YOUNG@HEART SHOW : รู้ทันโรค “นิ้วล็อค”

Share:
นิ้วล็อค

          นิ้วล็อคโรคของคนยุคใหม่ ที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ทั้งวัน เล่นเกมเยอะ และเล่นสมาร์ทโฟนเยอะ แต่จะขาดอุปกรณ์เหล่านี้ก็ไม่ได้ใช่มั้ยคะ ขาดโทรศัพท์มือถือไป 1 วัน พลาดไปหลายข่าวเลยล่ะ ดังนั้นควรเล่นแต่พอดี และดูแลรักษามือ ให้ห่างไกลจากนิ้วล็อค ถ้าเป็นนิ้วล็อคแล้วจะมีวิธีรักษายังไงบ้างมาดูกันค่ะ 

 

นิ้วล็อค

ภาพจาก Pexels.com

 

นิ้วล็อคคืออะไร?

          นิ้วล็อค คือการอักเสบสะสมของเส้นเอ็นจนมีอาการบวม เมื่อเส้นเอ็นบวมแล้ว ก็ไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านปลอกเส้นเอ็นไปได้ ทำให้เกิดอาการนิ้วล็อค กำมือไม่ได้ หรือแบมือไม่ได้ค่ะ

 

นิ้วล็อค

ภาพจาก Pexels.com

 

นิ้วล็อคเกิดจากอะไร?

          เดิมทีนิ้วล็อคจะเกิดในผู้สูงอายุ ที่ผ่านการใช้งานมือมาเป็นเวลานาน แต่ในปัจจุบันวัยรุ่นวัยทำงานก็เป็นค่ะ เนื่องจากมีการใช้งานคอมพิวเตอร์ เม้าส์ สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตเป็นประจำ ทำให้มือต้องทำงานแทบจะตลอดเวลา จนเกิดอาการนิ้วล็อคได้

 

นิ้วล็อค

ภาพจาก Pexels.com

 

การรักษาอาการนิ้วล็อค

1. พักการใช้งานมือ เมื่อไม่จำเป็น

2. ใช้ความร้อนประคบ หรือแช่น้ำอุ่น ความร้อนจะช่วยให้เส้นเอ็นยืดได้ง่าย

3. ทานยาลดอาการอักเสบ (เป็นยาตามแพทย์สั่ง ซื้อทานเองไม่ได้นะคะ)

4. ฉีดยา

5. ผ่าตัด ซึ่งจะเป็นทางเลือกสุดท้ายที่แพทย์จะทำการรักษาค่ะ

 

นิ้วล็อค

 

ท่าบริหารเส้นเอ็น

 

ท่าที่ 1 วางมือลงกับโต๊ะ แล้วยกนิ้วขึ้นมาทีละนิ้ว ค้างไว้ 10 วิ ทำไปจนครบทุกนิ้ว

 

นิ้วล็อค

 

ท่าที่ 2 บริหารเส้นเอ็น 4 ระดับ

          → แบมือขึ้นตั้งฉาก

         → งอนิ้วลงมา ให้นิ้วโป้งตั้งขึ้น

         → กำมือ โดยรวบนิ้วเข้ามาทั้งหมด

         → กำมือ โดยให้ปลายนิ้วเหยียดตรงลงมาที่ฝ่ามือ และนิ้วโป้งตั้งขึ้น

          2 ท่าง่ายๆ นี้สามารถฝึกได้ทุกวัน เป็นการยืดและบริหารเส้นเอ็น เพื่อป้องกันนิ้วล็อคค่ะ

 

นิ้วล็อค

 

          นิ้วล็อคอาจเกิดขึ้นได้กับคุณ ดังนั้นควรใช้มือเท่าที่จำเป็น ให้มือได้พักบ้าง ถ้าทำงานด้วยคอมพิวเตอร์มาเยอะแล้ว เวลาเลิกงานก็ไม่ควรเล่นโทรศัพท์มือถือเยอะอีก ไม่อย่างนั้นอาจเสี่ยงเป็นโรคนิ้วล็อคได้ ถ้าอยากมีมือและเส้นเอ็นที่อยู่กับเราไปนานๆ ก็ควรดูแลรักษานะคะ

 

 

ดูคลิปรายการย้อนหลังตอน นิ้วล็อค แก้ไขอย่างไร ได้ที่นี่เลยค่ะ

Young@Heart Show