YOUNG@HEART SHOW : โรคมะเร็งไทรอยด์คืออะไร

Share:

                ช่วงที่ผ่านมาเราได้ยินเรื่องราวของนักแสดงท่านหนึ่งที่ป่วยเป็นมะเร็งไทรอยด์ ซึ่งทำให้หลายคนเริ่มสงสัยว่ามะเร็งนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร  และไทรอยด์อยู่ส่วนไหนของร่างกายของเราเคยได้ยินชื่อบ่อย ๆ แต่ไม่เคยเห็น วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกันค่ะ

               ไทรอยด์ คือต่อมที่อยู่บริเวณกลางลำคอของเราที่มีลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อขนาดประมาณ 2 นิ้วจะขยับและเคลื่อนไหวเวลาที่เรากลืนน้ำลาย โดยต่อมไทรอยด์จะทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยเสริมสร้างการเผาผลาญของร่างกาย การทำงานของหัวใจ ระบบฮอร์โมน รอบประจำเดือน และระบบทางเดินอาหาร ซึ่งถ้าใครที่มีฮอร์โมนไทรอยด์เยอะก็จะมีลักษณะร่างกายที่ผอม ส่วนใครที่มีฮอร์โมนไทรอยด์น้อยก็จะมีลักษณะร่างกายอ้วน

Young woman sitting on sofa suffering from throat pain Premium Photo

ที่มารูปภาพ : freepik.com

               เราสามารถเช็กตัวเองได้เบื้องต้นว่าต่อมไทรอยด์ของเรามีปัญหาหรือไม่ จากการคลำบริเวณกลางลำคอเพราะถ้าไทรอยด์มีปัญหาจะมีลักษณะเป็นก้อนแข็งและสามารถกลายเป็นมะเร็งได้ ถ้าหากพบความผิดปกติควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุเพราะมีหลายโรคที่เกี่ยวข้องกับไทรอยด์ค่ะ

               สำหรับอาการของมะเร็งไทรอยด์ จะเริ่มจากพบว่ามีก้อนเล็ก ๆ ที่คอ ซึ่งก้อนจะค่อยๆโตขึ้นอย่างช้า ๆ ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยมีอาการแสดงออกมาแต่ในบางรายที่มีการแสดงอาการมักจะมีอาการบริเวณลำคอ เช่น เสียงแหบ เนื่องมาจากต่อมไทรอยด์โตจนไปทับเส้นเสียง คลำเจอก้อนบริเวณข้างคอ เกิดจากมะเร็งต่อมไทรอยด์กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณต่อมไทรอยด์ หรือ หายใจลำบาก หายใจมีเสียงหวีด กลืนลำบาก รู้สึกเจ็บขณะกลืน เป็นอาการเนื่องมาจากก้อนเนื้อมะเร็งต่อมไทรอยด์โตจนเบียดและกดทับไปที่หลอดลมและหลอดอาหาร

Women thyroid gland control. Premium Photo

ที่มารูปภาพ : freepik.com

               มะเร็งไทรอยด์นั้น ก็สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งการมีคนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งไทรอยด์มาก่อน มีประวัติการสัมผัสรังสี เช่น การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับสารโลหะหนัก ร่างกายได้รับสารไอโอดีนน้อยเกินไป โดยช่วงอายุที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งไทรอยด์นั้น ตั้งแต่ 25 -65 ปี

Interior view of a steel factory Free Photo

ที่มารูปภาพ : freepik.com

               หากมีความสงสัยว่าเราเป็นมะเร็งไทรอยด์แพทย์จะทำการตรวจอัลตร้าซาวด์ในเบื้องต้นหากพบก้อนที่มีขนาดมากกว่า 1 เซนติเมตร อาจทำการใช้เข็มขนาดเล็กเจาะดูดชิ้นเนื้อมาตรวจประมาณ 3-4 วันก็จะทราบผล และการรักษามะเร็งไทรอยด์นั้นไม่ว่าจะอยู่ในระยะที่โรคกระจาย หรือไม่กระจายนั้นแพทย์จะทำการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกและทานฮอร์โมนเสริมแทนหลังจากที่ตัดต่อมไทรอยด์ออก หลังจากตัดต่อมไทรอยด์ออกไปนั้นแพทย์จะติดตามอาการเพื่อดูว่าจะต้องรักษาด้วยการกลืนแร่หรือไม่ เพื่อรักษาเซลล์มะเร็งที่ยังหลงเหลืออยู่ในร่างกายและติดตามอาการต่อไป แต่สำหรับผู้ป่วยที่เชื้อมะเร็งกระจายไปแล้วแต่รักษาด้วยการกลนแร่ไม่ได้แพทย์จะทำการใช้ยามุ่งเป้าเพื่อทำการรักษา ซึ่งยามุ่งเป้านั้นไม่ใช่ยาเคมีบำบัดแต่เป็นยามุ่งเป้าที่มีผลข้างเคียงน้อย

The doctor shows the patient a brochure about the thyroid gland and its functions Premium Photo

ที่มารูปภาพ : freepik.com

              เราสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งไทรอยด์ได้ โดยการรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนสูง เช่นปลาทะเล หรือปรุงอาหารด้วยเกลือเสริมไอโอดีน ลดความเสี่ยงจากรังสีสำหรับผู้ที่อยู่อาศัยหรือทำงานใกล้กับรังสี ปรึกษาแพทย์เพื่อผ่าตัดต่อมไทรอยด์สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง ควรตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี และแจ้งให้แพทย์ทราบหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย เพื่อได้รับการรักษาได้อย่างถูกต้องเพราะ มะเร็ง รู้เร็ว รักษาให้หายได้ค่ะ

Close up salt in bowl with spoon on wooden table Premium Photo

ที่มารูปภาพ : freepik.com

สามารถติดตามรายการ Young @Heart Show ย้อนหลัง ตอน มะเร็งไทรอยด์ภัยเงียบต้องระวัง ได้ที่นี่ค่ะ  https://www.youtube.com/watch?v=tuOBcjyd-48

 

ที่มา : พบแพทย์

 

 

Young@Heart Show