• พาณิชย์ยอมรับขึ้น ค่าแรง ขั้นต่ำ 400 บาท มีผลต่อ ต้นทุนสินค้า แต่จะไม่ปล่อยให้สินค้าปรับเกินจริง
    17
    May

    พาณิชย์ยอมรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท มีผลต่อต้นทุนสินค้า แต่จะไม่ปล่อยให้สินค้าปรับเกินจริง

    นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงข้อกังวลของประชาชนต่อกรณีที่อัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำจะปรับขึ้น 400 บาทภายในวันที่ 1 ตุลาคมที่จะถึงนี้ โดยขณะนี้ ต้องรอความชัดเจนของผู้บริหารแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะร่วมกันพิจารณาความเหมาะสมของอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ดังนั้น คงต้องรอให้เรื่องนี้มีความชัดเจนออกมาก่อน แต่ในเบื้องต้นยอมรับว่าค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับขึ้นย่อมมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้าบ้าง แต่โดยรวมต้องดูว่าต้นทุนด้านแรงงานมีผลกระทบต่อต้นทุนของสินค้ามากน้อยแค่ไหน หากวิเคราะห์ออกมาแล้วแม้ค่าแรงขึ้นกระทบต้นทุนสินค้าไม่มากก็อาจจะขอความร่วมมือให้ช่วยตรึงสินค้าไปก่อน นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดีเซลที่มีการปรับขึ้นมาแล้วและมีโอกาสปรับขึ้นได้อีกนั้น กรมการค้าภายในมีการติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดและเห็นว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะขอรับภาระต้นทุนด้านน้ำมันดีเซลที่เกี่ยวข้องด้านขนส่งสินค้าเอง และยังไม่มีผู้ประกอบรายใดยื่นขอปรับราคาสินค้าขึ้นมายังกรมการค้าภายในจากผลกระทบราคาน้ำมันดีเซลขึ้นแต่อย่างใด ...
  • 13
    May

    ปลัดกระทรวงแรงงานโยนบอร์ดไตรภาคี เคาะค่าแรง 400 บาททั่วประเทศ

    นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงานเปิดเผยหลังการหารือร่วมกับตัวแทนสภาหอการค้า และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยว่า จากการหารือผู้แทนแต่ละฝ่ายเห็นด้วยกับการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท แต่ไม่เห็นด้วยที่จะให้ขึ้นทั่วทั้งประเทศพร้อมกัน เพราะบางกิจการจะมีต้นทุนเพิ่มขึ้น จนทำให้ธุรกิจมีปัญหาได้ เช่นกลุ่มเอสเอ็มอี ร้านขายของชำต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบในคณะกรรมการค่าจ้างไตรภาคี ที่จะมีการประชุมในวันพรุ่งนี้ (14 พ.ค.) โดยจะโฟกัสเป็นบางประเภทกิจการ และจะให้ทางอนุกรรมการจังหวัดไปพิจารณากรอบแนวทางการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำของแต่ละจังหวัด เพื่อนำเข้าสู่คณะกรรมการชุดใหญ่พิจารณาต่อไป ด้านนายชนินทร์ ...
  • นิด้าโพลชี้ 1 ใน 4 ต้องการขึ้น 400 ขึ้นเท่ากันขึ้นทันที ส่วนใหญ่เชื่อขึ้น ค่าแรง ไม่คุ้มค่าครองชีพที่เพิ่ม
    12
    May

    นิด้าโพลชี้ 1 ใน 4 ต้องการขึ้น 400 ขึ้นเท่ากันขึ้นทันที ส่วนใหญ่เชื่อขึ้นค่าแรงไม่คุ้มค่าครองชีพที่เพิ่ม

    จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการทยอยปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาล พบว่า ตัวอย่าง 44.5% เห็นด้วยกับการทยอยปรับขึ้นทั่วประเทศเริ่มวันที่ 1 ตุลาคม 2567 นี้ รองลงมา 25.34% มองว่าควรปรับขึ้นเท่ากันทั่วประเทศทันทีไม่ต้องรอวันที่ 1 ตุลาคม 2567 ขณะที่ 16.4% กลับไม่เห็นด้วยกับการปรับขึ้นค่าแรง 400 บาท ...
  • 7
    May

    สภาผู้ส่งออก คงเป้าส่งออกทั้งปีโต 1-2% แม้มี.ค.ทรุดแรง ขอรัฐทบทวนขึ้นค่าแรง 400 ทั่วไทย

    สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือ สภาผู้ส่งออก มั่นใจภาวะการส่งออกของไทยในปีนี้ยังสามารถขยายตัวได้ในระดับ 1-2% ถึงแม้สถานการณ์ส่งออกในเดือน มี.ค. 67 จะหดตัวลดลงกว่า 10% ก็ตาม โดยเสนอให้มีทบทวนการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันละ 400 บาททั่วประเทศ เนื่องจากสร้างภาระให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนเพิ่มขึ้น และสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งประเมินสถานการณ์ในไตรมาสแรกแล้ว ยังมั่นใจว่าจะผลักดันให้การส่งออกปีนี้ขยายตัวได้ 1-2% ...
  • 7
    May

    หอการค้าไทยผนึกสมาคมการค้าใช้แรงงานเข้มข้น ค้านขึ้นค่าแรง 400 บาททั่วประเทศ

    จากกรณีเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2567 ซึ่งตรงกับวันแรงงานที่ผ่านมา นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศขึ้น ค่าแรง 400 บาทแบบถ้วนหน้าทั่วประเทศทุกอาชีพ ภายในวันที่ 1 ต.ค. ...
  • 2
    May

    สภาองค์การนายจ้างไม่เห็นด้วย ค่าจ้างขั้นต่ำไม่ควรเป็นอัตราเดียวกันทั่วประเทศ

    นายธนิต  โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทยกล่าวว่า ค่าจ้างขั้นต่ำ ไม่ควรเป็นอัตราเดียวกันทั่วประเทศ เพราะแต่ละพื้นที่มีเศรษฐกิจต่างกัน มีเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นอัตราเดียวกันทั่วประเทศ ซึ่งก็จะเป็นประเทศเล็กๆและการรับค่าจ้างในอัตราเดียวกันทั่วประเทศเป็น 400 บาทต่อวัน จะทำให้มีบางจังหวัดค่าจ้างจะขึ้นแบบกระชาก เช่น สามจังหวัดชายแดนใต้ที่วันนี้ค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่วันละ 330 บาทก็จะกระชับขึ้นมากกว่า 20% ผู้ประกอบการก็จะอยู่ไม่ได้ตายเจ๊งแน่นอน อีกปัจจัยที่ต้องคิดหากค่าแรงเท่ากันทั่วประเทศ การลงทุนจะกระจุกตัวในเมืองไม่กระจายไปต่างจังหวัดต่างจังหวัด  เพราะผู้ประกอบการต้องแบกรับค่าขนส่งที่สูงกว่าการลงทุนในเมือง ...
  • ม.หอการค้าไทยชี้้เปรี้ยง ค่าแรงขั้นต่ำ แตะ 400 บาท ทำเอกชนควักเพิ่มวันละ 300 ล้าน
    29
    Apr

    ม.หอการค้าไทยชี้้เปรี้ยง ค่าแรงขั้นต่ำแตะ 400 บาท ทำเอกชนควักเพิ่มวันละ 300 ล้าน

    นายธนวรรธน์ พลวิชัย ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ ส่งผลให้ภาคเอกชนมีต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น คาดการณ์ว่าค่าแรงขั้นต่ำวันละ 400 บาทจะมีจำนวนแรงงานได้ประโยชน์ราว 7.5 ล้านคน จากส่วนต่างค่าจ้างเทียบกับปัจจุบัน ซึ่งเพิ่มขึ้นอีก 40 บาท จึงทำให้ภาคเอกชนต้องจ่ายเพิ่มขึ้นราว 300 ...
  • 23
    Apr

    ผู้ประกอบการขนส่งท่องเที่ยวโอดต้นทุนราคาน้ำมัน-ค่าแรงพุ่ง แบกต้นทุนอ่วม

    นายวสุเชษฐ์ โสภณเสถียร นายกสมาคมผู้ประกอบการรถ ขนส่ง ทั่วไทย (สปข.) รองประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เปิดเผยว่า การปรับขึ้นของราคาน้ำมัน ส่งผลกระทบต่อประชาชนและธุรกิจแน่นอนอยู่แล้ว โดยเฉพาะภาคเอกชนที่ได้รับความเดือดร้อน เพราะเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมาแบบประเมินล่วงหน้าไม่ได้ หรือควบคุมอะไรไม่ได้ อาทิ รถเช่าที่ถูกลูกค้าจองไว้แล้วหลังสงกรานต์ ไม่สามารถปรับราคาขึ้นได้ ทั้งที่ต้นทุนราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นมา ทำให้ผู้ประกอบการต้องรับสภาพไป ซึ่งสิ่งที่ภาคเอกชนต้องการมากที่สุดคือ ...
  • 27
    Mar

    ไม่โอเค ! สมาคมโรงแรมฯ ชี้ขึ้นค่าแรง 400 บาท ให้นำร่องโรงแรม 4 ดาวขึ้นไป ไม่เป็นธรรม

    นางมาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย กล่าวว่า การประกาศขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 400 บาท ใน 10 จังหวัดท่องเที่ยว และมีเงื่อนไขเฉพาะธุรกิจโรงแรมระดับ 4 ดาวขึ้นไป และต้องมีแรงงานมากกว่า 50 คนนั้น มองว่า ไม่เป็นธรรม และเป็นการเลือกปฏิบัติ ...
  • 25
    Mar

    โล่งอก! อิตาเลียนไทย ยอมจ่ายค่าแรงลูกจ้างแล้ว รวมกว่า 6,600 คน คิดเป็นเงินกว่า  30 ล้านบาท

    นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยความคืบหน้าในการช่วยเหลือลูกจ้างบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ที่ถูกค้างจ่ายค่าจ้าง ว่า เมื่อวันที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมา พนักงานตรวจแรงงาน ได้เชิญผู้แทนบริษัท มาพบที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 เพื่อให้ข้อเท็จจริงและหารือร่วมกันถึงปัญหาการค้างจ่ายค่าจ้าง ตนได้มอบหมายให้นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ...