มีหลายโพล! โฆษกรัฐบาลโชว์ผลสำรวจ Super Poll ประชาชนส่วนใหญ่ เชื่อมั่น รอคอย เงินดิจิทัล

138
0
Share:

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึง ผลการศึกษาของสำนักวิจัย Super Poll ซึ่งศึกษาเรื่อง เงินดิจิทัล ที่ประชาชนเชื่อมั่นและรอคอย โดยเป็นการสุ่มตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวนทั้งสิ้น 1,120 ราย ระหว่างวันที่ 1-3 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา พบว่า ในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยคือรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทมีความเชื่อมั่นร้อยละ 71.3 และกลุ่มผู้มีรายได้ระหว่าง 15,000-35,000 บาทต่อเดือน มีความเชื่อมั่นร้อยละ 71.6 ในขณะที่กลุ่มรายได้เกิน 35,000 บาทขึ้นไป มีความเชื่อมั่นร้อยละ 57.5 ว่าการแจกเงินดิจิทัลจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ

เมื่อแบ่งออกตามภูมิภาคของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง พบว่าในกลุ่มคนในภาคเหนือ มีความเชื่อมั่นสูงสุด คือร้อยละ 75.4 รองลงมา กลุ่มคนในภาคกลางมีความเชื่อมั่นร้อยละ 74.2 กลุ่มคนในภาคอีสาน มีความเชื่อมั่นร้อยละ 73.6 กลุ่มคนกรุงเทพมหานครมีความเชื่อมั่นร้อยละ 68.7 และกลุ่มคนในภาคใต้มีความเชื่อมั่นร้อยละ 65.8 ตามลำดับ

ทั้งนี้ เมื่อแบ่งกรณีศึกษาตามอายุ กลุ่มคนรุ่นใหม่ ทั้งกลุ่มคนอายุน้อยคือต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 54.1 และกลุ่มคนอายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 47.2 กลุ่มคนอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 42.5 กลุ่มคนอายุ 40-49 ปี ร้อยละ 31.7 และกลุ่มคน อายุ 50-59 ปี ร้อยละ 26.7 ระบุว่า ควรเดินหน้านโยบายแจกเงินดิจิทัลต่อ

รัฐบาลรับฟังทุกความคิดเห็น และเข้าใจดีถึงระดับความวิกฤตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับประชาชน โดยรัฐบาลพร้อมเดินหน้าตามนโยบายที่เชื่อมั่นว่าจะเกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศและประชาชนไทยนายชัยกล่าว

ด้านน..ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ ..บัญชีรายชื่อ และรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงผลสำรวจ Leadership Poll มหาวิทยาลัยรังสิตในประเด็นความคิดเห็นต่อนโยบายเงินหมื่นดิจิทัลของรัฐบาล โดย 62.20% ไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าวและเห็นควรให้ระงับการดำเนินการว่า การสำรวจครั้งนี้มีการเก็บข้อมูลทั้งสิ้นเพียง 543 ตัวอย่าง ด้วยวิธีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใน 4 กลุ่ม คือ1.ผู้นำภาคธุรกิจ: ตัวแทนนักธุรกิจที่ประกอบธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ 2.ภาคประชาสังคม:ตัวแทนภาคประชาสังคม NGO และมูลนิธิต่างๆ ในประเทศไทย 3 ภาคการเมือง:นักการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่น นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี นายกและรองนายก อบจ.นายกและรองนายก อบต.ในทุกภูมิภาคของประเทศ 4.ภาคการศึกษา:นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัยผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี รองคณบดี ในมหาวิทยาลัยรัฐ และมหาวิทยาลัยเอกชน

กลุ่มเป้าหมายของโพลข้างต้น ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายเดียวกันกับประชาชนที่เป็นเป้าหมายหลักของโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet และเป็นเป้าหมายสำคัญจากฐานราก ที่รัฐบาลเพื่อไทยให้คำมั่นสัญญาจะเสริมสร้างรากฐานที่แข็งแรง และกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระบบ