หมอธีระวัฒน์เผยควรฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง พบฉีดเข้ากล้ามเนื้อตายทะลุ 2,000 ราย

488
0
Share:
โควิด

นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟสบุ๊กเกี่ยวกับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาดโควิด-19 เข้าชั้นผิวหนัง และใต้กล้ามเนื้อ มีดังนี้

สถานการณ์โอไมครอน ที่ดูอาการไม่หนัก ดังนั้นต้องระวังผลข้างเคียงจากวัคซีน โอไมครอนน่าจะดูดี เพราะที่อยู่โรงพยาบาลจำนวนไม่มากจากข้อมูลประเทศอังกฤษ และอาการไม่หนักมาก เสียชีวิต 39 ราย และหลังติดเชื่ออาการเกิดขึ้นเร็วภายในสองวัน และจบภายในแปดถึงเก้าวัน กักตัวถ้าไม่มีอาการ 5 วัน

จากข้อมูลในประเทศอังกฤษ โอไมครอนครองสัดส่วนเป็น 90% (จาก ดร.จอห์น แคมป์เบล 29/12/64)
ดังนั้นในประเทศไทยถ้าเป็น ตามในประเทศอังกฤษ โอไมครอนเข้ามาแทนที่ เดลต้าโดยถ้ายังไม่ยกระดับความรุนแรง จาก “ร้ายอาจกลายเป็นดี” ได้

ทั้งนี้ ต้องไม่มีสายประหลาดเกิดใหม่ด้วย เพราะฉะนั้นการฉีดวัคซีนที่ระดมมหาศาลขณะนี้ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก โดยคุณต้องฉีดเป็นเข้าชั้นผิวหนัง

จากข้อมูล สปสช. มีผู้ขอชดเชยค่าเสียหาย ที่ได้รับผลกระทบจากวัคซีนโควิด 11,911 ราย เป็นจำนวนเงินที่ต้องชดใช้ 955 ล้านบาท และยังมีกรณีที่อยู่ในการอุทธรณ์ เลียชีวิต 19.15% ของ 11,911 ราย นั่นคือ มากกว่า 2,000 ราย เกิดจากวัคซีนแอสตร้า 6,043 ซิโนแวค 4,239 ซิโนฟาร์ม 467 ไฟเซอร์ 811 ทั้งนี้ ต้องจับตา ไฟเซอร์ ที่เริ่มใช้ขณะนี้ และแอสตร้า ที่ใช้แต่แรก จนปัจจุบัน ในเรื่องผลข้างเคียงและการเสียชีวิต

ขณะที่ ประเทศไทย เสียชีวิตจากโควิด 21,598 ราย เสียชีวิตจากโควิดวัคซีนมากกว่า 2,100 รายตามที่มีการเรียกร้องค่าชดเชยจาก สปสช. นี่เป็นเหตุผลสำคัญที่ต้องฉีดเข้าชั้นผิวหนังโดยใช้ปริมาณน้อยกว่าและกลไกคนละแบบกับการฉีดเข้ากล้ามและภูมิไม่ได้ลดลงเร็วกว่าการฉีดเข้ากล้าม โดยระดับภูมิได้เท่ากัน

ภูมิคุ้มกันขึ้นเท่ากับการฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อโดยตรง แต่ผลข้างเคียงน้อยกว่า 10 เท่า ขณะที่ภูมิคุ้มกันหลังฉีดอยู่ได้นานพอกัน

ส่วนในเรื่องของทีเซลล์การฉีดชั้นผิวหนังจะมีตัวจับย่อยวัคซีนสองชนิดด้วยกัน ไม่ใช่ชนิดเดียวแบบในกล้ามเนื้อ และส่งผ่านไปยังต่อมน้ำเหลืองซึ่งจะเกิดปฏิกิริยาขั้นต้น คือ ที เชลล์ ถูกกระตุ้นโดยใช้เวลาประมาณสี่วัน ตามการศึกษาตั้งแต่ปี 2008 โดยใช้วิธี 2 photon microscopy และจะควบรวมสัมพันธ์กับบีเซลล์ในการสร้างภูมิคุ้มกันในน้ำเหลืองต่อการกระตุ้นทีเซลล์ ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย

โดยตัวคนแต่ละคน ที่แบ่งออกเป็นตอบสนองกับวัคซีนได้สูง กลาง และต่ำ ซึ่งทราบกันดีมาตั้งแต่ก่อนปี 2010 ขึ้นอยู่กับอายุและมีโรคประจำตัวหรือไม่ ขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีน แม้แต่ SV SV AZ แม้กระตุ้นภูมิได้น้ำเหลืองได้สูงมากแต่การตอบสนองของที่เซลล์นั้นยังพบได้น้อยก็มี