ช่วง 10 ปี ชาวนาไทยยังจนสุดในอาเซียน 10 ปียังมีรายได้ต่ำ เป็นหนี้ มีต้นทุนสูง

313
0
Share:
ช่วง 10 ปี ชาวนาไทย ยังจนสุดในอาเซียน 10 ปียังมีรายได้ต่ำ เป็นหนี้ มีต้นทุนสูง

นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงบทวิเคราะห์ 10 ปี ชาวนาไทย : จนเพิ่ม หนี้ท่วม ว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาผลผลิตข้าวไทยต่อไร่ลดต่ำลง โดยไทยต่ำกว่าเวียดนาม 3 เท่า ไทยเฉลี่ย 450 กก.ต่อไร่ เวียดนามมากกว่า 1,000 กก. หรือมากกว่า 1 ตันต่อไร่ ขณะที่รายได้และเงินคงเหลือของไทยน้อยกว่าคู่แข่ง ซึ่งเป็นผลมาจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ในปี 2565 มีต้นทุนการผลิต 5,898.5 บาท/ไร่ เพิ่มขึ้น 2,058.8 บาท/ไร่ จากปี 2555 ประเทศไทยมีต้นทุนรองจากอินเดีย ส่งผลให้ชาวนาไทยยังคงมีรายได้น้อยและภาระหนี้สินที่สูงขึ้น

และยังพบว่าชาวนาไทยมีอาชีพทำนา แต่ส่วนใหญ่ไม่ใช่ชาวนามืออาชีพ มีรายได้ชาวนาไทยก็ปลดหนี้ซึ่งหากมีภาระหนี้เพิ่ม การขายที่นาจึงเป็นทางออก ทำให้ชาวนาขาดทุนสะสมจากการทำนามากขึ้น และไม่มีที่นาเป็นของตัวเอง ต้องเช่าที่นาตเพื่อทำการเกษตรต่อ นโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมาไม่สามารถปลดหนี้ให้กับชาวนาได้ แหล่งน้ำไม่พร้อม และปัญหาโลกร้อน เงินวิจัยน้อย ไทยใส่เงิน 200 ล้านบาทในการวิจัยซึ่งยังไม่เพียงพอ

ดังนั้น ทางออกในการดูแลชาวนาหรืออุตสาหกรรมข้าวไทยนโยบายแทรกแซง ทั้งโครงการจำนำข้าว โครงการประกันรายได้ ยังไม่ใช่ทางออกในการช่วยเหลือ เพราะเห็นจากหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา เงินในกระเป๋าของชาวนาไทยไม่เหลือแต่ตรงกันข้ามทำให้ชาวนามีรายได้ลดลงต่อเนื่อง และติดลบ จึงต้องการให้รัฐบาลใหม่ต้องเข้ามาแก้ปัญหาชาวนาให้ตรงจุด และติดตามประเทศคู่แข่งว่ามีการพัฒนาอุตสาหกรรมข้าวและทำให้ชาวนามีรายได้เพิ่มได้อย่างไร

นอกจากนี้ ยังพบว่า การส่งออกข้าวของโลกพบว่า ประเทศผู้ส่งออกข้าวมากที่สุดของโลกในปี 2565 คือ อินเดีย ไทย และเวียดนาม ตามลำดับ ประเทศคู่ค้าข้าวที่สำคัญของอินเดีย คือ บังกลาเทศ ซาอุดีอาระเบีย และอิหร่าน ส่วนประเทศคู่ค้าข้าวที่สำคัญของไทยในปี 2565 คือ อิรัก สหรัฐ แอฟริกาใต้ และจีน ขณะที่เวียดนาม มีคู่ค้าที่สำคัญ คือ ฟิลิปปินส์ กานา และจีน

ส่วนประเทศอาเซียนที่ส่งออกข้าวไปโลกมากที่สุดในปี 2565 ได้แก่ ไทย เวียดนาม กัมพูชา และเมียนมา โดยส่งออกเป็นมูลค่า 3,548 ล้านเหรียญสหรัฐ 2,186 ล้านเหรียญสหรัฐ 406 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 394 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ ทั้งนี้ ประเทศจีนเป็นประเทศคู่ค้าข้าวที่สำคัญทั้งกับไทยและเวียดนาม รวมไปถึงเมียนมาและกัมพูชาด้วย เปรียบเทียบชาวนาไทยกับอินเดีย เวียดนาม และเมียนมา ในช่วง 10 ปี (ปี 2555-2565) พบว่า ผลผลิตข้าวไทยลดลง รายได้และเงินคงเหลือของไทยน้อยกว่าคู่แข่ง และต้นทุนการผลิตของไทยเพิ่มขึ้นรองจากอินเดีย

ซึ่งจากบทเรียนที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นว่าการแทรกแซงตลาดข้าวไม่ใช่ทางออกของการพัฒนาข้าว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการประกันรายได้ข้าว การประกันราคาข้าว หรือการจำนำข้าว 10 ปีที่ผ่านมา ย้ำชัดเจนว่า นโยบายการแทรกแซงตลาดไม่ได้ช่วยเพิ่มเงินในกระเป๋าชาวนา แต่ชาวนากลับมีรายได้ลดลง และติดลบ ซึ่งจะการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าชาวนาไทย จนที่สุดในเอเชีย และกลุ่มประเทศอาเซียน