• 18
    Aug

    ม.ขอนแก่นโชว์วิจัยวัคซีน ยันฉีดเข็มสามต้องเป็นแอสตร้าฯ หรือ mRNA เท่านั้น ซิโนแวคครบโดสสู้เดลต้าไม่ได้

    ผศ. ดร. สุปราณี พันธุ์ธนวิบูลย์ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น หัวหน้าโครงการวิจัย เปิดเผยว่า จากผลการศึกษาเบื้องต้น สรุปได้ว่า การรับวัคซีนซิโนแวคในอาสาสมัครกลุ่มที่ทำการทดลอง สามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิแอนติบอดีได้ดี แต่การกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของทีเซลล์มีน้อย จึงแนะนำให้ผู้ที่รับซิโนแวคครบ 2 เข็ม ควรได้รับการกระตุ้นทีเซลล์ด้วยวัคซีนชนิดอื่น ที่ไม่ใช่รูปแบบเชื้อตาย เพื่อประสิทธิภาพการป้องกันโรคที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งหลังจากที่มีการเปลี่ยนรูปแบบวัคซีน ...
  • 18
    Aug

    ศบค. แจงกรณีสั่งซื้อซิโนแวคเพิ่ม 12 ล้านโดส จอห์นสันฯ จะส่งมอบไม่ทันไตรมาส 4 และแอสตร้าฯ จะได้แค่ 5-6 ล้านโดส

    พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศบค. กล่าวถึงกรณีรัฐบาลจัดซื้อวัคซีนซิโนแวคเพิ่มเติมอีก 12 ล้านโดส ว่า ศบค.ได้ยึดความเห็นของผู้เชี่ยวชาญโดยเป็นการรายงานการศึกษาการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ที่พบว่ามีบุคลากรที่ฉีดซิโนแวคสองเข็มแล้วมีการติดเชื้อ หลัง 14 วันไปแล้วพบว่าประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันการติดเชื้อถึง 72% และป้องกันการตายป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรง 98% . รวมถึงการศึกษาเทียบกับแอสตร้าเซนเนก้า ที่พบบุคลากรติดเชื้อหลังจากได้รับหนึ่งเข็ม พบว่ามีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อมากถึง 88% แต่เมื่อดูจากการศึกษาแล้วหากมีการฉีดผสมร่วมกันระหว่างซิโนแวคและแอสตราเซนเนกา มีความสามารถป้องกันโรคได้สูงมากขึ้น ...
  • 18
    Aug

    ‘งานวิจัยม.มหิดล’ ยืนยัน! ฉีดซิโนแวคครบ 2 โดส ไม่ช่วยต้านโควิด-19 พันธุ์เดลต้า

    นักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้เปิดเผยแพร่งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด-19 ยี่ห้อซิโนแวคจากประเทศไทยชิ้นแรก โดยงานวิจัยชิ้นนี้ได้ส่งไปทาง medRxiv ซึ่งเว็บไซต์ฐานข้อมูลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์อย่างเป็นทางการจากทั่วโลก งานวิจัยดังกล่าวได้สรุปบทคัดย่อ ที่สำคัญที่สุด คือบทสรุป มีดังนี้ พบว่า ตัวอย่างซีรั่มจากผู้ที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคและบุคคลที่ติดเชื้อตามธรรมชาติ มีความสามารถลดลงในการต่อต้านโควิด-19 ทั้ง 3 สายพันธุ์เมื่อเทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิม ...
  • 18
    Aug

    ฮ่องกงเปิดผลการทดลองฉีดวัคซีนซิโนแวคและไฟเซอร์เข็มแรก พบเกิดอาการใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก

    วารสารการแพทย์ชื่อดังระดับโลกในส่วนที่เกี่ยวกับข้องกับผลการวิจัยโรคระบาด ซึ่งมีชื่อว่า แลนเซต หรือ The Lancet Infectious Disease เปิดเผยว่า ผลการทดลองวัคซีนป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ยี่ห้อซิโนแวคทางคลินิก โดยมีกลุ่มผู้เข้าทดลองวัคซีนยี่ห้อดังกล่าวกว่า 452,000 ราย ปรากฎผลยืนยันว่า มีจำนวน 28 ราย เกิดภาวะใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก ซึ่งคิดเป็น ...
  • 16
    Aug

    อย่าวัดภูมิ! หมอสันต์ชี้เสียเงินเปล่าไปตรวจหาภูมิหลังฉีดเข็มที่ 3 แอสตร้าฯ ต่อจากซิโนแวคครบ 2 โดส

    นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ อดีตศัลยแพทย์หัวใจและผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ครอบครัว โพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับการตรวจวัดภูมิหลังฉีดซิโนแวคครบ 2 โดส แล้วตามด้วยแอสตร้าเซเนก้า ปรากฎว่าไม่พบภูมิคุ้มกัน มีดังนี้ กรณีที่ฉีดวัคซีนโควิดครบแล้ว 2 เข็ม เข็มแรกซิโนแวค เข็มสองแอสตร้าฯ จากนั้น 3 เดือนไปซื้อแพ็กเกจตรวจภูมิคุ้มกันโควิดที่รพ.ราคา 1,200 บาท พบว่าไม่มีภูมิ ...
  • 16
    Aug

    ขยันส่งจัง! สถานทูตจีนในไทยเผยส่งวัคซีนต้านโควิด-19 ถึงกรุงเทพอีก 3 ล้านโดสเช้าวันนี้

    วันที่ 15 สิงหาคม 2564 เฟสบุ๊กสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย โพสต์ข้อความว่า เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม วัคซีนโควิด-19 จำนวน 2 ชุด รวม 3 ล้านโดสได้ส่งมาถึงกรุงเทพฯ แล้ว จนถึงขณะนี้ จีนได้จัดหาวัคซีนโควิด-19 ให้แก่ประเทศไทยจำนวน ...
  • เมื่อคนทั้งประเทศพร้อมใจยินดีมอบโควต้า ไฟเซอร์ ให้บุคลากรด่านหน้า แต่เหตุไฉนทำไมวัคซีนถึงหล่นหายระหว่างทาง?
    15
    Aug

    เมื่อคนทั้งประเทศพร้อมใจยินดีมอบโควต้าไฟเซอร์ให้บุคลากรด่านหน้า แต่เหตุไฉนทำไมวัคซีนถึงหล่นหายระหว่างทาง?

    กลายเป็นประเด็นเด็ดที่ถูกกล่าวถึงกันตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมาเลยก็ว่าได้ กับประเด็นโควต้าวัคซีนไฟเซอร์ที่ได้รับการบริจาคจากสหรัฐอเมริกาเพื่อบุคลากรด่านหน้า แต่เมื่อถึงกำหนดเวลาฉีด กลับพบปัญหาจำนวนวัคซีนไม่เพียงพอ จนมีบุคลากรที่ได้รับผลกระทบออกมาทวงถามถึงสาเหตุว่า ทำไมถึงต้องมีคนที่ได้ฉีดและไม่ได้ฉีด ทั้งที่ก็เป็นคนที่ทำงานอยู่ด่านหน้าเหมือนกัน แล้วใช้เกณฑ์อะไรในการคัดเลือกว่าใครสมควรได้รับหรือไม่ได้รับ โดยมีการถามถึงสาเหตุนี้อย่างต่อเนื่องผ่านสื่อโชเชียลมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลสนามขนาดใหญ่ หรือแม้แต่โรงพยาบาลประจำอำเภอขนาดเล็ก เช่น โรงพยาบาลขอนแก่นที่ส่งรายชื่อบุคคลที่ขอโควต้ารับวัคซีนไปทั้งหมด 1,400 รายชื่อ แต่กลับได้วัคซีนมาเพียงแค่ 700 โดสเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลสนามที่ใหญ่ที่สุดอย่างโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบจำนวนเช่นเดียวกัน จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างดุเดือนผ่านแฮชแท็ก ...
  • อลเวงไม่รู้จบ กับข่าวลือเรื่องการแย่งวัคซีน ไฟเซอร์ ที่ทำประชาชนหวาดระแวง VVIP
    8
    Aug

    อลเวงไม่รู้จบ กับข่าวลือเรื่องการแย่งวัคซีนไฟเซอร์ที่ทำประชาชนหวาดระแวง VVIP

    นับตั้งแต่ที่มีข่าวว่าสหรัฐอเมริกาได้ทำการมอบวัคซีนไฟเซอร์ 1.54 ล้านโดสให้กับประเทศไทย ก็ทำให้เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นที่ประชาชนจับตามองว่าจะมีการจัดสรรวัคซีนทั้งหมดอย่างไร ทั้งในแง่จำนวนที่จะฉีดให้กับบุคลากรด่านหน้า การจัดการกับกลุ่มของผู้ที่จะได้รับวัคซีนชนิดนี้ หรือประเด็นที่ลือกันอย่างหนาหูว่าจะมีการ “ล็อกสิทธิ์ฉีดให้แก่กลุ่ม VVIP” ซึ่งต้องบอกเลยว่าประเด็นนี้เป็นเรื่องที่พลาดไม่ได้ วัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดสจากสหรัฐฯ ใครบ้างที่จะได้รับ หลังจากที่วัคซีนไฟเซอร์เข้าประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็เกิดฝุ่นตลบอบอวลทันที เพราะการต่อสู้แย่งชิงวัคซีนไฟเซอร์ 1.54 ล้านโดสนี้เป็นไปอย่างเข้มข้นมาก เนื่องจากมีการแชร์ข้อมูลเอกสารหลุดต่างๆ ...
  • 22
    Jul

    หมอมนูญเรียกร้องต้องหยุดซื้อวัคซีนซิโนแวคเพิ่ม รอรุ่นใหม่ที่กันสายพันธ์ุอินเดียได้

    มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับเสนอหยุดสั่งซื้อวัคซีนซิโนแวครุ่นปัจจุบัน มีดังนี้ การให้วัคซีนกระตุ้นภูมิเข็มที่ 3 แก่บุคลากรการแพทย์ด่านหน้าและเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคแล้ว 2 เข็ม มีความจำเป็น แต่ไม่ได้หมายความว่าวัคซีนซิโนแวคไม่มีประสิทธิภาพ วัคซีนซิโนแวคเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตายฉีดคนละ 2 เข็ม ตามที่มีการขึ้นทะเบียนไว้ ถึงแม้จะป้องกันการติดเชื้อและการแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลต้าได้น้อยกว่าวัคซีนเทคโนโลยีใหม่ ในชีวิตจริง ...
  • 21
    Jul

    หมอมั่นใจ! หมอประสิทธิ์ยัน ฉีดวัคซีนไขว้ ซิโนแวค-แอสตราฯ สร้างภูมิเร็วใน 5 สัปดาห์ มีผลการวิจัย

    ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศิริราชพยาบาล ม.มหิดล เปิดเผยว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 สลับชนิดนั้น ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของคนเราอาศัยการทำงานของเม็ดเลือดขาวอยู่ 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. T-Cells ที่มีไกลการทำงานคือเมื่อถูกกระตุ้น และเจอเซลล์ที่มีการติดเชื้อไวรัสจะเข้าไปจัดการค่าเซลล์ที่มีการติดเชื้อ โดยวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ใช้กลไก T-Cells อยู่ในขณะนี้ ได้แก่กลุ่มของ ...