Young@Heart Show The Stronger แค่ล้มก็หักเป๊าะ โรคกระดูกพรุน ใครๆก็ไม่อยากเป็น

Share:

ปัจจุบัน โรคกระดูกพรุน กลายเป็นปัญหาระดับชาติที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นจากจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น นับเป็น “ภัยเงียบ” อย่างแท้จริง

โรคกระดูกพรุน คือ โรคที่มีการสลายของเนื้อกระดูกอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก อันที่จริงความหมายของกระดูกพรุนก็คือ การที่มีความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลงหรือโปร่งบางมากขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลาต่อเนื่องยาวนานเป็นปี โดยไม่สามารถ สังเกตเห็นได้ หรือไม่สามารถรู้สึกได้จนกว่าจะเกิดกระดูกหัก หรือเกิดการค่อมโค้งผิดรูปของกระดูกสันหลังเนื่องจากกระดูกทรุดและตัวเตี้ยลงอย่างชัดเจน

โรคกระดูกพรุน จึงกลายเป็นปัญหาระดับชาติที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นจากจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น นับเป็น “ภัยเงียบ” อย่างแท้จริง เนื่องจากผู้ป่วยจะไม่รู้ว่าตัวเองมีภาวะกระดูกพรุน เพราะไม่พบว่ามีอาการใดๆ จนกระทั่งล้มแล้วมี “กระดูกหัก” จึงรู้ว่าเป็น “โรคกระดูกพรุน” สาเหตุเกิดจากการสูญเสียมวลกระดูก ทำให้กระดูกเสียคุณสมบัติการรับน้ำหนัก กระดูกเปราะ หักง่าย บางคนอาจตัวเตี้ยลง (มากกว่า 3 ซม.) เนื่องจากกระดูกสันหลังโปร่งบางและยุบตัวลงช้าๆ หรือบางคนมีอาการปวดหลังจากการล้มหรือยกของหนัก

แต่ที่น่าเป็นห่วง คือ ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนมีโอกาสเกิดกระดูกหักได้ง่ายกว่าคนทั่วไปเพียงแค่มีแรงกระแทกเบาๆ การบิดเอี้ยวตัวอย่างทันทีทันใด ไอจาม หรือลื่นล้ม ทำให้กระดูกสะโพกหรือกระดูกสันหลังหักได้ง่าย ก่อให้เกิดความพิการหรือทุพพลภาพตามมา และคุณภาพชีวิตที่ด้อยลง

คุณเสี่ยง กระดูกหัก…จากโรคกระดูกพรุน หรือไม่?

การเกิดกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนครั้งแรกนั้น เป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่มีโอกาสสูงมากที่จะเกิดกระดูกหักครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ตามมา ซึ่งนำมาซึ่งความพิการและการเสียชีวิตได้
โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป

ผู้ชาย เสี่ยงกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนสูงกว่า โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

ผู้หญิง เสี่ยงกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนสูงกว่า โรคมะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก และรังไข่รวมกัน

 

Young@Heart Show