อินเดียยืนหนึ่ง เวียดนามขึ้นเบอร์ 2 อุตสาหกรรมญี่ปุ่นชี้น่าไปลงทุนพัฒนามากที่สุด

372
0
Share:
อินเดียยืนหนึ่ง เวียดนามขึ้นเบอร์ 2 อุตสาหกรรม ญี่ปุ่น ชี้น่าไป ลงทุน พัฒนา มากที่สุด

ธนาคารญี่ปุ่นเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ หรือ Japan Bank for International Cooperation หรือ JBIC เปิดเผยผลสำรวจเกี่ยวกับประเทศหรือเขตเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มการลงทุนเพื่อการพัฒนา โดยทำการสำรวจในภาคอุตสาหกรรมทุกขนาดในประเทศญี่ปุ่น จำนวน 534 บริษัท เช่น อุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ เป็นต้น พบว่า ประเทศอินเดียครองอันดับ 1 เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน ที่น่าสนใจ คือ ประเทศเวียดนามขึ้นมาอยู่อันดับที่ 2 ในขณะที่ประเทศจีนแผ่นดินใหญ่หลุดใน 2 อันดับแรก โดยหล่นมาอยู่อันดับ 3 เป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี หรือตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา ที่สำคัญ ประเทศไทยไม่ติดใน 3 อันดับแรกของการสำรวจในครั้งนี้

นายชินิจิ อิทากากิ ผู้อำนวยการ สายงานวิจัยเชิงกลยุทธ์ ธนาคาร JBIC เปิดเผยว่า บริษัทในภาคอุตสาหกรรมราว 48.6% ให้ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีแนวโน้มไปลงทุนเพื่อการพัฒนามากที่สุดเป็นอันดับ 1 เนื่องจากศักยภาพของตลาดในประเทศอินเดียที่มีขนาดใหญ่ และโอกาสเติบโตชัดเจน นอกจากนี้ ความตกต่ำของบรรยกาศ หรือปัจจัยแวดล้อมด้านการลงทุนในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่นกลับไปให้น้ำหนักกับประเทศอินเดีย และการเติบโตของจำนวนประชากรรวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเอเชียใต้

ผลสำรวจดังกล่าว พบว่ามีเพียง 28.4% ที่ให้ประเทศจีนแผ่นดินเป็นประเทศที่มีแนวโน้มไปลงทุนเพื่อการพัฒนา อย่างไรก็ตาม สัดส่วนดังกล่าวกลับเป็นตัวเลขที่ทำสถิติต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ หรือตั้งแต่เริ่มมีการสำรวจเป็นต้นมาในปี 2015 หรือเมื่อ 8 ปีผ่านมา สาเหตุจากความสัมพันธุ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศของจีนแผ่นดินใหญ่ และสหรัฐอเมริกามีความตรึงเครียดและไม่แน่นอนต่อเนื่อง สภาพเศรษฐกิจจีนแผ่นดินใหญ่ที่ซบเซาต่อเนื่อง และรัฐบาลจีนแผ่นดินเพิ่มความเข้มงวดในกฎหมายการต่อต้านโจรกรรม ทำให้มีการบุกตรวจสอบ และล้างบริษัทต่างชาติทั้งที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ สร้างความเสียหายด้านแผนการผลิตสินค้าและบริการ

ผู้อำนวยการ สายงานวิจัยเชิงกลยุทธ์ ธนาคาร JBIC เปิดเผยต่อไปว่า มี 30.1% ให้ประเทศเวียดนามเป็นประเทศที่มีแนวโน้มไปลงทุนเพื่อการพัฒนา ส่งผลให้เวียดนามเพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 4 ในปีผ่านมาขึ้นมาอยู่อันดับ 2 ในปีนี้ ที่สำคัญแซงจีนแผ่นดินใหญ่ตกมาอยู่อันดับ 3 ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปีที่จีนแผ่นดินใหญ่ไม่เคยหลุดจากอันดับ 2 สาเหตุที่ภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่นจัดให้เวียดนามขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ครั้งแรกนับตั้งแต่ทำการสำรวจเป็นต้นมานั้น เนื่องจากค่าแรงมีราคาถูก ถึงแม้ว่าระดับฐานเงินเดือนในประเทศเวียดนามจะมีการปรับขึ้นรายปีต่อเนื่อง แต่บริษัทญี่ปุ่นกลับมองว่าไม่เป็นปัญหาด้านต้นทุนค่าใช้จ่ายแรงงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ความต้องการบริโภคภายในประเทศเวียดนามมีศักยภาพเติบโตในอนาคตชัดเจน สำหรับประเทศไทยไม่ติดใน 3 อันดับแรกของผลสำรวจในครั้งนี้

ทั้งนี้ ในปัจจุบันสัดส่วนของบริษัทญี่ปุ่นที่มีแผนการเข้าไปลงทุนในประเทศเวียดนาม ยังคงมีน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับอินเดียและจีนแผ่นดินใหญ่ เนื่องจาก บริษัทญี่ปุ่นมองการเคลื่อนย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเวียดนามเกิดจากปัญหาเฉพาะหน้า และระยะสั้นของรัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่