• รู้ไส้รู้พุง! นักวิทย์สร้าง ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) เตือนภัยอันตรายของ เอไอ
    2
    May

    รู้ไส้รู้พุง! นักวิทย์สร้างปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) เตือนภัยอันตรายของเอไอ

    นายเจฟฟรีย์ ฮินตัน วัย 75 ปี ผู้สร้างเทคโนโลยีพื้นฐานสำหรับระบบเอไอได้แจ้งลาออกจากกูเกิลเมื่อเดือนเมษายน เปิดเผยว่า การพัฒนาเอไอได้ทำให้สังคมและมนุษย์ตกอยู่ในความเสี่ยงอย่างยิ่ง เพราะเอไอเมื่อ 5 ปีก่อนกับเอไอในปัจจุบันมีความแตกต่างและก้าวหน้าไปไกลจนน่าตกใจ การแข่งขันระหว่างยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีผลักดันให้บริษัทต่างๆ พากันเผยแพร่เทคโนโลยีเอไอใหม่ๆ ด้วยความเร็วที่เป็นอันตราย จนยากที่จะป้องกันไม่ให้ผู้ไม่ประสงค์ดีนำเอไอไปใช้ในทางมิชอบ นายฮินตันเชื่อว่า เอไอกำลังบดบังความสามารถของสติปัญญามนุษย์ เนื่องจากเอไอสามารถประมวลข้อมูลในปริมาณมหาศาล เอไอถูกพัฒนาขึ้นมาช่วยเหลือคนทำงาน แต่แชทบอทที่เป็นแอปพลิเคชันเลียนแบบการสนทนาของมนุษย์อย่างแชทจีพีที ...
  • โควิด-19 โอไมครอน พันธ์ุบีคิว กำลังระบาดหลักใน อเมริกา ลดภูมิคุ้มกันลงต่อเนื่อง
    27
    Nov

    โควิด-19 โอไมครอนพันธ์ุบีคิว กำลังระบาดหลักในอเมริกา ลดภูมิคุ้มกันลงต่อเนื่อง

    ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคระบาดแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือ CDC เปิดเผยว่า ขณะนี้โรคระบาดโควิด-19 โอไมครอนในสายพันธุ์ใหม่บีคิว (BQ) ซึ่งประกอบด้วยสายพันธุ์ย่อยใหม่ BQ.1 และ BQ.1.1 กลายเป็นสายพันธุ์หลักในการระบาดในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นสัดส่วนถึง 57% ในการทำให้ผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ดังกล่าวมีอาการป่วย เนื่องจากคุณสมบัติของสายพันธุ์นี้ สามารถหลบเลี่ยง และกดดันภูมิคุ้มกันในร่างกายของมนุษย์ลดลงต่อเนื่อง นำไปสู่ความเสี่ยงสูงขึ้นในการเจ็บป่วยรุนแรง ในขณะที่ ...
  • นักวิทย์แอฟริกาใต้ เตือน โควิด-19 กลายพันธ์ุใหม่อันตราย กลับไปเหมือนพันธ์ุดุอู่ฮั่น
    27
    Nov

    นักวิทย์แอฟริกาใต้เตือนโควิด-19 กลายพันธ์ุใหม่อันตราย กลับไปเหมือนพันธ์ุดุอู่ฮั่น

    นักชีววิทยาและนักวิจัยห้องทดลองในสถาบันวิจัยสาธารณสุขแห่งชาติแอฟริกา หรือ AHRI ในเมืองเดอร์บาน ประเทศแอฟริกาใต้ เปิดเผยว่า ได้ทำการศึกษาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยนำเชื้อตัวอย่างโรคระบาดโควิด-19 จากผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันในร่างกายลดต่ำลง ซึ่งหมายถึงกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสเอดส์ หรือ HIV ในช่วง 6 เดือนผ่านมา พบว่าในข่วงแรกเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ถูกพัฒนาให้สามารถแพร่ระบาดเชื้อได้มากขึ้น และยังเป็นสาเหตุในการเกิดภาวะเซลล์รวมตัวกัน ...
  • 30
    Jan

    นักวิทย์ออสฯเพาะเชื้อโคโรนาสำเร็จ

    นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเพื่อการติดเชื้อและระบบภูมิคุ้มกัน ปีเตอร์ โดเฮอร์ตี ในนครเมลเบิร์น สามารถเพาะเลี้ยงไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นอกประเทศจีนได้สำเร็จเป็นครั้งแรก . รายงานระบุว่า ตัวอย่างไวรัสออสเตรเลียได้รับแจกมาองค์การอนามัยโลกจากการเก็บตัวอย่างไวรัสจากผู้ป่วยติดเชื้อนอกจีน โดยออสเตรเลียโดยเตรียมแบ่งปันเชื้อเพาะนี้ไปยังห้องแล็ปต่างๆทั่วโลกเพื่อให้ช่วยกันคิดค้นวัคซีนป้องกัน . แม้เดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา จีนได้เผยแพร่ข้อมูลลำดับจีโนมของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ แต่ ดร.จูเลียน ดรูซ หัวหน้าฝ่ายระบุอัตลักษณ์ไวรัสของสถาบันเผยว่า การที่ออสเตรเลียพัฒนาไวรัสที่มีชีวิตในห้องปฏิบัติการ นับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญของการวินิจฉัย . นั่นหมายความว่า ...
  • 29
    Jan

    กรุงเทพเสี่ยงโคโรนาเบอร์ 1โลก

    ศาสตราจารย์ แอนดรูว ทาเทม และทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเซาท์แธมตัน เปิดเผยว่า มีชาวจีนเดินทางออกนอกประเทศจำนวนมากในช่วงเวลาสองสัปดาห์ก่อนถึงวันตรุษจีน และพบว่ากรุงเทพฯเป็นเมืองที่เสี่ยงพบการแพร่กระจายของไวรัสโคโรนามากที่สุดในโลก จากจำนวนของชาวจีนที่เดินทางเข้ามาจากเมืองอู่ฮัน ศูนย์กลางการแพร่กระจายของไวรัสโคโรนา . เมืองที่เสี่ยงไวรัสโคโรนามากที่สุดอันดับ 2 คือฮ่องกง // อันดับ 3 กรุงไทเปของไต้หวัน// อันดับ 4 คือกรุงโซลของเกาหลีใต้// ...