• โควิด
    16
    Dec

    นักวิทย์ชี้ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด+ฉีดไฟเซอร์ 2 โดส จะต้านโอไมครอนได้ดี

    อเล็กซ์ ซีกัล ผู้นำทีมนักวิทยาศาสตร์ของสถาบันวิจัยด้านสุขภาพแห่งแอฟริกาใต้ เปิดเผยว่า จากผลการทดลองเลือดพลาสมาในห้องแล็บทำให้ประมาณการได้ว่าผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 และได้รับวัคซีนไฟเซอร์ 2 โดส จะสามารถป้องกันการเกิดโรคที่แสดงอาการจากการติดเชื้อไวรัสโอไมครอนได้ 73% และสามารถป้องกันการติดเชื้อรุนแรงได้ถึง 95%   ทั้งนี้ผู้ที่ได้รับวัคซีนแต่ไม่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาก่อน คาดว่าจะสามารถป้องกันโรคที่แสดงอาการได้เพียง 35% และป้องกันการติดเชื้อรุนแรงได้ 77%
  • โควิด
    15
    Dec

    ‘หมอธีระวัฒน์’ แนะไทยต้องฉีดวัคซีนโควิดภายใน 3 เดือน เพื่อป้องกันสายพันธุ์เพี้ยน

    นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า ปะทุสายพันธุ์เพี้ยน หมอดื้อ เขียนตั้งแต่ 22 ส.ค.2564 จนกระทั่งปัจจุบัน พฤศจิกายน มาจนธันวาคม 2564 ปะทุ โอไมครอน ไปทั่วโลก เป็นที่ชัดเจนแน่ยิ่งกว่าแช่แป้งว่า น้องนุชสุดท้องโคโรนา ...
  • ใครไม่ฉีด วัคซีน ต้าน โควิด-19 ถูกลดเงินเดือน-ไล่ออกจาก กูเกิ้ล
    15
    Dec

    ใครไม่ฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ถูกลดเงินเดือน-ไล่ออกจากกูเกิ้ล

    เอกสารเกี่ยวกับบันทึกภายในของบริษัทอัลฟาเบธ อินคอร์ปอเรชั่น หรือกูเกิ้ล ระบุว่าพนักงานมีเวลาถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2564 ในการระบุสถานะการฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ของตนเอง และแสดงเอกสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์เพื่อยืนยันพิสูจน์ถึงสถานะดังกล่าว หรือ ต้องแจ้งขอยกเว้นการฉีดวัคซีนด้วยเหตุผลทางด้านการแพทย์และเรื่องศาสนา ข้อความในเอกสารดังกล่าวระบุต่อไปว่า หลังพ้นกำหนดวันแล้ว บริษัทฯ จะเริ่มติดต่อพนักงานซึ่งไมได้แจ้งแสดงสถานะการฉีดวัคซีน หรือผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน และผู้ที่คำขอยกเว้นการฉีดวัคซีนไม่ได้รับการอนุมัติ หากพนักงานที่ไม่ปฎิบัติตามกฎเรื่องการฉีดวัคซีนภายในวันที่ 18 ...
  • ธนาคารโลก เผยมีคน ยากจน พุ่งขึ้นกว่า 1 แสนคนในไทย มองจีดีพีไทยปีนี้แตะ 1%
    15
    Dec

    ธนาคารโลกเผยมีคนยากจนพุ่งขึ้นกว่า 1 แสนคนในไทย มองจีดีพีไทยปีนี้แตะ 1%

    ดร.เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยจะได้รับปัจจัยบวกในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2564 โดยเฉพาะจากภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศ และการเคลื่อนย้ายในประเทศที่เพิ่มขึ้น ทั้ง 2 ปัจจัยดังกล่าว จะมีผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยมากน้อยแค่ไหน หรือจะกลับไปฟื้นตัวเหมือนก่อนเกิดโรคระบาดโควิด-19 เมื่อไหร่ ล้วนขึ้นอยู่กับปริมาณนักท่องเที่ยวต่างชาติ และการบริโภคภายในประเทศไทย ...
  • 15
    Dec

    ผลวิจัยฮ่องกงเผย”วัคซีนซิโนแวค” มีแอนติบอดีไม่พอที่จะป้องกัน”พันธุ์โอไมครอน”ได้

    สำนักข่าวบลูมเบิร์ก ได้รายงานว่าKwok-Yung Yuen ศาสตราจารย์ด้านโรคติดเชื้อที่มหาวิทยาลัยฮ่องกง ได้ทำการศึกษาวัคซีนที่ผลิตโดย Sinovac Biotech Ltd. ซึ่งเป็นหนึ่งในวัคซีนที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย พบว่าวัคซีนไม่ได้ให้แอนติบอดีเพียงพอที่จะทำให้โควิดสายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) ถูกทำลาย โดยจากกลุ่มคนจำนวน 25 คนที่ได้รับวัคซีนอย่างครบถ้วนจากบริษัทซิโนแวคซึ่งเรียกว่า Coronavacจากการศึกษาพบว่าไม่มีผู้ใดแสดงแอนติบอดีที่เพียงพอในซีรัมในเลือดที่จะทำให้สายพันธุ์โอไมครอนเป็นกลางหรือถูกทำลายได้ ซึ่งผลการศึกษาดังกล่าวได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ Clinical Infectious Diseases และเผยแพร่ทางออนไลน์ในรูปแบบสิ่งพิมพ์ล่วงหน้า ...
  • 14
    Dec

    “หมอยง” ชี้วัคซีนเข็ม 4 เก็บไว้ใช้เมื่อจำเป็นและถึงเวลา ให้อดทนรอวัคซีนโควิดรุ่นใหม่

    ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า วัคซีนโควิด-19 มีคำถามถึงเข็ม 4 กันแล้ว ?? โรคโควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ วัคซีนก็ใหม่ การดำเนินการอะไรจำต้องอาศัย องค์ความรู้แบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อประโยชน์สูงสุด และลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้น การต่อสู้ต้องใช้เวลายาวนาน ...
  • เหลือแค่ 22%! แอฟริกา ใต้ เผยวัคซีน ไฟเซอร์ 2 โดสต้านพันธุ์ โอไมครอน ได้แค่ 22.5%
    13
    Dec

    เหลือแค่ 22%! แอฟริกาใต้เผยวัคซีนไฟเซอร์ 2 โดสต้านพันธุ์โอไมครอนได้แค่ 22.5%

    สถาบันวิจัยสาธารณสุขแอฟริกาในเมืองเดอร์แบน เปิดเผยว่า ผลการทดลองประสิทธิภาพของวัคซีนไฟเซอร์เมื่อฉีดครบ 2 โดสในห้องแลปที่ประเทศแอฟริกาใต้ พบว่าประสิทธิภาพในการป้องกันโรคระบาดโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนที่มีการแสดงอาการป่วยลดต่ำลงเหลือเพียง 22.5% อย่างไรก็ตาม วัคซีนไฟเซอร์ครบ 2 โดสยังคงสามารถต้านอาการเจ็บป่วยรุนแรง นักวิจัยกล่าวว่า ผลการทดลองที่ได้มาจากกลุ่มเลือดพลาสม่าจำนวนเพียง 12 ตัวอย่าง ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก แต่ผลที่ได้ถือเป็นสัญญาณที่ต้องหาคำตอบในการยืนยันอย่างชัดเจนต่อไป ก่อนหน้านี้ ศาตราจารย์ ...
  • สหราชอาณาจักร พบป่วยพันธุ์ โอไมครอน ต้องเข้าโรงพยาบาลรายแรก มีแนวโน้มต้องเข้าโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นในยูเค
    13
    Dec

    พบป่วยพันธุ์โอไมครอนต้องเข้าโรงพยาบาลรายแรก มีแนวโน้มต้องเข้าโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นในยูเค

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สหราชอาณาจักร นายแนดฮิม ซาฮาวี กล่าวว่า ขณะนี้พบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์โอไมครอนต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นรายแรกของสหราชอาณาจักรแล้ว สะท้อนถึงอาการของผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนถึงขั้นป่วยที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล สิ่งสำคัญ คือจำนวนผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนในสหราชอาณาจักรเมื่อ 24 ชั่วโมงผ่านมา พุ่งทะยานอย่างก้าวกระโดดถึง 3,137 ราย ทำสถิติมากที่สุดในโลก และมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ หรือรับตั้งแต่พบการระบาดครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 ...
  • ไฟเซอร์ เผยผลแลปเบื้องต้น ฉีดเข็มสามดันภูมิขึ้น 25 เท่า ป้องกันพันธ์ุโอไมครอน
    9
    Dec

    ไฟเซอร์เผยผลแลปเบื้องต้น ฉีดเข็มสามดันภูมิขึ้น 25 เท่า ป้องกันพันธ์ุโอไมครอน

    นายอัลเบิร์ต บูร์ลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอ บริษัท ไฟเซอร์ อินคอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ไฟเซอร์และไบออนเทคได้รับผลจากห้องแลปเบื้องต้น พบว่าวัคซีนไฟเซอร์เข็มบูสเตอร์ หรือเข็มที่สามในสูตรที่ใช้ในปัจจุบันสามารถเพิ่มภูมิต้านทานในร่างกายขึ้น 25 เท่า และป้องกันโรคระบาดโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งเทียบได้กับการฉีดไฟเซอร์ครบ 2 โดส สามารถป้องกันสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ได้ ซีอีโอไฟเซอร์ ...
  • ไฟเซอร์ เตือนพันธุ์ โอไมครอน จะดันยอดติดเชื้อทั่วโลกเกินล้านคนในไม่กี่สัปดาห์นี้
    8
    Dec

    ไฟเซอร์เตือนพันธุ์โอไมครอนจะดันยอดติดเชื้อทั่วโลกเกินล้านคนในไม่กี่สัปดาห์นี้

    นายอัลเบิร์ต บูร์ลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอ บริษัท ไฟเซอร์ อินคอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า การระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนจะแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์เดลต้า และทุกสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ จำนวนผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนจะเพิ่มจากหลักหลายพันคนขึ้นไปเป็นหลักล้านคนในไม่กี่สัปดาห์จากนี้ไป ซีอีโอ ไฟเซอร์ อินคอร์ปอเรชั่น มองว่สสายพันธุ์โอไมครอนมีโอกาสที่จะเพิ่มความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ เนื่องจากสายพันธุ์โอไมครอนแพร่กระจายเร็วขึ้น และอาจนำไปสู่ การกลายพันธุ์ที่มากขึ้นกว่าเดิมในอนาคต ...