YOUNG@HEART SHOW : สังคมก้มหน้าระวัง!! โรคกระดูกคอเสื่อม

Share:

             พฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเราทุกวันนี้ล้วนแต่ต้องก้มหน้านานๆ ไม่ว่าจะเล่นมือถือ หรือดูจอคอมพิวเตอร์ แล้วรู้ไหมคะว่าการที่เราก้มหน้านานๆกระดูกคอของเราต้องรับน้ำหนักจากศีรษะถึง 5.4กิโลกรัม หรือ ถ้าเราก้มหน้า 60องศากระดูกคอของเราจะรับน้ำหนักถึง 27 กิโลกรัมเลยทีเดียว พฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลให้หมอนรองกระดูกต้นคอเสื่อมและทำให้กลายเป็นสาเหตุของโรคกระดูกคอเสื่อม

Mri of cervical spine : moderate to severe posterior central disc protrusion of c3/4 to c5/6 intervertebral discs with a 2.0 cm in length small posterior subligamentous fluid collection.on red point Premium Photo

ที่มารูปภาพ : freepik.com

            โรคกระดูกคอเสื่อม (Cervical Spondylosis) คือ การเสื่อมของกระดูกสันหลังบริเวณคอที่มักพบในผู้สูงอายุแต่ในปัจจุบันหนุ่มสาวชาวออฟฟิศก็มีจำนวนมากขึ้นที่มาอาการกระดูกคอเสื่อม ส่วนใหญ่มักไม่มีสัญญาณของอาการเตือนแต่ความรุนแรงของอาการจะค่อยๆแสดงออกตามร่างกายจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน

            ซึ่งสาเหตุของโรคกระดูกคอเสื่อมนั้นมาจาก การก้ม แหงน และสะบัดคอบ่อยๆจนติดเป็นนิสัย หรือการนั่งทำงานด้วยท่าที่ไม่ถูกต้องนานๆ หรือการก้มเล่นโทรศัพท์เป็นเวลานาน และอาจมีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อกระดูกสันหลังในส่วนของต้นคอ

Young asian touching massaging stiff neck Free Photo

ที่มารูปภาพ : freepik.com

            โดยอาการที่เราจะสังเกตตัวเองได้นั้นว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกคออักเสบ คือ ปวดคอ บ่า ไหล่เรื้อรัง และในบางรายอาจมีอาการปวดร้าวไปจนถึงบริเวณท้ายทอย และอาจจะมีอาการที่แขนเกิดขึ้นได้ด้วยเช่น ปวด ชา หรืออ่อนแรงของกล้ามเนื้อบริเวณแขน ข้อศอกและนิ้วมือ นอกจากนี้ยังมีอาการแสดงออกที่ขาได้อีกด้วยเช่น การเดินผิดปกติ ขาตึง เดินก้าวสั้น รู้สึกโคลงเคลงเหมือนล้มง่าย

Man experiencing neck pain while working from home on laptop Free Photo

ที่มารูปภาพ : freepik.com

           วิธีการรักษาโรคกระดูกคอเสื่อมนั้นจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการเช่น การใช้ยาอักเสบชนิดที่ไม่ใช่  สเตียรอยด์ ร่วมกับยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด การทำกายภาพบำบัดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอ หรืออาจจะใช้การฉีดสารสเตียรอยด์และยาแก้ปวดเข้าไปยังข้อต่อคอที่มีอาการปวดและวิธีสุดท้ายคือ     การผ่าตัด แต่โดยทั่วไปมักไม่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดนอกจากกระดูกคอเสื่อมมากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทแพทย์จึงจะแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัด

Neck pain. a man touching neck at pain point Premium Photo

ที่มารูปภาพ : freepik.com

           ดังนั้นจึงต้องคอยปรับพฤติกรรมในกิจวัตประจำวันของเราเพื่อลดความเสี่ยง เช่น คอยระมัดระวังให้คออยู่ในท่าทางที่เหมาะสม ทั้งการยืน การนั่ง หรือการเดิน เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่คอ ควรออกกำลังกายและทำกิจกรรมเพื่อเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ และระมัดระวังในการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาที่มีความเสี่ยง หรือสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับบาดเจ็บบริเวณคอเสมอ และถ้าหากมีอาการผิดปกติ มีอาการปวด หรือบาดเจ็บเกิดขึ้นบริเวณคอให้รีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยทันที

ดูเทปรายการย้อนหลังตอน  โรคกระดูกคอเสื่อม ได้ที่นี่เลยค่ะ

https://www.youtube.com/watch?v=Q_0CMuDGCAE

Young@Heart Show