YOUNG@HEART SHOW : รู้จักอาการ Pseudobulbar Affect (PBA) “ภาวะควบคุมการหัวเราะไม่ได้”

Share:
Pseudobulbar Affect, PBA, ภาวะควบคุมการหัวเราะไม่ได้, Joker

          หลายคนคงได้ชมภาพยนตร์สุดสะเทือนอารมณ์ JOKER กันไปแล้ว จะเห็นว่าตัวละครเอกของเรื่องมีลักษณะอาการป่วย ไม่สามารถควบคุมการหัวเราะให้ตรงกับอารมณ์ที่เหมาะสมได้ เป็นอาการป่วยที่มีชื่อว่า Pseudobulbar Affect (PBA) หรือภาวะควบคุมการหัวเราะไม่ได้สาเหตุจะมาจากอะไรไปดูกันค่ะ

 

Pseudobulbar Affect (PBA)

          ภาวะควบคุมการหัวเราะไม่ได้ เป็นอาการป่วยทางระบบประสาท มีลักษณะควบคุมการหัวเราะและร้องไห้ไม่ได้ ไม่สามารถแสดงท่าทางตามอารมณ์ที่รู้สึกได้ เหมือนอย่างตัวละครอาร์เธอร์ หรือ JOKER ค่ะ โรคนี้ ไม่ใช่อาการป่วยทางจิต เพียงแต่ผู้ป่วยอาจมีอาการทางจิตร่วมด้วย เช่น โรคซึมเศร้า, ไบโพลาร์ เป็นต้น

 

Pseudobulbar Affect, PBA, ภาวะควบคุมการหัวเราะไม่ได้, Joker

ภาพจาก IMDb.com Joker(2019)

 

สาเหตุของ Pseudobulbar Affect (PBA)

          เชื่อว่าสาเหตุเกิดจากการกระทบกระเทือนทางสมองอย่างรุนแรง เกิดอุบัติเหตุอย่างหนัก ถ้าเป็นเด็กเกิดอุบัติเหตุจะยิ่งเสี่ยงอาการ PBA หรือสมองส่วนหน้ามีปัญหาจากโรคต่างๆ ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความจำเสื่อม โรคพาร์กินสัน โรคเนื้องอกในสมองบางชนิด และโรคปลอกประสาทเสื่อม เป็นต้น

 

Pseudobulbar Affect, PBA, ภาวะควบคุมการหัวเราะไม่ได้, Joker

ภาพจาก IMDb.com Joker(2019)

 

อาการของ Pseudobulbar Affect (PBA)

          ภาวะ PBA ไม่ได้หัวเราะผิดที่ผิดเวลาอย่างเดียว แต่มีอาการอื่นได้ด้วย ได้แก่ ร้องไห้ออกมาแบบควบคุมไม่ได้ หัวเราะอย่างรุนแรง โดยที่ไม่ได้รู้สึกขำขัน แสดงสีหน้าไม่ตรงกับอารมณ์ มีอาการหัวเราะหรือร้องไห้ต่อเนื่องยาวนาน หยุดตัวเองไม่ได้ และอาจเกิดขึ้นได้หลายครั้งต่อวันค่ะ

 

Pseudobulbar Affect, PBA, ภาวะควบคุมการหัวเราะไม่ได้, Joker

ภาพจาก IMDb.com Joker(2019)

 

วิธีการรักษา Pseudobulbar Affect (PBA)

          ไปพบแพทย์โดยเล่าอาการอย่างละเอียด เพื่อหาให้เจอว่าเป็น PBA หรืออาการทางจิต ถ้าเป็น PBA แพทย์จะทำการรักษาด้วยยา และให้ผู้ป่วยเขียนบันทึกช่วงเวลาที่เกิดอาการมาส่งตามนัด ผู้ป่วยมีหน้าที่ทานยาให้ตรงตามแพทย์สั่ง สังเกตอาการตัวเอง จดบันทึกไว้ และไปพบแพทย์ตามนัดค่ะ

 

Pseudobulbar Affect, PBA, ภาวะควบคุมการหัวเราะไม่ได้, Joker

ภาพจาก IMDb.com Joker(2019)

 

วิธีดูแลตัวเองเมื่อมีภาวะ Pseudobulbar Affect (PBA)

          อย่างแรกเลยต้องบอกคนใกล้ตัวและครอบครัวให้รับรู้ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคให้พวกเขา เมื่ออาการกำเริบขึ้นมาให้ปรับเปลี่ยนอิริยาบท หายใจเข้าออกช้าๆ และฝึกการผ่อนคลายทุกวันค่ะ

 

          ภาวะ Pseudobulbar Affect (PBA) ส่วนมากจะมีอาการทางจิตร่วมด้วย เพราะสภาพจิตใจของผู้ป่วยเอง ที่จะรู้สึกว่าตัวเองแปลกแยก ไม่อยากเข้าสังคม จนเป็นผู้ป่วยทางจิตไปด้วยในที่สุด คนคนใกล้ชิดควรเข้าใจ ดูแลผู้ป่วยเมื่อเกิดอาการ และไม่พาไปในที่เสี่ยงอันตรายจากการเข้าใจผิดของคนอื่น ใครรู้ตัวว่าเป็นอยู่ควรพบแพทย์ค่ะ ภาพยนตร์เรื่อง JOKER ค่อนข้างมีความรุนแรง กระทบกระเทือนจิตใจ ดูแล้วก็อย่าอินเกิน อย่าเศร้าตามตัวละครนะคะ

 

 

ข้อมูลจาก: Facebook กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข | www.mayoclinic.org | ceoblog.co | Sanook.com

Young@Heart Show