ไปไม่รอด! ครึ่งปีแรกธุรกิจคนไทยเจ๊งพุ่งกว่า 6,000 แห่ง

357
0
Share:

นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยถึงการจดทะเบียนธุรกิจของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าว่าการจดทะเบียนเลิกธุรกิจครึ่งปีแรก (ม.ค.–มิ.ย.65) มีการจดทะเบียนเลิกธุรกิจจำนวน 6,009 ราย เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 1,079 ราย สาเหตุจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 กระจายเป็นวงกว้าง และมีการจำกัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เข้มงวด

จึงเป็นสถานการณ์ที่ไม่ได้อยู่ในสภาวะปกติ อันส่งผลให้การเลิกธุรกิจในปี 2564 มีการชะลอตัวลงดูสถานการณ์ของประเทศ และต้นทุนการผลผลิตที่สูงขึ้นทั้ง น้ำมันเชื้อเพลิง ค่ากระแสไฟฟ้า และก๊าซหุงต้ม ซึ่งเป็นปัจจัยลบที่ส่งผลต่อดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค

ทั้งนี้ในช่วงครึ่งปีหลัง (ก.ค.–ธ.ค.) ดังนั้น กรมคาดการณ์แนวโน้มการจดทะเบียนตลอดทั้งปี 2565 อยู่ที่ประมาณ 70,000–75,000 ราย และแนวโน้มการจดทะเบียนเลิกตลอดทั้งปี 2565 อยู่ที่ประมาณ 20,000–25,000 ราย ซึ่งใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา

สำหรับธุรกิจเลิกประกอบกิจการเดือนมิถุนายน 2565มีจำนวน 1,463 ราย โดยมีมูลค่า ทุนจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการจำนวน 5,168 ล้านบาท ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 133 ราย คิดเป็น 9% รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 71 ราย คิดเป็น 5% และธุรกิจการขนส่งและขนถ่ายสินค้ารวมถึงคนโดยสารจำนวน 39 ราย คิดเป็น 3% ตามลำดับ

ธุรกิจเลิกประกอบกิจการแบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั่วประเทศ มากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 1,051 ราย คิดเป็น 71.84% รองลงมาช่วงทุนมากกว่า 1–5 ล้านบาท จำนวน 351 ราย คิดเป็น 23.99% ลำดับถัดไป คือ ช่วงทุนมากกว่า 5–100 ล้านบาท จำนวน 55 ราย คิดเป็น 3.76% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 6 ราย คิดเป็น 0.41% ตามลำดับ

ส่วน ธุรกิจเลิกประกอบกิจการครึ่งปีแรก 2565 มีจำนวน 6,009 ราย โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการจำนวน 58,511.95 ล้านบาท ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 610 ราย คิดเป็น 10% รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 283 ราย คิดเป็น 5% และธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 175 ราย คิดเป็น 3%

ธุรกิจเลิกประกอบกิจการแบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 4,308 ราย คิดเป็น 71.69% รองลงมาช่วงทุนมากกว่า 1–5 ล้านบาท จำนวน 1,429 ราย คิดเป็น 23.78% ลำดับถัดไป คือ ช่วงทุนมากกว่า 5–100 ล้านบาท จำนวน 227 ราย คิดเป็น 3.78% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 45 ราย คิดเป็น 0.75%