• ‘สะพานลอย’ ความปลอดภัยที่แฝงไว้ด้วยสารพัดความเสี่ยง
    28
    Mar

    ‘สะพานลอย’ ความปลอดภัยที่แฝงไว้ด้วยสารพัดความเสี่ยง

    สมัยยังเป็นเด็กเชื่อว่าหลายคนมักจะได้ยินคำสอนที่ว่าถ้าอยากข้ามฝั่งต้องขึ้นสะพานลอยเท่านั้น! กลับกันในมุมของผู้ขับขี่ก็อาจจะหงุดหงิดใจไม่น้อย เมื่อต้องพบเห็นคนข้ามถนนใต้สะพานลอย เพราะอาจจะทำให้เกิดเหตุไม่คาดฝัน ลามยาวเป็นปัญหาให้ทั้งผู้ข้ามและผู้ขับขี่ แต่ถ้ามองย้อนไปถึงกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้พิการก็เกิดคำถามอีกว่าพวกเขาจะขึ้นสะพานลอยได้อย่างไร ในเมื่อแรงที่จะเดินยังแทบไม่มี… จึงเกิดปมในใจว่าการสร้างสะพานลอยเป็นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดแล้วจริงหรือ? แท้จริงแล้วสะพานลอยถูกสร้างมาให้เอื้อกับคนทุกกลุ่มจริงหรือเปล่า? เจออะไร เจออะไร เจออะไรที่สะพานลอย? ข้อมูลจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ระบุว่าในกรุงเทพมหานครมีสะพานลอยทั้งหมดประมาณ 900 แห่ง แต่ทำไมคนเดินเท้ามักจะชอบข้ามถนนมากกว่าขึ้นสะพานลอย สาเหตุหนึ่งอาจมาจากความเบื่อหน่ายกับปัญหาสะพานลอยที่ไม่ได้มาตรฐาน แถมยังพ่วงมาด้วยความเสี่ยงรอบด้าน ...
  • ค่าแรงขั้นต่ำ ของแรงงานไทย เพียงพอต่อการใช้จ่ายในสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้จริงหรือ?
    21
    Mar

    ค่าแรงขั้นต่ำของแรงงานไทย เพียงพอต่อการใช้จ่ายในสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้จริงหรือ?

    รายได้ขั้นต่ำวันละ 300 บาท อาจดูเหมือนจะมาก แต่เมื่อเทียบกับค่าครองชีพในปัจจุบัน กลับสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ยิ่งแจงออกมาเป็นรายการใช้จ่ายต่างๆ อาทิ ค่าใช้จ่ายประจำวัน ค่าใช้จ่ายจิปาถะที่หมดไปกับสิ่งของจำเป็น ค่าใช้จ่ายที่อยู่เหนือความคาดหมาย จะยิ่งเห็นว่าชีวิตของลูกจ้างรายวันที่ต้องใช้หยาดเหงื่อแรงกายเข้าแลก เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินดูแลปากท้องและจุนเจือครอบครัว ที่ต่อให้รัดเข็มขัดค่าใช้จ่ายแล้วก็แทบไม่เพียงพอ แถมยังต้องเผชิญกับวิกฤตการขึ้นราคาเครื่องอุปโภคบริโภคแบบสุดโต่ง ยิ่งทำให้แทบมองไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ว่าพวกเขาจะต้องแก้ปัญหาส่วนนี้อย่างไร สารพัดราคาข้าวของเครื่องใช้ที่แข่งกันขึ้นราคาจนดีดทะลุเพดาน และไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ทุกวันนี้จะเห็นได้ว่าผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่มักจะไม่ใช่คนเมือง พวกเขาเลือกที่จะจากบ้านเกิด ...
  • เมื่อช่องโหว่ของกฎหมาย ลิขสิทธิ์ กลายเป็นใบเบิกทางให้เหล่านักก๊อป
    14
    Mar

    เมื่อช่องโหว่ของกฎหมายลิขสิทธิ์ กลายเป็นใบเบิกทางให้เหล่านักก๊อป

    ‘ก๊อปไม่ก๊อป เหมือนไม่เหมือน’ แล้วรู้หรือไม่ว่ากฎหมายลิขสิทธิ์ทำให้การสร้างสรรค์ผลงานบางประเภทมีเงื่อนไขที่ทำให้ไม่สามารถจดทะเบียนได้ ก่อเป็นสารพัดปมดราม่าหลายต่อหลายครั้งในเรื่องของการก๊อปปี้ผลงาน เอ๊ะหรือนี่จะเป็นช่องโหว่ของกฎหมายฯ ที่ทำให้เจ้าของผลงานตัวจริงต้องบอบช้ำใจ เมื่อลิขสิทธิ์เกิดช่องโหว่ จนไม่สามารถครอบคลุมได้ทุกอย่าง หลายคนมักคิดว่าการที่เจ้าของผลงานไม่ได้จดลิขสิทธิ์ ฉันก็สามารถก๊อปปี้งานของเธอได้ และฉันก็ไม่ผิดกฎหมาย ความเข้าใจเหล่านี้มันผิดนะคะ! ต่อให้เจ้าของผลงานต้นฉบับไม่ได้ทำการจดลิขสิทธิ์ แต่เมื่อเกิดการสร้างสรรค์นั่นเท่ากับว่าลิขสิทธิ์ของผลงานนั้นจะเกิดขึ้นทันที โดยไม่ต้องจดทะเบียน และนับว่าผู้สร้างสรรค์คนแรกได้ถือครองเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ที่สำคัญคือไม่มีใครสามารถนำงานชิ้นนั้นไปทำซ้ำ หรือเผยแพร่ทุกรูปแบบ จนกว่าจะได้รับความยินยอมจากเจ้าของผลงาน แล้วลิขสิทธิ์ที่เล่ามาคืออะไร ...
  • ‘คนเร่ร่อน’ ปัญหาที่ไร้ทางแก้ หรือแท้จริงแล้วแค่กำลังถูกเมิน??
    7
    Mar

    ‘คนเร่ร่อน’ ปัญหาที่ไร้ทางแก้ หรือแท้จริงแล้วแค่กำลังถูกเมิน??

    ป้ายรถเมย์ ใต้สะพานลอย หรือตึกร้าง แหล่งพักพิงสุดคลาสสิคของคนเร่ร่อนที่มีให้พบเห็นอยู่จนชินตา ไปพร้อมกับเกิดความรู้สึกหวาดระแวงกลุ่มคนเหล่านี้อยู่ไม่น้อย อาจจะด้วยลักษณะทางกายภาพภายนอกที่ดูมอมแมม ซูบผอม ผมกระเซอะกระเซิง แถมบางคนยังมีสติที่ไม่สมประกอบ และมักเดินพูดคนเดียว หรือคุ้ยหาอาหารตามถังขยะ เพื่อมาประทังชีวิต… คนเร่ร่อน หรือผู้ใช้ชีวิตอยู่ในที่สาธารณะ คือบุคคลที่ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง ไม่มีแม้แต่อาชีพที่มั่นคง ทั้งยังเป็นกลุ่มคนที่ถูกดูแคลนจากสังคม ถูกให้ค่าเป็นเพียงบุคคลชั้น 2 และชั้น ...
  • ปัญหา ฟุตบาท ไทย กวนใจคนเมืองกรุง
    3
    Mar

    ฟุตบาทไทย ทางเท้าสบายใจหรือกวนใจคนเมือง?

    เคยไหมเดินบนฟุตบาทอยู่ดีๆ แล้วขาพลิก ตกหลุม หรือโดนน้ำขังกระเด็นใส่ขา? ปัญหาเหล่านี้ช่างกวนใจผู้คนมากเหลือเกิน จนเกิดเป็นคำถามว่าเมื่อไรทางเดินเท้าในประเทศไทยจะถูกแก้ไขให้เรียบร้อยเสียที แล้วถ้าต้องเจ็บตัวจากปัญหาทางเท้าชำรุดจะสามารถไปร้องเรียนกับใครได้บ้าง? วนกลับมาสู่คำถามคาใจว่าร้องเรียนแล้วจะถูกแก้ไขหรือไม่ แล้วประชาชนต้องทน ระวัง และซ่อมแซมกันเองต่อไปแบบนี้จริงหรือ?? ทรุดโทรม ชำรุด น้ำขังเป็นหลุม แถมยังสกปรก นี่แหละเอกลักษณ์ทางเท้าไทย แม้ว่าบ้านเมืองเราจะมีสิ่งปลูกสร้างล้ำสมัยไปมากมายสักเท่าไร แต่สิ่งที่ยังไม่เคยได้รับการแก้ไขอย่างปัญหาทางเท้าก็ยังมีให้ได้เห็นกันอยู่ทุกวัน แถมนับวันก็ยิ่งจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ และไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นเลย ...
  • คุยกับ บัญชา เปิดสถิติความไม่เท่าเทียมกันในสหรัฐระหว่างคนผิวสีกับผิวขาวที่เป็นรอยแผลฝังลึกแก้ไขยาก
    5
    Jun

    คุยกับบัญชา เกินจะเชื่อ! เมื่อผิวสีมีผลทั้งปากท้องและสุขภาพในสหรัฐ

    คุยกับบัญชา เกินจะเชื่อ! เมื่อผิวสีมีผลทั้งปากท้องและสุขภาพในสหรัฐ