• คน ผ่อนบ้าน เป็นเดอะแบกทั้งงวดผ่อนยาวขึ้น แบกทั้ง ค่างวด สูงขึ้น รับ ดอกเบี้ย แบงก์ชาติ
    2
    Oct

    คนผ่อนบ้านเป็นเดอะแบกทั้งงวดผ่อนยาวขึ้น แบกทั้งค่างวดสูงขึ้น รับดอกเบี้ยแบงก์ชาติ

    นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) กล่าวว่า การที่อัตราดอกเบี้ยขึ้นสูงมีผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อภาพอสังหาริมทรัพย์ ทั้งผู้ประกอบการและผู้ซื้อที่อยู่อาศัย ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการซื้อของประชาชน หรือวงเงินที่สามารถกู้ได้ปรับตัวลง สวนทางกับราคาที่อยู่อาศัยที่ปรับเพิ่มขึ้น กลุ่มผู้ซื้อที่อยู่อาศัยจะได้รับผลกระทบอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น 2 ด้าน ได้แก่ ดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้วงเงินกู้ที่ได้รับสินเชื่อลดลง มีผลทำให้เงินงวดผ่อนต่อเดือนเพิ่มสูงขึ้น หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอีก 0.25% เมื่อสัปดาห์ผ่านไป ...
  • เศรษฐา ยันไม่เคยมีความคิดปลด ผู้ว่า ฯ แบงก์ชาติ เป็นเรื่องน่าตลกไม่เคยมีเรื่องอะไรมาก่อน
    21
    Sep

    เศรษฐายันไม่เคยมีความคิดปลดผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ เป็นเรื่องน่าตลกไม่เคยมีเรื่องอะไรมาก่อน

    นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์กรณีมีข่าวจะปลดผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ ว่า เป็นเรื่องที่น่าตลกมาก ตนไม่เคยมีความคิด ไม่แน่ใจว่ามีข่าวมาได้อย่างไร ตนเคยได้เจอผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย 3 ครั้ง ตั้งแต่เข้ามาทำงานการเมือง นายเศรษฐากล่าวว่า ก่อนรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติได้เข้าไปที่พรรคเพื่อไทย เพื่อหารือถึงเรื่องดิจิทัลวอลเล็ต ...
  • ตะลึงครัวเรือนอีสาน ก่อหนี้สูงสุดในไทย วัย 70 ปียังปิดหนี้ไม่ได้ | คุยกับบัญชา l 18 ก.ย. 66
    18
    Sep

    ตะลึงครัวเรือนอีสาน ก่อหนี้สูงสุดในไทย วัย 70 ปียังปิดหนี้ไม่ได้ | คุยกับบัญชา l 18 ก.ย. 66

    “คุยกับบัญชา” หนี้อีสาน! ตะลึงข้อมูลจากผู้ว่าแบงก์ชาติ พบครัวเรือนภาคอีสานมีหนี้สูงสุดในประเทศไทย พ่วงเป็นหนี้เรื้อรัง สูงวัย 70 ปีปิดหนี้ไม่ได้
  • ตะลึงครัวเรือนอีสาน ก่อหนี้สูงสุดในไทย วัย 70 ปียังปิดหนี้ไม่ได้ | คุยกับบัญชา EP.1276 l 18 ก.ย. 66
    18
    Sep

    ตะลึงครัวเรือนอีสาน ก่อหนี้สูงสุดในไทย วัย 70 ปียังปิดหนี้ไม่ได้ | คุยกับบัญชา EP.1276 l 18 ก.ย. 66

    “คุยกับบัญชา” หนี้อีสาน! ตะลึงข้อมูลจากผู้ว่าแบงก์ชาติ พบครัวเรือนภาคอีสานมีหนี้สูงสุดในประเทศไทย พ่วงเป็นหนี้เรื้อรัง สูงวัย 70 ปีปิดหนี้ไม่ได้
  • ผู้ว่า แบงก์ชาติ ยอมรับรายได้ท่องเที่ยวต่ำกว่าคาด ห่วงเอกชนสตาร์ทลงทุนไม่ติด
    6
    Sep

    ผู้ว่าแบงก์ชาติยอมรับรายได้ท่องเที่ยวต่ำกว่าคาด ห่วงเอกชนสตาร์ทลงทุนไม่ติด

    นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ กล่าวเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจไทยปีนี้ ว่าเศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวออกมาจริงในไตรมาสที่ 2 ซึ่งโตเพียง 1.8% ทำให้ต่ำกว่าเป้าหมายของแบงก์ชาตินั้น หลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในเดือนกันยายนนี้ แบงก์ชาติจะปรับประมาณการเศรษฐกิจอีกครั้งหนึ่ง สำหรับแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักยังเป็นการท่องเที่ยวที่รายได้ต่ำกว่าที่คาดไว้ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนที่ใช้จ่ายน้อยลง แต่ภาพรวมจำนวนนักท่องเที่ยวยังคาดว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ 29 ล้านคน ขณะเดียวกัน การใช้จ่ายภาคเอกชนที่ดีขึ้นต่อเนื่อง ...
  • ผู้ว่า แบงก์ชาติ ชี้ อีสาน ก่อ หนี้ครัวเรือน สูงสุดในประเทศ คนอีสานติดหนี้เรื้อรังสูง
    6
    Sep

    ผู้ว่าแบงก์ชาติชี้อีสานก่อหนี้ครัวเรือนสูงสุดในประเทศ คนอีสานติดหนี้เรื้อรังสูง

    นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ กล่าวว่า สัดส่วนการก่อหนี้ครัวเรือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน เติบโตเร็วที่สุดเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ เมื่อย้อนดูข้อมูลย้อนหลังในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา พบชัดเจนว่า หนี้ครัวเรือนในภาคอีสานมีหนี้เพิ่มขึ้นถึงกว่า 50% สิ่งสำคัญ คือ ประชาชนคนอีสานมีโอกาสสูงที่จะเป็นหนี้เรื้อรังสูง โดยเฉพาะพบได้ในคนอายุ 70 ปี ...
  • แบงก์ชาติ หนุนส่ง เงินดิจิทัล 10,000 หมุน เศรษฐกิจไทย โตถึง 3% ชี้เงินสดหมุนดีกว่าเงินโอน
    1
    Sep

    แบงก์ชาติหนุนส่งเงินดิจิทัล 10,000 หมุนเศรษฐกิจไทยโตถึง 3% ชี้เงินสดหมุนดีกว่าเงินโอน

    นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ กล่าวว่า โครงการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท เป็นหนึ่งในโครงการที่แบงก์ชาตินำมาประเมินภาพความเสี่ยงจากการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย เนื่องจากมีเม็ดเงินจำนวนมาก โดยเป็นความเสี่ยงด้านบวกที่จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งหากมีการแจกเงินดิจิทัลในคนอายุ 16 ปีขึ้นไป จะใช้เงินประมาณ 560,000 ล้านบาท หรือประมาณ ...
  • ต้นทุน บัตรเครดิต สูง จ่อคุยแบงก์ชาติขอขึ้นจากต่ำสุดในโลกเป็น 18% ยังห่วงคนใช้บัตร
    14
    Aug

    ต้นทุนบัตรเครดิตสูง จ่อคุยแบงก์ชาติขอขึ้นจากต่ำสุดในโลกเป็น 18% ยังห่วงคนใช้บัตร

    นายอธิศ รุจิรวัฒน์ ประธานชมรมธุรกิจบัตรเครดิต และกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด ผู้ให้บริการบัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน กล่าวว่า การกลับมาจ่ายขั้นต่ำของใบแจ้งหนี้บัตรเครดิตแบบขั้นบันได เพื่อให้ไปสู่ระดับปกติยังน่ากังวล เพราะลูกหนี้มีแนวโน้มได้รับผลกระทบ คนจะมีศักยภาพจ่ายแค่ไหน การถือบัตรเครดิตของคนไทยในปัจจุบัน 1 คนเฉลี่ยมี ...
  • เบอร์หนึ่ง แบงก์ชาติ ลั่นไม่ห่วง หนี้เสีย เพิ่มสะสม เงินเฟ้อ ไทยน่ากลัวกว่าภาระ ดอกเบี้ย
    10
    Aug

    เบอร์หนึ่งแบงก์ชาติลั่นไม่ห่วงหนี้เสียเพิ่มสะสม เงินเฟ้อไทยน่ากลัวกว่าภาระดอกเบี้ย

    นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ กล่าวว่า แนวโน้มหนี้เสีย หรือเอ็นพีแอลของไทยว่า แม้ว่าหนี้เสียจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่คงไม่เป็นภาวะ NPLs cliff หรือเกิดหนี้เสียสะสมมากมายกลายเป็นก้อนใหญ่มหาศาล ที่จนกระทบต่อเสถียรภาพแน่นอน ในด้านข้อกังวลเกี่ยวกับหนี้ที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ ที่เพิ่มขึ้นนั้น ไม่ใช่สินเชื่อหนี้ที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษทั้งหมดที่จะกลายเป็นหนี้เสีย เช่น สินเชื่อบ้านที่เข้าข่ายหนี้ที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษจะมีเพียง 22% เท่านั้นที่เป็นหนี้เสีย ...
  • ผู้ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย แบงก์ชาติ บอก เศรษฐกิจไทย โตดีสูงกว่าก่อนเกิดโรคโควิด-19 แล้ว ยังไม่คิดลด ดอกเบี้ย
    10
    Aug

    ผู้ว่าแบงก์ชาติบอกเศรษฐกิจไทยโตดีสูงกว่าก่อนเกิดโรคโควิด-19 แล้ว ยังไม่คิดลดดอกเบี้ย

    นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยของเรากลับมาอยู่ในระดับที่สูงกว่าช่วงก่อนโรคระบาดโควิด-19 แล้ว ตัวเลขจีดีพีที่คาดว่าจะเติบโตได้ 3% กว่าๆ แม้ไม่โตเร็วเท่าประเทศอื่น แต่เป็นการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง สำหรับเงินเฟ้อของไทยในระยะยาวน่าจะกลับเข้ากรอบเป้าหมาย ทำให้โจทย์การดำเนินนโยบายการเงิน หรือทิศทางดอกเบี้ยระยะสั้นของแบงก์ชาติจึงต้องเปลี่ยนไปด้วย ในขณะนี้ แบงก์ชาติจะเน้นเรื่องการปรับสมดุลภาวะเศรษฐกิจไทยให้เข้าสู่การชะลอตัวอย่างดี หรือการ Landing ภาวะอัตราดอกเบี้ยในเศรษฐกิจที่จะอยู่ในระดับที่สร้างความสมดุลในระยะปานกลางและระยะยาวที่เหมาะสมจะเป็นอย่างไร ...