YOUNG@HEART SHOW : รู้ทันโรค “โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด” เวียนหัว-บ้านหมุนไม่ใช่เรื่องธรรมดา

Share:

          ทุกวันนี้โรคร้ายและภัยใกล้ตัวมีเยอะมากๆ บางโรคก็เกิดขึ้นเองอย่างไม่มีสาเหตุ ล่าสุดคุณไบร์ท พิชญทัฬน์ จันทร์พุฒ ผู้ประกาศข่าว ก็เป็นโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด จนถูกหามส่งโรงพยาบาล ซึ่งโรคนี้มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ และทุกคนมีโอกาสเป็นได้ แต่คนไม่เคยเป็นก็จะไม่ค่อยรู้ใช่ไหมคะ วันนี้มาทำความรู้จักกับโรคนี้กันค่ะ

 

โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด

(Benign Paroxysmal Positional Vertigo: BPPV)

 

Photo from Pexels

 

♦ สาเหตุของโรค ♦

          ปกติแล้วในหูชั้นในของคนเราจะมีอวัยวะที่ควบคุมการทรงตัวและการได้ยิน ในหูส่วนนี้จะมีตะกอนหินปูนที่เคลื่อนไปมาอยู่ในนั้น 1 ก้อน เพื่อรับรู้การเคลื่อนไหวของศีรษะ โดยที่ไม่หลุดออกมา ถ้าหลุดออกมาแล้วก็เป็นเรื่องเลยค่ะ

          สาเหตุที่ทำให้ตะกอนหินปูนหลุดก็เกิดจากความเสื่อมตามวัย เกิดอุบัติเหตุ เป็นโรคติดเชื้อในหูชั้นใน เกิดจากหลังผ่าตัดใหญ่แล้วต้องนอนนาน หรือเกิดจากการเคลื่อนไหวซ้ำๆ ก้มๆเงยๆเป็นประจำค่ะ

 

Photo from Pixabay

 

♦ อาการของโรค 

          มีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด แบบเป็นๆหายๆ ไม่ได้เป็นตลอดนะคะ แต่เป็นบ่อยๆ รู้สึกบ้านหมุน ลุกยืนทรงตัวไม่ได้ จะรู้สึกได้ชัดเวลาเคลื่อนไหวร่างกายในแนวดิ่ง เช่น ลุกขึ้นจากท่านอน ก้มหยิบของ หรือเงยหน้ามองในที่สูงค่ะ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับผู้หญิง ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สามารถเกิดขึ้นได้ในหูทั้งสองข้าง และอาจมีอาการร่วมกับไมเกรนค่ะ

 

การรักษามี 3 ทาง 

1. รักษาด้วยยา

2. ทำกายภาพบำบัด

3. การผ่าตัด

โดยทั้ง 3 ทางนี้ต้องหาหมอนะคะ รักษาเองไม่ได้น้า~

 

ภาวะแทรกซ้อน 

อาจมีอาการอาเจียน จนร่างกายขาดน้ำ และช็อคได้

ถ้าวิ่งเวียนมาก อาจล้มทั้งยืน จนได้รับบาดเจ็บได้ค่ะ

 

วิธีดูแลตัวเอง 

1. ถ้าเวียนหัวอย่าลุกเดิน ให้นั่งหรือนอนนิ่งๆอยู่กับที่

2. ถ้าขับรถอยู่ให้รีบหาที่จอดรถ อย่าฝืนขับ

3. ไม่ควรเดินในที่มืด ต้องเปิดไฟให้สว่างเต็มที่ก่อนค่อยเดิน

4. คนที่ทรงตัวไม่ได้บ่อยๆ ควรมีไม้เท้าติดตัว เอาไว้พยุงเวลาเวียนหัวค่ะ

5. ไม่ควรว่ายน้ำ ดำน้ำ ยิงปืน ปีนป่ายที่สูง เล่นกีฬาผาดโผน ทำงานในที่สูงต่างๆควรเลี่ยงค่ะ

 

Photo from Pexels

 

          โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุดเป็นแล้วรักษาไม่หายขาด รักษาหายแล้วในตอนแรก อาการอาจกำเริบขึ้นมาได้อีกทุกเมื่อ จะมีการควบคุมอาการด้วยยาและทำกายภาพบำบัดค่ะ นอกจากนี้ก็ต้องดูแลตัวเองด้วย ได้แก่ 

1. เลี่ยงการนอนราบ นอนให้ศีรษะสูงเข้าไว้

2. ไม่นอนตะแคงทับหูข้างที่เป็น

3. เลี่ยงการก้มเก็บของ หรือเงยหยิบของในที่สูง

4. เวลาตื่นนอนต้องค่อยๆลุก ใช้เวลานั่งที่ขอบเตียงก่อนสัก 1 นาที แล้วค่อยลุกเดินค่ะ

5. ไม่ออกกำลังกายที่เคลื่อนไหวศีรษะและลำตัวเยอะ

6. เวลาจะทำอะไรให้ทำช้าๆ ค่อยๆทำค่ะ

 

          ใครมีอาการเวียนหัวบ้านหมุน ทรงตัวไม่ได้ให้รีบไปหาหมอ อาจจะไม่ได้เป็นโรคนี้ทุกคน มีสิทธิ์เป็นโรคอื่นได้ด้วยนะคะ ทุกวันนี้โรคมาเร็ว เครมเร็ว นอนโรงพยาบาลเร็ว ถ้ารู้สึกผิดปกติอะไรให้รีบหาหมอเพื่อรักษาก่อนอาการหนักจะดีที่สุดค่ะ

 

 

ข้อมูลจาก www.si.mahidol.ac.th

โดย รศ.นพ. ปารยะ อาศนะเสน

ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

Young@Heart Show