‘หยุดกินไม่ได้’ ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น เพราะคุณอาจจะกำลังเป็นโรค

Share:

          “ไอซ์ป่วย เป็นโรคกินไม่หยุด เป็นโรคจริงๆไม่ใช่ความตะกละเด้อ” คือสิ่งที่นักร้องเสียงดีอย่างไอซ์ ศรัญญู วินัยพาณิชย์ ออกมาเปิดเผยในยูทูปแชนแนลของตัวเอง ว่าเขากำลังป่วยด้วยโรคที่ไม่สามารถหยุดการกินได้ หรือ Binge Eating Disorder ก็ทำเอาแฟนตกใจกับโรคที่เกิดขึ้นกับไอซ์เป็นอย่างมาก เพราะโรคนี้สร้างความเครียดให้กับเขาไม่น้อย เพราะนอกจากจะทำให้รูปร่างเปลี่ยนแล้ว ยังทำให้เขาวิตกกังวล รู้สึกผิดที่ไม่สามารถหยุดพฤติกรรมการกินของตัวเองได้

ที่มา :instagram icesarunyu

          Young @Heart Show จึงจะพาไปทำความรู้จักและเข้าใจโรคนี้กัน ซึ่งผู้อ่านหลายๆคนอาจะเผชิญกับภาวะนี้อยู่โดยไม่รู้ตัวก็เป็นได้ ซึ่งโรคนี้ยังไม่พบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัดอาจจะเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน เช่น เป็นโรคอ้วน เสพติดการลดน้ำหนัก เคยผ่านเหตุการณ์สะเทือนใจมาก่อน มีภาวะทางจิต เช่น ซึมเศร้า ไบโพลาร์ เป็นต้น ซึ่งโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงวัย โดยอาการของโรคกินไม่หยุด หรือ Binge Eating Disorder คือการรับประทานอาหารมากกว่าปกติโดยไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ โดยที่ไม่ได้รู้สึกหิว รับประทานจนเกินอิ่ม นำมาซึ่งความรู้สึกผิดโกรธตัวเองที่รับประทานมากเกินไป

ที่มา : pixabay.com

          โดยมีข้อสังเกตอาการที่เกิดขึ้นได้ดังนี้ การรับประทานอาหารมากกว่าปกติ แม้จะรู้สึกอิ่มแล้วแต่ควบคุมตัวเองให้หยุดกินไม่ได้ ทั้งที่เพิ่งจะรับประทานไปไม่นาน ความถี่ของอาการที่เกิดขึ้น อาจจะเกิดขึ้นเพียง 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือ รุนแรงจนหลายสิบครั้งต่อสัปดาห์ นอกจากนี้ยังมีความผิดปกติของอารมณ์ จะรู้สึกผิด โกรธ เศร้า และโทษตัวเองที่รับประทานมากจนเกิดไป ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาได้

ที่มา : pixabay.com

          หากพบว่าตัวเองเข้าข่ายอาการดังกล่าวควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย เพื่อจะได้เข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง โดยแพทย์จะมีการรักษาทั้งการใช้ยา และการเข้ารับจิตบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมอารมณ์ลบที่เกิดขึ้นได้ โดยคนใกล้ชิดและคนในครอบครัวเองก็ควรทำความเข้าใจกับอาการของโรคนี้เพื่อเข้าใจผู้ป่วย และไม่กล่าวโทษเมื่อเกิดพฤติกรรมดังกล่าวขึ้น เพราะการหยุดกินไม่ได้คือความเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง

ที่มา : pixabay.com

          สำหรับผู้ที่ยังไม่ป่วยก็ควรดูแลสุขภาพเพื่อให้ห่างไกลโรคนี้ โดยเริ่มจากการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาทีเป็นอย่างน้อย หากกิจกรรมที่ลดความเครียดลง และหากรับมือกับความเครียดไม่ไหวควรเข้าปรึกษากับจิตแพทย์ เพียงเท่านี้ก็จะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกินไม่หยุดและโรคอื่นๆ ได้

ที่มา : www.pobpad.com
www.thairathco.th

Young@Heart Show