อนเกิดโรคระบาดโควิด-19 ถึงแม้ว่าตัวเลขหนี้ครัวเรือนไตรมาสที่ 2 จะลดลงเล็กน้อย แต่กล้บพบว่า ไทยยังคงมีหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีสูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน ทำให้กลายเป็นความลำบากมากขึ้นในการกระตุ้นเศรษฐกิจไทย

หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ เกียรตินาคิน นายพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย กล่าวว่า เศรษฐกิจขยายตัวต่ำ ภาวะเงินเฟ้อสูง ทั้งหมดกลายเป็นแรงกดดันไปเพิ่มหนี้ครัวเรือนไทย และความเหลื่อมล้ำสูงขึ้น ถ้าปัญหาเหล่านี้ ไม่ได้รับการแก้ไข อาจนำไปสู่ความไม่สงบทางการเมือง และเศรษฐกิจ

ภาวะขาดุลเป็นประวัติการณ์ของไทย พบว่า ประเทศไทยเผชิญภาวะการขาดดุลการค้าโดยรวมสูงถึง 417,939.1 ล้านบาท ถือเป็นการขาดดุลการค้าสูงสุดในรอบ 27 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 2539 ซึ่งไทยเคยมีสถิติขาดดุลการค้า 420,715 ล้านบาท

การขาดดุลการค้าในรอบนี้มีปัจจัยมาจากค่าบาทอ่อนค่าลงอย่างมากในรอบ 16 ปี บวกกับการที่ประเทศไทยจำเป็นต้องนำเข้าสินค้ากลุ่มเชื้อเพลิง ที่มีสัดส่วนถึง 20.7% ของการนำเข้าทั้งหมด ส่งผลให้ยอดนำเข้าเพิ่มขึ้น 89% มูลค่า 37,845 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.32 ล้านล้านบาท