ศูนย์วิจัยเกียรตินาคินเปิดสภาวะแท้จริง 11 มุมระบบการศึกษาในประเทศไทย ครูนี้แบกหนี้

147
0
Share:
ศูนย์วิจัย เกียรตินาคิน เปิดสภาวะแท้จริง 11 มุมระบบ การศึกษา ในประเทศไทย ครูนี้แบกหนี้

ศูนย์วิจัย KKP Research โดยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร เปิดเผยรายงานวิจัยด้านการศึกษาของประเทศไทยในหัวข้อ ทำไมคุณภาพการศึกษาไทยแย่ลงทุกปี? โดยเฉพาะบทสรุป 10 ความจริงสนุกเกี่ยวกับระบบการศึกษาไทย หรือ Fun Fact of Thai Education System มีดังนี้

1. งบไม่ใช่ปัญหา งบการศึกษาของไทยสูงใกล้เคียงประเทศพัฒนาแล้ว โดยมีงบอุดหนุนต่อนักเรียน 1 คนที่ระดับประมาณ 20% ของรายได้เฉลี่ยประเทศ

2. เงินเดือนครูไม่จูงใจ แม้เงินเดือนครูไทยใกล้เคียงหรือมากกว่าค่าเฉลี่ยรายได้ของประเทศ แต่ปัญหาที่สำคัญกว่าอยู่ที่การขึ้นเงินเดือนที่ช้า และไม่ยึดโยงกับความสามารถและคุณภาพการสอน

3. ขนาดห้องใหญ่เกินไป ขนาดห้องเรียนไทยมีนักเรียนประมาณ 37 คนต่อห้องมากที่สุด เป็นลำดับต้นๆ เทียบกับประเทศในกลุ่ม OECD ที่ 24 คนส่งผลต่อคุณภาพการเรียนรู้

4. เรียนเยอะแต่คุณภาพแย่ นักเรียนไทยใช้เวลากับการเรียนในห้องเรียนและหลังเลิกเรียนสูงถึง 70% ของเวลาทั้งหมดเทียบกับกลุ่มประเทศ OECD ที่ 55% แต่คุณภาพกลับยังต่ำกว่ามาก

5. คุณภาพลดลงต่อเนื่อง คะแนน PISA ปรับตัวลดลงในทุกหมวดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

6. เหลื่อมล้ำสูง คะแนน ONET กรุงเทพ ฯ สูงกว่าค่าเฉลี่ยประเทศประมาณ 23% ในหมวดคณิตศาสตร์ และ 40% ในหมวดภาษาอังกฤษ โรงเรียนใหญ่ในเมืองคุณภาพสูงกว่ามาก

7. ครูไทยขาดแคลน ครูไทยขาดแคลนกว่า 30,000 คนในโรงเรียนขนาดเล็ก จากการจัดสรรครูที่ขาดประสิทธิภาพทำให้ครูมีภาระหนักเกินความจำเป็นครู 1 คนต้องรับภาระสอนมากกว่า 1 ห้องเรียนในโรงเรียนเล็ก

8. จำนวนนักเรียนน้อยลง โรงเรียนขนาดเล็กกำลังเพิ่มขึ้นกลุ่มคนอายุต่ำกว่า 19 ปีจะมีจำนวนลดลง 1.7 ล้านคนในช่วง 2022-2023

9. ขาดแคลนครูคณิตและวิทย์ ไทยขาดแคลนครูคุณภาพในกลุ่มวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ครูไทย 1 คนดูแลนักเรียนเฉลี่ย 20 คน แต่ครูคณิตศาสตร์ 1 คนต้องดูแลนักเรียนถึง 289 คน สูงกว่าประเทศในกลุ่ม OECD ที่ 106 คน

10. จบไม่ตรงความต้องการ นักเรียนจบปริญญาตรีมากเกินไป เกินกว่าความต้องการของตลาด หรือมีคนประมาณ 34% ที่ทำงานต่ำกว่าความระดับการศึกษาที่เรียนมา

11. ครูไทยเป็นหนี้สูง หนี้ของครูเฉลี่ยอยู่ประมาณ 1.5 ล้านบาทต่อคน สูงกว่าหนี้ครัวเรือนโดยเฉลี่ยที่ 500,000 ล้านบาทต่อคนสำหรับคนที่มีหนี้