ยักษ์จัดเรตติ้งลงทุนเตือนอาจลดเรตติ้งสหรัฐ ถึงแม้จะผ่านกฎหมายขยายเพดานหนี้สหรัฐ

244
0
Share:
ฟิทช์ ยักษ์จัดเรตติ้งลงทุนเตือนอาจลด เรตติ้ง สหรัฐ ถึงแม้จะผ่านกฎหมายขยายเพดานหนี้สหรัฐ

ฟิทช์ เรตติ้ง (Fitch Ratings) บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือการลงทุนชื่อดังระดับโลกจากสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า ยังคงติดตามสถานการณ์การเมืองในสหรัฐอเมริกาที่ถึงแม้ว่าวุฒิสมาชิกสหรัฐจะลงมติผ่านร่างกฎหมายขยายเพดานหนี้สาธารณะไปแล้ว และจะมีการลงนามโดยประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกานายโจ ไบเดน ในวันเสาร์นี้ ฟิทช์ เรตติ้ง ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงมุมมองเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาในระดับลบ ซึ่งถูกปรับลดลงเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งจะตัดสินใจต่อการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือในการลงทุน หรือเรตติ้งหรือไม่ภายในสิ้นเดือนกันยายนนี้

สาเหตุจากสถานการณ์การเมืองที่ตรึงเครียดอย่างมากในก่อนหน้านี้ และความพยายามที่จะเจรจาให้ลงตัวก่อนถึงวันดำหนดเส้นตายได้เพียงไม่นาน สะท้อนให้เห็นถึงการลดทอนความเชื่อมั่นที่มีต่อการบริหารจัดการปัญหางบประมาณรัฐบาล และปัญหาหนี้สาธารณะ

ฟิทช์ เรตติ้ง เปิดเผยต่อไปว่า โดยเฉพาะปัญหาการบริหารจัดการของรัฐบาลสหรัฐอเมริกามีความย่ำแย่ลงในช่วง 15 ปีผ่านมา สะท้อนจากสถานการณ์การเมืองในสหรัฐอเมริกาแตกเป็น 2 ขั้วอย่างรุนแรงมากกว่าในอดีตผ่านมา นอกจากนี้การเมืองสหรัฐอเมริกาเข้าสู่ภาวะเล่นพรรคเล่นพวกมากกว่าในอดีตผ่านมา

ยัอนกลับไปเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคมที่ผ่านมา ฟิทช์ เรตติ้ง ปรับลดระดับมุมมองภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจากระดับมีเสถียรภาพมา (Stable) เป็นด้านลบ (Negative) สาเหตุจากสหรัฐอเมริกามีความเสี่ยงด้านความขัดแย้งการเมืองสูงขึ้น ซึ่งกำลังเป็นอุปสรรคต่อการพิจารณาทางแก้ไขการขยายเพดานหนี้สาธารณะรัฐบาลสหรัฐอเมริกาท่ามกลางระยะเวลากำหนดการชำระคืนหนี้ใกล้เข้ามาอย่างรวดเร็ว ซึ่งสะท้อนถึงภาวะรัฐบาลสหรัฐอเมริกามีเงินงบประมาณเหลือใช้ไม่เพียงพอ

ฟิทช์ เรตติ้งส์ เชื่อในปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งเพดานหนี้สาธารณะอาจจะไม่ได้รับการแก้ไขให้ขยาย หรือยกเลิกเพดานหนี้เพิ่มขึ้นก่อนถึงวันเส้นตาย ดังนั้น รัฐบาลสหรัฐอเมริกาจะเริ่มเผชิญกับการผิดนัดชำระหนี้กับเจ้าหนี้ทั้งในและต่างประเทศ

เมื่อสถานการณ์ดังกล่าวมาถึง ฟิทช์ เรตติ้งส์ จะต้องปรับลดอันดับหรือเรตติ้งการลงทุนทั้งตราสาร และสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาจากในปัจจุบันมีเรตติ้งการลงทุนที่ระดับ AAA หรือทริปเปิลเอ ซึ่งเป็นระดับการลงทุนที่สูง

ก่อนหน้านี้ นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำในสหรัฐอเมริกาล้วนคาดการณ์ว่า ถ้าหากทั้ง 2 พรรคการเมืองไม่สามารถตกลงกันได้ก่อนถึงวันที่ 1 มิถุนายนนี้ ภาวะไม่สามารถชำระหนี้ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาจะส่งผลให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างชัดเจนและรวดเร็วกว่าที่คาดไว้ รวมถึงส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อตลาดเงินและตลาดทุนทั้งในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก โดยเฉพาะที่เป็นเจ้าหนี้ถือครองการลงทุนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา

ขณะที่หากสถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น จะเกิดภาวะตลาดเงินตึงตัวสูงขึ้น กดดันแนวโน้มดอกเบี้ยระยะสั้นเพิ่มสูงมากขึ้น ทำให้ต้นทุนการดำเนินธุรกิจของเอกชนสูงขึ้นอย่างมาก ซึ่งจะกระทบต่อภาวะการจ้างงานชาวอเมริกันในสหรัฐอเมริกาอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้