YOUNG@HEART SHOW : “กินคีโต” คืออะไร?

Share:
คีโต, คีโตเจนิคไดเอท, Ketogenic Diet

          เทรนด์ไดเอทปี 2019 คีโตมาแรงมาก หลายคนก็กำลังใช้วิธีนี้ในการลดน้ำหนักอยู่ แต่การกินคีโตไม่ได้ทำกันง่ายๆ ค่อนข้างเข้มงวดในเรื่องการกิน และตอนเริ่มร่างกายต้องการการปรับตัวพอสมควร ใครที่ยังไม่รู้จักคีโตวันนี้มาทำความรู้จักไปพร้อมๆกันเลยค่ะ

 

          คีโต ย่อมาจาก คีโตเจนิคไดเอท (Ketogenic Diet) เป็นการควบคุมอาหารแบบโลว์คาร์บ เน้นการทานไขมันดีเยอะๆ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเผาผลาญไขมันส่วนเกินออกมาใช้เป็นพลังงาน

 

คีโต, คีโตเจนิคไดเอท, Ketogenic Diet

ภาพจาก Pexels

 

         ปกติร่างกายคนเราจะใช้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ แป้งและน้ำตาล เมื่อทานแป้งและน้ำตาลเกินขนาด ก็จะถูกนำไปสะสมเป็นส่วนเกินต่างๆในร่างกาย คีโตก็คือการหลอกระบบในร่างกายว่าจะไม่ได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตอีกแล้ว ร่างกายก็ดึงไขมันส่วนเกินออกมาใช้นั่นเอง ทำให้หุ่นดีในเวลาอันรวดเร็วค่ะ

 

สูตรการกินคีโต

ไขมัน 70%

โปรตีน 25%

คาร์โบไฮเดรต 5%

 

คีโต, คีโตเจนิคไดเอท, Ketogenic Diet

ภาพจาก Pexels

 

 

ไขมัน → ควรทานกรดไขมันโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ได้แก่ พวกปลาทะเลน้ำลึก เนยแท้ ไข่แดง ไขมันจากธัญพืช พวกถั่วแมคคาเดเมีย อาโวคาโด และน้ำมันสกัดเย็นจากพืช เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น

โปรตีน → ควรเลือกโปรตีนที่ไขมันต่ำ และธัญพืชที่มีโปรตีนสูงค่ะ

ผักใบเขียว → ทานได้หมด ห้ามทานพืชที่เป็นแป้ง อย่างมันและเผือก

ผลไม้ → ผลไม้ควรเลือกตระกูลเบอร์รี่ ที่มีน้ำตาลน้อย งดทุเรียน ขนุน ลำไย ผลไม้ที่มีแป้งกับน้ำตาลสูงห้ามนะคะ

น้ำเปล่า → ร่างกายห้ามขาดน้ำเด็ดขาด ต้องดื่มน้ำเยอะๆค่ะ

 

คีโต, คีโตเจนิคไดเอท, Ketogenic Diet

ภาพจาก Pexels

 

ข้อดีของการกินคีโต

          ทำให้น้ำหนักลดไวมาก ไขมันส่วนเกินต่างๆในร่างกายจะถูกกำจัดออกไป ร่างกายผอมเพรียวหุ่นดีขึ้นมาทันตา

 

ข้อเสียของการกินคีโต

          การกินคีโตจะทำให้ร่างกายเข้าสู่โหมดเซฟพลังงาน บางคนก็จะทำอะไรช้าลง คิดช้าลง ไม่มีแรง เวียนหัว หน้ามืดได้ง่ายในระยะแรกที่เริ่มกินคีโต ถือเป็นผลข้างเคียงที่หลายคนต้องเผชิญ แต่ไม่ต้องกังวลค่ะ เมื่อปรับตัวได้แล้วทุกอย่างจะดีขึ้น

 

คีโต, คีโตเจนิคไดเอท, Ketogenic Diet

ภาพจาก Pexels

 

ข้อควรระวัง

1. การกินคีโตไม่ควรทำติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป ควรทำสลับการการควบคุมอาหารแบบอื่น เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร

2. ผู้ที่ป่วยง่ายร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนเริ่มกินคีโต

3. ใครที่ไม่เป๊ะเรื่องอาหารการกินก็ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ กินคีโตแบบผิดๆอาจส่งผลเสียต่างร่างกายได้ค่ะ

4. การกินคีโตในระยะแรกๆไม่ควรออกกำลังกาย อย่าลืมว่าเราไม่ได้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรตนะคะ

5. ระวังหน้ามืด ช่วงแรกๆที่ร่างกายกำลังปรับตัว จะมีอาการหน้ามืดบ้าง ต้องระวังนะคะ

6. ระวังโยโย่ เมื่อหยุดกินคีโต ควรควบคุมอาหารแบบโลว์คาร์บ หรือกินคลีนต่อไปอีกสักพัก ถ้ากลับไปทานแบบปกติเลยน้ำหนักจะดีดกลับมาค่ะ และควรออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย เพื่อให้กล้ามเนื้อกระชับ

 

          ใครที่กำลังจะทานคีโตอาจจะไปซื้อหนังสือเมนูคีโตมาดูอีกที จะได้มีไอเดียเมนูอาหารเพิ่มมากขึ้น ทำให้ไม่เบื่ออาหาร เพราะส่วนใหญ่มือใหม่หัดกินคีโต จะนึกออกแค่ไม่กี่เมนู และวนซ้ำไปจนเบื่อค่ะ และอย่าลืมสังเกตสุขภาพร่างกายของตัวเอง อย่าหักโหมจนหน้ามืดเข้าโรงพยาบาลไปนะคะ สู้ๆค่ะ

 

เรียนรู้เรื่องคีโตเจนิคไดเอทเพิ่มเติมได้ที่คลิปรายการย้อนหลังค่ะ

Young@Heart Show