ห้ามซ้ำนะ! รัฐบาลไทยให้เอกชนนำเข้าวัคซีนได้ แต่อย่าซ้ำกับที่รัฐบาลสั่งซื้อ

519
0
Share:

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยผลการประชุมคณะทำงานพิจารณาการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งมี ศ.คลินิกเกียรติคุณ น.พ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร เป็นประธานคณะทำงาน โดยมีประเด็นน่าสนใจที่ คณะทำงานชุดดังกล่าวมีข้อสรุปว่า การจัดหาวัคซีนป้องกันโรคระบาดโควิด-19 เพิ่มเติมสำหรับภาครัฐ ได้แก่ ไฟเซอร์ สปุตนิก วี และ จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน นั้น ขณะที่การจัดหาวัคซีนป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ของสถานพยาบาลเอกชน คณะทำงานมีความเห็นว่าควรเป็นวัคซีนป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ในยี่ห้ออื่นๆ ที่ไม่ได้จัดหา นำเข้า หรือให้บริการโดยภาครัฐรวมถึงสถานพยาบาลของรัฐ เพื่อวัตถุประสงค์การเป็นวัคซีนทางเลือกอย่างแท้จริง ที่สำคัญ เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกับวัคซีนป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ของภาครัฐ เช่น โมเดอร์นา และซิโนฟาร์ม หรือวัคซีนป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ยี่ห้ออื่นๆ ที่จะมีการขึ้นทะเบียนในอนาคต โดยขอให้มีการควบคุมราคาการให้บริการในการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทางเลือกให้กับประชาชนในสถานพยาบาลเอกชนให้สมเหตุสมผล และมีราคาที่เหมาะสม ซึ่งที่ประชุมคณะทำงานได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ช่วยผลักดันให้มีบริษัทผลิตและจัดจำหน่ายวัคซีนเข้ามาขึ้นทะเบียนในประเทศไทยให้เพิ่มมากขึ้น

.

สำหรับการจัดหาวัคซีนในสถานพยาบาลเอกชนนั้น องค์การเภสัชกรรม (อภ.) จะเป็นผู้บริหารจัดการและประสานกับบริษัทผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายวัคซีน โดยจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าไม่ปลอดภัย และสถานพยาบาลเอกชน ภาคเอกชน ที่มีความต้องการจะนำเข้าวัคซีนป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ทางเลือก จะเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะต้องชำระเงินจองวัคซีนป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ทางเลือกล่วงหน้าให้แก่ อภ. เต็มจำนวนมูลค่าการสั่งซื้อ (100%)

.

นอกจากนี้ สถานพยาบาลเอกชน ภาคเอกชน ต้องจัดทำประกันสำหรับกรณีผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีนทางเลือกให้กับประชาชน สำหรับภาคเอกชนที่มีความต้องการจะขอนุญาตนำเข้าวัคซีนทางเลือกนั้น สามารถดำเนินการแต่งตั้งตัวแทนจากบริษัทวัคซีนต้นทาง และยื่นหนังสือต่อองค์การเภสัชกรรม