เศรษฐกิจแบบนี้ คนเจนซียอมอยู่บ้านพ่อแม่ ประหยัดได้เยอะถึง 30% แต่แลกกลับสุขภาพจิต

215
0
Share:
เศรษฐกิจแบบนี้ คน เจนซี ยอมอยู่บ้านพ่อแม่ ประหยัดได้เยอะถึง 30% แต่แลกกลับสุขภาพจิต

แม็คคินซี (Mckinsey) ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาชื่อดังระดับโลก เปิดเผยว่าวัยรุ่นชาวอเมริกันเจนซี(Z)ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีอายุต่ำกว่า 25 ปี มีภาระค่าใช้จ่ายที่อยู่อาศัยในสัดส่วนสูงถึง 37.3% ของรายได้ทั้งหมด ภาวะดังกล่าวสอดรับกับค่าเช่าที่พักอาศัยเฉลี่ยในเมืองของสหรัฐอเมริกาเมื่อช่วงฤดูร้อนของปี 2023 ผ่านไป พบว่า ค่าเช่าที่พักอาศัยในเมืองเพิ่มขึ้นสูง 17.8% และค่าเช่าชานเมืองเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 25.8%

ไม่เพียงเท่านั้น ราคาบ้านโดยเฉลี่ยปรับราคาเพิ่มขึ้นสูงขึ้น 27.7% ภายในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ทำให้มีราคาเฉลี่ยหลังละ 431,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 15.52 ล้านบาท ดังนั้น ราคาบ้าน ค่าเช่าบ้าน และสัดส่วนรายจ่ายค่าที่อยู่ที่สูงมาก ได้กลายเป็นภาระที่ยากมากขึ้นสำหรับคนอเมริกันกลุ่มเจนซี(Z) ที่อยากจะเป็นเจ้าของบ้านของตัวเอง ส่งผลให้วัยรุ่นหนุ่มสาวเจนซี(Z) ในสหรัฐอเมริกาต้องกลับมาอยู่ที่บ้านของพ่อแม่เพิ่มสูงเป็น 87% ในช่วง 2 ทศวรรษผ่านมา

เช่นเดียวกันกับกลุ่มคนวัยรุ่นเจนซี(Z)ในสหราชอาณาจักร หรือยูเค ที่เผชิญภาวะค่าใช้จ่ายการมีบ้านเป็นของตัวเองแพงขึ้นมาก ทำให้คนวัยรุ่นเหล่านี้ตัดสินใจที่จะย้ายกลับมาอยู่กับพ่อแม่ของตน จากข้อมูลพบว่า มีจำนวนมากถึง 620,000 คน ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา

แม้การอยู่บ้านเดียวกันกับพ่อแม่ จะเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายส่วนตัวไปได้มาก แต่กลับมีรายงานว่าวัยรุ่นที่ตัดสินใจอยู่บ้านเดียวกับพ่อแม่นั้น ต้องเผชิญภาวะทางอารมณ์ต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของคนวัยรุ่นหนุ่มสาวในระยะยาว หนึ่งในนั้น ได้แก่ นางสาวซาราห์ โอบิวเทอร์ มีอายุ 20 ปี กล่าวว่าการกลับมาอยู่กับครอบครัวทำให้เธอไม่สามารถทําทุกสิ่งที่อยากทําได้อย่างที่คิดถึงแม้ว่าคุณจะโตขึ้นแล้วก็ตาม พ่อและแม่ยังคงมึมุมมองว่าตัวเธอเป็นเด็กอยู่เสมอ

นางสาสเอมี ลิวท์เวต มีอายุ 24 ปี กล่าวว่า เมื่อกลับมาอยู่กับพ่อแม่ เธอรู้สึกไม่มีอิสระที่จะทำอะไรหลายอย่าง เช่นการจัดปาร์ตี้กับเพื่อนๆ แต่เธอยอมรับว่าการอยู่กับครอบครัวช่วยให้เธอประหยัดเงินมากถึง 30% ของเงินเดือนที่เธอได้รับ การย้ายออกไปอยู่เอง ทำให้เธอไม่มีเงินเก็บสะสมมากพอ ที่สำคัญ ไม่พร้อมที่จะหมดเงินราว 1 ใน 3 ไปกับค่าเช่าบ้าน

รายงานการศึกษาสภาวะทางจิตใจในปี 2017 พบว่า วัยรุ่นที่ย้ายกลับไปอยู่กับพ่อแม่หลังจากเรียนจบระดับมหาวิทยาลัยแล้ว มีอาการซึมเศร้าสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สอดรับกับรายงานในปี 2022 พบว่า การเลือกอยู่กับพ่อแม่เกิดความตึงเครียดในครอบครัวได้อย่างมีนัยสำคัญ

ด้านนักวิชาการมีชื่อว่า นายประภาส เอดิริสิงห์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านวัฒนธรรมผู้บริโภค และการตลาด มหาวิทยาลัยนอร์ทธัมเบีย กล่าวว่า เมื่อวัยรุ่นอยู่บ้านพ่อแม่ ปัญหาที่เด็กวัยรุ่นมอง คือการถูกละเมิดขอบเขต และพื้นที่ส่วนตัว จึงเป็นสาเหตุให้คนหนุ่มสาวหลายคนที่ต้องอาศัยอยู่บ้านพ่อแม่รู้สึกเหมือนเป็นความพ่ายแพ้ที่ไม่สามารถออกไปเติบโตนอกครอบครัวของพ่อแม่